2551/10/01

วัสดุโครงสร้าง : เหล็ก (steel)


เหล็ก (steel)

เป็นวัสดุสำหรับโครงสร้างที่ก้าวขึ้นมามีบทบาทต่องานสถาปัตยกรรมมากขึ้น ตั้งแต่ช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรมอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นวัสดุโครงสร้างที่ถูกกว่าในบางภูมิภาค โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับการลดทอนปริมาณ ของวัสดุที่จะต้องใช้ในการก่อสร้าง ดังที่กล่าวมาข้างต้นว่า ในการก่อสร้างในไทยมีการนำเอาเหล็กมาใช้มากขึ้น ความสำคัญของโครงสร้างโดยวัสดุนี้จึงมีความสำคัญมากขึ้นสำหรับสถาปนิก

โดยคุณสมบัติแล้วเหล็กมีน้ำหนักต่อหน่วยมากเมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุอื่นที่กล่าวมาแล้ว แต่รูปแบบในการนำมาใช้ในโครงสร้างจะสามารถลดน้ำหนักโดยรวมของอาคารได้โดยเฉพาะสำหรับโครงสร้างขนาดใหญ่ หรือโครงสร้างพิเศษ อย่างไรก็ตามรูปทรงสถาปัตยกรรมที่จะใช้เหล็กเป็นโครงสร้างอาจจะมีความจำกัดกว่าคอนกรีตแต่ก็มีความยืดหยุ่นในรูปแบบมากกว่าไม้ โดยเฉพาะในปัจจุบันมีการผสานกับวัสดุที่หลากหลายกว่าอดีต และเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าในการก่อสร้าง ทำให้แม้แต่รูปทรงที่ซับซ้อนสามารถใช้โครงสร้างเหล็กได้
เหล็กจะสูญเสียคุณสมบัติแห่งการรับแรงในอุณหภูมิที่สูงประมาณ 480 องศาเซลเซียส

ดังนั้นอันตรายที่เกิดจากการเลือกใช้เหล็กเป็นโครงสร้างของอาคาร คือ ในสถานการณ์เพลิงไหม้ โครงสร้างจะพังทลายได้โดยง่าย ในบางประเทศจึงมีเทศบัญญัติให้ห่อหุ้มเหล็กที่ใช้เป็นโครงสร้างเพื่อให้ต้านทานเพลิงไหม้ได้ในระยะหนึ่ง ปัญหาอีกประการหนึ่งของโครงสร้างเหล็กคือ การเกิดสนิมซึ่งจะนำไปสู่การผุกร่อนได้โดยง่าย โดยในเฉพาะในเขตร้อนชื้นอย่างไทย ความชื้นในอากาศที่มากกว่า 70% จะทำให้เกิดสนิมได้ โครงสร้างเหล็กควรจะหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับน้ำและความชื้น แม้ว่าจะมีการเคลือบน้ำยากันสนิมหรือทาสีกันสนิมแล้วก็ตาม การทาสีกันสนิมควรจะมีการเตรียมพื้นผิวที่จะทาก่อน โดยการขัดทำความสะอาด เพื่อป้องกันผุโป่งจากภายใน

การเชื่อมต่อของโครงสร้างเหล็กทำได้โดยการเชื่อม (Welding)หรือการใช้น๊อต (Bolting) ในการใช้น๊อตจะต้องมีการเตรียมการที่ดี โดยเฉพาะในอาคารขนาดใหญ่ซึ่งอาจจะทำชิ้นส่วนต่างๆสำเร็จรูปมาจากโรงงาน ควรจะเผื่อความผิดพลาดในขณะประกอบและการขยายตัวของโครงสร้างด้วย ส่วนการเชื่อมนั้นเป็นวิธีการที่ถูกที่สุด แต่ในการเชื่อมจะต้องทำตามที่วิศวกรโครงสร้างระบุเพื่อให้ได้ประโยชน์ในการรับแรงกระทำได้ดีที่สุด ซึ่งเป็นยากมากในการควบคุมคุณภาพในที่ก่อสร้างจริง

ในการก่อสร้างเหล็กสามารถตัดได้โดยใช้เลื่อยตัดเหล็กหรือการใช้การตัดด้วยความร้อนซึ่งเป็น ที่นิยมมากกว่า ในการตัดหรือการเชื่อมโดยใช้ความร้อนจะทำให้เกิดประกายไฟ ซึ่งจะต้องระมัดระวังในการจัดการและทำงานอย่างมาก รวมทั้งการป้องกันสายตาผู้ทำงานด้วยเพราะจะเกิดแสงที่จ้าเกินกว่าที่สายตาเปล่าจะทนได้

ข้อดีของเหล็กนอกจากจะง่ายในการติดตั้งแล้ว ยังง่ายต่อการรื้อถอนด้วย จึงเป็นโครงสร้างที่นิยมสำหรับอาคารชั่วคราวหรือส่วนประกอบอาคารที่อาจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในอนาคตด้วย นอกจากนี้ด้วยเหตุที่เหล็กสามารถรับความยืดหยุ่นหรือแรงดึงได้ดีจึงเป็น โครงสร้างที่เหมาะสมสำหรับอาคารในเขตแผ่นดินไหว
ปัจจุบันเหล็กและโลหะอื่นมีการพัฒนาไปมาก วัตถุประสงค์ในการพัฒนาก็คงจะคล้ายคลึงกันพัฒนาการของโครงสร้างคอนกรีต กล่าวคือเป็นการแก้ข้อด้อยหรือปัญหาต่างๆ ในวัสดุ เพื่อใช้ในการก่อสร้างต่อไป


ชนิดของเหล็กในงานก่อสร้าง
ในอาคารเหล็กที่ใช้เป็นโครงสร้างอาจจะแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่

Carbon Steel
High-Strength Low-Alloy (HSLA) Steel
Heat-Treated Carbon and HSLA Steel
Heat-Treated Alloy Steel

โดยมาตราฐานของแต่ละประเภทแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ

วัสดุโครงสร้าง : คอนกรีต (concrete)

คอนกรีต (concrete)

คอนกรีตอาจจะเป็นวัสดุใช้ทำโครงสร้างที่นิยมที่สุดในไทย แม้ว่าปัจจุบันการใช้เหล็กจะมากขึ้นก็ตาม รูปแบบของโครงสร้างของอาคารมีความเปลี่ยนแปลงอย่างมากหลังจากวัสดุชนิดนี้เข้ามามีบทบาทแทนไม้ ในอาคารทั่วไป คอนกรีตทำให้เกิดรูปร่างได้มากมายจนทำให้สถาปนิกในยุคหนึ่งคิดว่า วัสดุแห่งโครงสร้างเป็นตัวบ่งชี้ถึงความไม่จำกัดในรูปทรงอาคาร สถาปัตยกรรมสามารถออกแบบให้เป็นอย่างไรก็ได้ ตราบใดที่หาวิธีการขึ้นรูปหรือวางไม้แบบได้ คอนกรีตถูกพัฒนามาใช้กับโครงสร้างอย่างจริงจังเมื่อมีการเสริมเหล็กหรือวัสดุอื่น ทำให้คุณสมบัติในการรับแรงดึงดีขึ้น การคิดค้นกระบวนการก่อสร้างแบบสำเร็จรูปเป็นอีกความได้เปรียบหนึ่งของคอนกรีต สามารถที่จะหล่อสำเร็จจากโรงงานและนำมาติดตั้งในทีก่อสร้างได้

คุณลักษณะของโครงสร้างคอนกรีตสามารถอธิบายได้ดังนี้

คอนกรีตสามารถรับแรงอัดได้เป็นอย่างดี ในราคาต่อหน่วยที่ต่ำ ดังนั้นจึงเป็นวัสดุที่เหมาะสำหรับโครงสร้างที่รับแรงทางแนวตั้ง อย่างเช่น ผนังและเสา ยกเว้น Pre-stressed Concrete แล้ว คอนกรีตไม่เหมาะสำหรับช่วงพาดยาวๆ เท่าไม้และเหล็ก เพราะมีน้ำหนักของโครงสร้างเองมาก ทำให้สัดส่วนของการรับแรงดึงต่อน้ำหนักไม่ดี

ในอาคารทั่วไป คอนกรีตสามารถเป็นฉนวนกันเสียงที่ดี นอกจากนี้คอนกรีตเป็นวัสดุที่ทนไฟ ดังนั้นจึงเหมาะในการใช้เป็นผนังหรือพื้นกันไฟให้โครงสร้างอาคารในส่วนที่ต้องการ

ในคอนกรีตที่ไม่ได้เสริมเหล็ก จะมีความสามรถในการรับแรงดึงต่ำมาก ไม่สามารถทนทานต่อแรงเฉือนได้ รวมทั้งทำให้เกิดรอยร้าวได้ คุณสมบัติอีกข้อหนึ่งของคอนกรีตที่อาจจะมองข้ามคือ การหดตัว คอนกรีตจะมีการหดตัวสูง อันเนื่องมาจากการแห้งตัวของคอนกรีต ทำให้น้ำภายในระเหยออกไป อัตราการหดตัวนี้จะสูงมากในช่วงแรกและจะน้อยลงจนอยู่ตัวตามเวลา ในขณะที่อัตราการขยายตัวต่ำมาก

ในกระบวนการก่อสร้าง โครงสร้างคอนกรีตสิ้นเปลืองไปกับแบบหล่อเกือบจะ 50% การใช้แบบหล่อเดิมหรือใช้วัสดุที่มีราคาต่ำจะช่วยลดต้นทุนในการก่อสร้าง การที่โครงสร้างคอนกรีตจะมีอายุการใช้งานคงทนถาวร ในกระบวนการก่อสร้างควรจะอยู่ในสภาวะที่เหมาะสมด้วย เพื่อให้คอนกรีตมีการเซตตัวที่ดี อุณหภูมิควรอยู่ระหว่าง 20 – 40 องศาเซลเซียส ในขณะที่ความชื้นเป็นผลดีสำหรับการเซตตัว

การก่อสร้างคอนกรีตไม่ควรทำในภาวะอากาศที่หนาวจัดเพราะ น้ำที่แข็งตัวจะเป็นผลเสียต่อการยึดตัวของคอนกรีต กล่าวคือ อุณหภูมิอากาศไม่ควรต่ำกว่า 5 องศาเซลเซียส ในขณะเทคอนกรีต นอกจากนี้การหล่อคอนกรีตควรจะคำนึงถึงระยะเวลาในการเซตตัวด้วย หากเซตตัวเร็วเกินไปจะทำให้เกิดรอยร้าวได้

การถอดแบบเป็นขั้นตอนที่ยุ่งยากอย่างหนึ่งสำหรับโครงสร้างคอนกรีต คอนกรีตควรจะต้องทิ้งไว้จนกระทั่งเกิดการเซตตัวดีพอที่จะรับน้ำหนักได้จึงถอดแบบได้ แม้ว่าจะถอดแบบออกแล้วบางกรณีอาจจะยังต้องใช้ค้ำยัน ช่วยรับโครงสร้างไประยะหนึ่งก่อน จนกระทั่งคอนกรีตเซตตัวรับแรงได้เต็มที่จึงถอดค้ำยันออก ในกรณีที่ผู้รับเหมาใช้ไม้แบบสำหรับการหล่อ การถอดแบบจะต้องทำให้เร็วเพื่อจะทำให้สามารถเอาไม้ไปใช้ต่อได้และการเสียรูปของแบบน้อยที่สุด การจัดการเคลื่อนแบบหล่อจึงเป็นกระบวนการที่ยุ่งยากพอสมควร

โดยทั่วไปภายใต้อุณหภูมิอากาศประมาณ 16 องศาเซลเซียส แบบหล่อสามารถถอดออกได้

ตามระยะเวลาดังนี้



โครงสร้างทางตั้ง เสา ผนังและคานขนาดใหญ่ 9 ชั่วโมง

พื้น (ทิ้งค้ำยันไว้) 4 วัน

คาน (ทิ้งค้ำยันไว้) 8 วัน

ค้ำยันพื้น 11 วัน

ค้ำยันคาน 15 วัน

คุณภาพของโครงสร้างคอนกรีตส่วนหนึ่งอยู่ความรู้ในการก่อสร้าง ฝีมือช่าง และการจัดการของผู้รับเหมา

โดยพื้นฐานแล้วคอนกรีตเป็นวัสดุที่ทนทาน แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่ต้องการบำรุงรักษาเลยทีเดียว ปกติคอนกรีตเป็นวัสดุห่อหุ้มเหล็กภายในของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก เพื่อป้องกันเหล็กขึ้นสนิม เหล็กควรจะฝังอยู่ลึกอย่างน้อย 1 นิ้วขึ้นไป การทาสีอาจจะช่วยป้องกันการซึมผ่านของน้ำ ทำให้คอนกรีตภายในมีความแห้ง สามารถยืดอายุของโครงสร้างได้ สิ่งที่อันตรายที่สุดคือ รอยร้าวเพราะจะทำให้เกิดการรั่วซึม รวมทั้งทำให้เหล็กภายในเป็นสนิมได้ รอยร้าวสามารถเกิดได้จากอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดการหดและขยายตัว และดังที่กล่าวมาข้างต้นว่า คอนกรีตมีความสามารถในการรับแรงดึงน้อยมาก ทำให้เกิดรอยร้าวจากการหดขยายตัวได้ง่ายกว่าวัสดุอื่น ในการก่อสร้างจึงควรจะคำนึงถึงประเด็น

นี้ไว้ด้วย

การเชื่อมต่อระหว่างคอนกรีตที่แห้งแล้วกับคอนกรีตใหม่เป็นไปได้ยากมาก จะต้องทำให้ความขรุขระบนพื้นผิวคอนกรีตแห้งก่อนเพื่อให้มีที่ยึดเกาะสำหรับคอนกรีตใหม่มากขึ้น แต่หากเป็นไปได้ ควรจะหลีกเลี่ยงเพราะจะเกิดการกะเทาะได้โดยง่าย ในปัจจุบันมีซีเมนต์ชนิดพิเศษหลายประเภทที่สามารถนำมาใช้ในการซ่อมแซมเชื่อมติดกับคอนกรีตเดิมได้ ซึ่งอาจจะผสม Polymer Resin เทียมหรืออื่นๆ

ปัจจุบันคอนกรีตมีการพัฒนาไปมากมาย มีน้ำหนักน้อยลง มีการรับแรงดึงได้ดีขึ้น และได้รับความนิยมมากขึ้น ทั่วทุกภูมิภาคของโลก หลังจากพิสูจน์แล้ว่าการก่อสร้างด้วยคอนกรีตไม่ใช่กระบวนที่ช้าอย่างเดิม

วัสดุโครงสร้าง : ไม้ (wood)

ไม้ (wood)

ไม้ เป็นวัสดุแข็งที่ทำจากแก่นลำต้นของต้นไม้ ส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้น โดยแบ่งเป็นไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้สัก ไม้เต็ง ไม้แดง และไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้ยางพารา โดยนิยามแล้วไม้ จะหมายถึงเนื้อเยื่อไซเล็มชั้นที่สอง (Xylem) ของต้นไม้ แต่ในความเข้าใจไม้ อาจหมายรวมไปถึงวัสดุใดๆ ที่มีส่วนประกอบทำมาจากไม้ด้วย

โครงสร้างของเนื้อไม้
ถ้าตัดไม้พวกไม้สักหรือไม้สนมาท่อนหนึ่งมองดูหน้าตัด จะเห็นโครงสร้างดังนี้


เปลือก คือส่วนที่เห็นอยู่รอบๆนอกซึ่งสามารถแกะให้หลุดล่อนออกไปได้โดยง่าย เปลือกส่วนนอกประกอบด้วยเซลล์ที่ตายแล้ว แต่ตอนใน ๆ ยังมีชีวิต ทำหน้าที่สำคัญ คือ ลำเลียงอาหารที่ปรุงแล้วจากใบลงมาหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของลำต้น

ไม้ คือส่วนที่ถัดจากเปลือกเข้าไป โดยทั่ว ๆ ไป เนื้อไม้ตอนนอก ๆ จะมีสีจางกว่าตอนใน ๆ และมีไม้หลายชนิดที่ความเข้มจางเช่ นว่านี้แบ่งกันชัดเจน นั่นคือ
ส่วนที่มีสีจางตอนนอกเรียกว่า กระพี้
ส่วนที่มีสีเข้มตอนในเรียกว่า แก่น
เนื้อไม้มีหน้าที่ในการส่งน้ำและแร่ธาตุ จากพื้นดินขึ้นไปสู่ใบ กักตุนอาหารหรือสารประกอบอื่น ๆ และทำความแข็งแรง ให้กับลำต้น เมื่อไม้ยังเป็นต้นเล็ก ๆ จะยังไม่มีแก่น เนื้อไม้ทั้งหมดต่างก็ช่วยกันทำหน้าที่ลำเลียงน้ำ แต่ส่วนที่เ ป็นแก่นแล้ว ท่อน้ำถูกอุดตันใช้งานไม่ได้อีกต่อไป ถ้าหากไม้ส่วนที่เป็นกระพี้ถูกตัดขาดโดยรอบลำต้น ซึ่งเรียกว่า กาน ไม้ต้นนั้นจะตายสารที่แทรกอยู่ในไม้ส่วนที่ เป็นกระพี้ ได้แก่ สารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพืช คือ แป้ง น้ำตาล และโปรตีน ทำให้ไม้ส่วนนี้ขึ้นราได้ง่ายและมอดชอบ กิน ส่วนแก่นนั้น กลับมีสารซึ่งให้โทษแก่ตัวการที่จะทำอันตรายต่าง ๆ จึงทำให้มีความทนทานมากกว่ากระพี้ สำหรับไม้ที่แ ก่น กับกระพี้แบ่งกันไม่ชัด อาจถือได้ว่าเป็นไม้ไม่มีแก่น และมักจัดเข้าไว้เป็นไม้ ที่เรียกว่าไม้เนื้ออ่อน

ใจ คือจุดหยุ่นๆ จุดหนึ่งที่อยู่ใกล้ ๆ ใจกลางของหน้าตัด ใจนี้เกิดขึ้นมาแต่แรกเริ่มที่ไม้งอกงาม เพิ่มพูนขนาดออกไปทางคว ามยาว หรือความสูงของลำต้น
แนวแม่เซลล์ คือแนวเซลล์แนวหนึ่งที่อยู่โดยรอบต้นระหว่างเปลือกและไม้ เป็นเซลล์แม่ที่ทำหน้าที่แบ่งตัวออกเป็นไม้บ้าง เปลือกบ้าง การ เจริยทางขวางหรือทางส่วนโตของลำต้น ล้วนแต่เกิดจากจากแบ่งตัวของแม่เซลล์ที่กล่าวนี้ การที่มีแนวแม่เซลล์ในล ักษณะดังกล่าว ทำให้ไม้ใ บแคบหรือใบกว้างแตกต่างกับไม้ พวกผักกูด หมาก หรือมะพร้าวอย่างชัดแจ้ง เพราะไม้พวกหลังนี้ไม่มีแม่เซลล์รอบ ๆ ลำต้น มีแต่ ตอนยอดซึ่งไม่อาจทำให้มีการพอกพูนทางส่วนโตได้


การที่ไม้ส่วนใหญ่ เกิดจากการแบ่งตัวของแม่เซลล์รอบ ๆ ลำต้นนี่เอง จึงทำให้หน้าตัดของซุงมีลักษณะเห็นได้เป็นวง ๆ ล้อมรอบใจ ทั้งนี้จากความแตกต่างของเนี้อไม้ที่เกิดในตอนต้นกับที่เกิดในตอนปลายฤดู วงดังกล่าว เรียกว่า วงเจริญ หรือ วงปี เพราะตามปกติไม้จะเกิดขึ้นปีละ ๑ วงเท่านั้น

แหล่งที่มาตามประเภทของป่าไม้ในประเทศไทย

ป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์อื่นๆ เพราะป่าไม้มีประโยชน์ทั้งการเป็นแหล่งวัตถุดิบของปัจจัยสี่ คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรคสำหรับมนุษย์ และยังมีประโยชน์ในการรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อม ถ้าป่าไม้ถูกทำลายลงไปมาก ๆ ย่อมส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น สัตว์ป่า ดิน น้ำ อากาศ ฯลฯ เมื่อป่าไม้ถูกทำลาย จะส่งผลไปถึงดินและแหล่งน้ำด้วย เพราะเมื่อเผาหรือถางป่าไปแล้ว พื้นดินจะโล่งขาดพืชปกคลุม เมื่อฝนตกลงมาก็จะชะล้างหน้าดินและความอุดมสมบูรณ์ของดินไป นอก จากนั้นเมื่อขาดต้นไม้คอยดูดซับน้ำไว้น้ำก็จะไหลบ่าท่วมบ้านเรือน และที่ลุ่มในฤดูน้ำหลากพอถึงฤดูแล้งก็ไม่มีน้ำซึมใต้ดินไว้หล่อเลี้ยงต้นน้ำ ลำธารทำให้แม่น้ำมีน้ำน้อย ส่งผลกระทบต่อมาถึงระบบเศรษฐกิจและสังคม เช่น การขาดแคลนน้ำในการการชลประทานทำให้ทำนาไม่ได้ผลขาดน้ำมาผลิตกระแสไฟฟ้า

ประเภทของป่าไม้จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการกระจายของฝน ระยะเวลาที่ฝนตกรวมทั้งปริมาณน้ำฝนทำให้ป่าแต่ละแห่งมีความชุ่มชื้นต่างกัน สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

ป่าประเภทที่ไม่ผลัดใบ (Evergreen)

ป่าประเภทนี้มองดูเขียวชอุ่มตลอดปี เนื่องจากต้นไม้แทบทั้งหมดที่ขึ้นอยู่เป็นประเภทที่ไม่ผลัดใบ ป่าชนิดสำคัญซึ่งจัดอยู่ในประเภท นี้ ได้แก่
1. ป่าดงดิบ (Tropical Evergreen Forest or Rain Forest)
ป่าดงดิบที่มีอยู่ทั่วในทุกภาคของประเทศ แต่ที่มีมากที่สุด ได้แก่ ภาคใต้และภาคตะวันออก ในบริเวณนี้มีฝนตกมากและมีความชื้นมากในท้องที่ภาคอื่น ป่าดงดิบมักกระจายอยู่บริเวณที่มีความชุ่มชื้นมาก ๆ เช่น ตามหุบเขาริมแม่น้ำลำธาร ห้วย แหล่งน้ำ และบนภูเขา ซึ่งสามารถแยกออกเป็นป่าดงดิบชนิดต่าง ๆ ดังนี้
1.1 ป่าดิบชื้น (Moist Evergreen Forest) เป็นป่ารกทึบมองดูเขียวชอุ่มตลอดปีมีพันธุ์ไม้หลายร้อยชนิดขึ้นเบียดเสียดกันอยู่มักจะพบกระจัดกระจายตั้งแต่ความสูง 600 เมตร จากระดับน้ำทะเล ไม้ที่สำคัญก็คือ ไม้ตระกูลยางต่าง ๆ เช่น ยางนา ยางเสียน ส่วนไม้ชั้นรอง คือ พวกไม้กอ เช่น กอน้ำ กอเดือย
1.2 ป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest) เป็นป่าที่อยู่ในพื้นที่ค่อนข้างราบมีความชุ่มชื้นน้อย เช่น ในแถบภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมักอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 300-600 เมตร ไม้ที่สำคัญได้แก่ มะคาโมง ยางนา พยอม ตะเคียนแดง กระเบากลัก และตาเสือ
1.3 ป่าดิบเขา (Hill Evergreen Forest) ป่าชนิดนี้เกิดขึ้นในพื้นที่สูง ๆ หรือบนภูเขาตั้งแต่ 1,000-1,200 เมตร ขึ้นไปจากระดับน้ำทะเล ไม้ส่วนมากเป็นพวก Gymonosperm ได้แก่ พวกไม้ขุนและสนสามพันปี นอกจากนี้ยังมีไม้ตระกูลกอขึ้นอยู่ พวกไม้ชั้นที่สองรองลงมา ได้แก่ เป้ง สะเดาช้าง และขมิ้นต้น
2. ป่าสนเขา (Pine Forest)
ป่าสนเขามักปรากฎอยู่ตามภูเขาสูงส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ซึ่งมีความสูงประมาณ 200-1800 เมตร ขึ้นไปจากระดับน้ำทะเลในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บางทีอาจปรากฎในพื้นที่สูง 200-300 เมตร จากระดับน้ำทะเลในภาคตะวันออกเฉียงใต้ ป่าสนเขามีลักษณะเป็นป่าโปร่ง ชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญของป่าชนิดนี้คือ สนสองใบ และสนสามใบ ส่วนไม้ชนิดอื่นที่ขึ้นอยู่ด้วยได้แก่พันธุ์ไม้ป่าดิบเขา เช่น กอชนิดต่าง ๆ หรือพันธุ์ไม้ป่าแดงบางชนิด คือ เต็ง รัง เหียง พลวง เป็นต้น
3. ป่าชายเลน (Mangrove Forest)
บางทีเรียกว่า "ป่าเลนน้ำเค็ม”หรือป่าเลน มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่นแต่ละชนิดมีรากค้ำยันและรากหายใจ ป่าชนิดนี้ปรากฎอยู่ตามที่ดินเลนริมทะเลหรือบริเวณปากน้ำแม่น้ำใหญ่ ๆ ซึ่งมีน้ำเค็มท่วมถึงในพื้นที่ภาคใต้มีอยู่ตามชายฝั่งทะเลทั้งสองด้าน ตามชายทะเลภาคตะวันออกมีอยู่ทุกจังหวัดแต่ที่มากที่สุดคือ บริเวณปากน้ำเวฬุ อำเภอลุง จังหวัดจันทบุรี พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ตามป่าชายเลน ส่วนมากเป็นพันธุ์ไม้ขนาดเล็กใช้ประโยชน์สำหรับการเผาถ่านและทำฟืนไม้ชนิดที่สำคัญ คือ โกงกาง ประสัก ถั่วขาว ถั่วขำ โปรง ตะบูน แสมทะเล ลำพูนและลำแพน ฯลฯ ส่วนไม้พื้นล่างมักเป็นพวก ปรงทะเลเหงือกปลายหมอ ปอทะเล และเป้ง เป็นต้น
4. ป่าพรุหรือป่าบึงน้ำจืด (Swamp Forest)
ป่าชนิดนี้มักปรากฎในบริเวณที่มีน้ำจืดท่วมมาก ๆ ดินระบายน้ำไม่ดีป่าพรุในภาคกลาง มีลักษณะโปร่งและมีต้นไม้ขึ้นอยู่ห่าง ๆ เช่น ครอเทียน สนุ่น จิก โมกบ้าน หวายน้ำ หวายโปร่ง ระกำ อ้อ และแขม ในภาคใต้ป่าพรุมีขึ้นอยู่ตามบริเวณที่มีน้ำขังตลอดปีดินป่าพรุที่มีเนื้อที่มากที่สุดอยู่ในบริเวณจังหวัดนราธิวาสดินเป็นพีท ซึ่งเป็นซากพืชผุสลายทับถมกัน เป็นเวลานานป่าพรุแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ ตามบริเวณซึ่งเป็นพรุน้ำกร่อยใกล้ชายทะเลต้นเสม็ดจะขึ้นอยู่หนาแน่นพื้นที่ มีต้นกกชนิดต่าง ๆ เรียก "ป่าพรุเสม็ด หรือ ป่าเสม็ด" อีกลักษณะเป็นป่าที่มีพันธุ์ไม้ต่าง ๆ มากชนิดขึ้นปะปนกันชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญของป่าพรุ ได้แก่ อินทนิล น้ำหว้า จิก โสกน้ำ กระทุ่มน้ำภันเกรา โงงงันกะทั่งหัน ไม้พื้นล่างประกอบด้วย หวาย ตะค้าทอง หมากแดง และหมากชนิดอื่น ๆ
5. ป่าชายหาด (Beach Forest)
เป็นป่าโปร่งไม่ผลัดใบขึ้นอยู่ตามบริเวณหาดชายทะเล น้ำไม่ท่วมตามฝั่งดินและชายเขาริมทะเล ต้นไม้สำคัญที่ขึ้นอยู่ตามหาดชายทะเล ต้องเป็นพืชทนเค็ม และมักมีลักษณะไม้เป็นพุ่มลักษณะต้นคดงอ ใบหนาแข็ง ได้แก่ สนทะเล หูกวาง โพธิ์ทะเล กระทิง ตีนเป็ดทะเล หยีน้ำ มักมีต้นเตยและหญ้าต่าง ๆ ขึ้นอยู่เป็นไม้พื้นล่าง ตามฝั่งดินและชายเขา มักพบไม้เกตลำบิด มะคาแต้ กระบองเพชร เสมา และไม้หนามชนิดต่าง ๆ เช่น ซิงซี่ หนามหัน กำจาย มะดันขอ เป็นต้น
ป่าประเภทที่ผลัดใบ (Declduous)
ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ในป่าประเภทนี้เป็นจำพวกผลัดใบแทบทั้งสิ้น ในฤดูฝนป่าประเภทนี้จะมองดูเขียวชอุ่มพอถึงฤดูแล้งต้นไม้ ส่วนใหญ่จะพากันผลัดใบทำให้ป่ามองดูโปร่งขึ้น และมักจะเกิดไฟป่าเผาไหม้ใบไม้และต้นไม้เล็ก ๆ ป่าชนิดสำคัญซึ่งอยู่ในประเภทนี้ ได้แก่
1. ป่าเบญจพรรณ (Mixed Declduous Forest)
ป่าผลัดใบผสม หรือป่าเบญจพรรณมีลักษณะเป็นป่าโปร่งและยังมีไม้ไผ่ชนิดต่าง ๆ ขึ้นอยู่กระจัดกระจายทั่วไปพื้นที่ดินมักเป็นดินร่วนปนทราย ป่าเบญจพรรณ ในภาคเหนือมักจะมีไม้สักขึ้นปะปนอยู่ทั่วไปครอบคลุมลงมาถึงจังหวัดกาญจนบุรี ในภาคกลางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก มีป่าเบญจพรรณน้อยมากและกระจัดกระจาย พันธุ์ไม้ชนิดสำคัญได้แก่ สัก ประดู่แดง มะค่าโมง ตะแบก เสลา อ้อยช้าง ส้าน ยม หอม ยมหิน มะเกลือ สมพง เก็ดดำ เก็ดแดง ฯลฯ นอกจากนี้มีไม้ไผ่ที่สำคัญ เช่น ไผ่ป่า ไผ่บง ไผ่ซาง ไผ่รวก ไผ่ไร เป็นต้น

2. ป่าเต็งรัง (Declduous Dipterocarp Forest)
หรือที่เรียกกันว่าป่าแดง ป่าแพะ ป่าโคก ลักษณะทั่วไปเป็นป่าโปร่ง ตามพื้นป่ามักจะมีโจด ต้นแปรง และหญ้าเพ็ก พื้นที่แห้งแล้งดินร่วนปนทราย หรือกรวด ลูกรัง พบอยู่ทั่วไปในที่ราบและที่ภูเขา ในภาคเหนือส่วนมากขึ้นอยู่บนเขาที่มีดินตื้นและแห้งแล้งมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีป่าแดงหรือป่าเต็งรังนี้มากที่สุด ตามเนินเขาหรือที่ราบดินทรายชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญในป่าแดง หรือป่าเต็งรัง ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง กราด พะยอม ติ้ว แต้ว มะค่าแต ประดู่ แดง สมอไทย ตะแบก เลือดแสลงใจ รกฟ้า ฯลฯ ส่วนไม้พื้นล่างที่พบมาก ได้แก่ มะพร้าวเต่า ปุ่มแป้ง หญ้าเพ็ก โจด ปรงและหญ้าชนิดอื่น ๆ

3. ป่าหญ้า (Savannas Forest)
ป่าหญ้าที่อยู่ทุกภาคบริเวณป่าที่ถูกแผ้วถางทำลายบริเวณพื้นดินที่ขาดความสมบูรณ์และถูกทอดทิ้ง หญ้าชนิดต่าง ๆ จึงเกิดขึ้นทดแทนและพอถึงหน้าแล้งก็เกิดไฟไหม้ทำให้ต้นไม้บริเวณข้างเคียงล้มตาย พื้นที่ป่าหญ้าจึงขยายมากขึ้นทุกปี พืชที่พบมากที่สุดในป่าหญ้าก็คือ หญ้าคา หญ้าขนตาช้าง หญ้าโขมง หญ้าเพ็กและปุ่มแป้ง บริเวณที่พอจะมีความชื้นอยู่บ้าง และการระบายน้าได้ดีก็มักจะพบพงและแขมขึ้นอยู่ และอาจพบต้นไม้ทนไฟขึ้นอยู่ เช่น ตับเต่า รกฟ้าตานเหลือ ติ้วและแต้ว
ประโยชน์ของไม้
ในแง่ของการใช้ประโยชน์ ไม้ให้ประโยชน์มากในแง่ของการใช้ประโยชน์ ไม้ให้ประโยชน์มากมายหลายอย่าง แต่ก่อนที่จะนำ ไปใช้ประโยชน์ได้จริง ๆ มักจะต้องผ่านกรรมวิธีในการแปรรูปเสียก่อน ดังนั้น จึงทำให้เกิดอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการแปรรูปไม้ได้มากมาย ก่อเกิดประโยชน์ในการใช้เป็นอเนกประการ
ซุง หรือไม้ท่อนที่มีขนาดใหญ่ อาจนำไปแปรรูปโดยการเฉลี่ย ให้เป็นไม้แผ่นมีขนาดต่าง ๆ ตามความประสงค์ในการก่อสร้างอาคาร บ้านเรือน เครื่องเรือนและเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ หรืออาจปอกหรือผ่านให้เป็นไม้แผ่วบาง ๆ เพื่อนำไปทำเป็นไม้อัด ไม้ประสาน ประตูพื้นเรียบ หรืองานอื่น ๆ ได้

ขี้เลื่อยนั้น แต่ก่อนมาเชื่อกันว่า นอกจากจะใช้เป็นเชื้อเพลิงแล้ว ก็แทบหาประโยชน์อะไรมิได้ บัดนี้ปรากฏว่า ได้มีกา รนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษกันมากในประเทศในยุโรป อนึ่ง ในแง่ที่จะใช้เป็นเชื้อเพลิง อาจปรับปรุงให้มีคุณภาพดีขึ้ น โดยการ อัดให้เป็นแท่ง หรือเผาเป็นถ่านก่อน แล้วจึงอัดให้เป็นแท่งก็ได้
ประเภทของไม้
ไม้แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท โดยถือเอาค่าความแข็งแรงในการดัดของไม้แห้ง และความทนทานตามธรรมชาติของไม้ชนิดนั้น ๆ เป็นเกณฑ์ได้แก่
1. ไม้เนื้อแข็ง มีความแข็งแรงสูงกว่า 1000 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร มีความทนทานสูงกว่า 6 ปี ได้แก่ ไม้เคี่ยม ไม้แอ๊ก ไม้หลุมพอ ไม้เสลา ไม้สักขี้ควาย ไม้เลียงมัน ไม้รัง ไม้ยมหิน ไม้มะค่าโมง ไม้มะเกลือเลือด ไม้ประดู่ ไม้เต็ง ไม้ตะบูนดำ ไม้ตะคร้อหนาม ไม้ตะคร้อไข่ ไม้แดง ไม้กันเกรา
2. ไม้เนื้อแข็งปานกลาง มีความแข็งแรง 600 ถึง 1000 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร มีความทนทาน 6 ปี ได้แก่ ไม้เหียง ไม้รกฟ้า ไม้ยูง ไม้มะค่าแต้ ไม้พลวง ไม้นนทรี ไม้ตาเสือ ไม้ตะแบก ไม้ตะเคึยนหนู ไม้ตะเคียนทอง ไม้กว้าว
3. ไม้เนื้ออ่อน มีความแข็งแรงต่ำกว่า 600 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร มีความทนทานต่ำกว่า 2 ปี ได้แก่ ไม้อินทนิล ไม้สัก ไม้ยางแดง ไม้พะยอม ไม้พญาไม้ ไม้ทำมัง ไม้ตะบูนขาว ไม้กะบาก ไม้กระเจา ไม้กวาด
คุณสมบัติทั่วไปของไม้ (Wood Properties)
โดยที่ไม้เกิดจากต้นไม้หลายชนิด คุณสมบัติในด้านต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้ประโยชน์ จึงมีความแตกต่างกันไป ไม้แต่ละชนิดย ่อมเหมาะสมกับงานแต่ละอย่างมากน้อยไม่เหมือนกัน ในงานก่อสร้าง เรามักคำนึงถึงความแข็งแรงและความทนทาน ในประดิษฐกร รม เครื่องเรือ น หรือส่วนประกอบเครื่องจักรกล ซึ่งต้องการความสวยงามและแนบเนียนในการเข้าไม้ เราอาจคำนึงถึงลวดลายในไม้ การหดหรือกา รพองตัว ความยากง่ายในการไสกบตกแต่ง ตลอดจนการลงน้ำมันในการทำลังใส่ของ เราอาจคำนึงถึงความหนักเบาและความ ยากง่ายในการตีตะปู ในการทำ เยื่อกระดาษเราสนใจถึงปริมาณส่วนประกอบทางเคมีของไม้ และลักษณะของเส้นใย รวมทั้งความยากง่ายในการฟอกสี
1.ความชื้น หมายถึง น้ำที่มีอยู่ในไม้ มีความสัมพันธ์ต่อคุณสมบัติของไม้ในด้านต่าง ๆ อย่างสำคัญยิ่ง ปริมาณความชื้นในไม้ นิยม แสดงเป็นค่าส่วนร้อยของน้ำหนักของเนื้อไม้แท้ ๆ

2.น้ำหนัก เป็นคุณสมบัติที่รู้จักกันแพร่หลายและทดสอบหาค่าได้ง่ายกว่าคุณสมบัติอย่างอื่น การกล่าวถึงน้ำหนักของสาร โดยทั่ว ๆ ไป เราใช้วิธีเทียบเป็นทศนิยมของน้ำหนักน้ำที่มีปริมาตรเท่ากัน ซึ่งเรียกกันว่า ความถ่วงจำเพาะ (ถพ.) เนื้อไม้แท้ ๆ จะมีค่าความถ่วงจำเพาะโดยเฉลี่ยประมาณ ๑๐๕๔ หรือหนักกว่าน้ำประมาณหนึ่งเท่าครึ่ง การที่ไม้ลอยน้ำได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม้แห้ ง เพราะว่าเนื้อไม้มีช่องว่างอยู่ทั่ว ๆ ไป
ไม้จะหนักหรือเบาเพียงไร มันขึ้นอยู่กับความหนาบางของผนีงเซลล์ค้ำจุนเป็นสำคัญ ไม้มีผนังเซลล์ค้ำจุนหนาก็จะหนัก ถ้ าบางก็จะเบา ความชื้นในไม้มีบทบาทเกี่ยวกับน้ำหนักอยู่มาก กล่าวคือ ถ้ามีความชื้นสูงก็มีน้ำหนักมาก ถ้ามีความ ชื้นน้อยก็มีน้ำหนักเบา ลงตามส่วน

3. การหดและการพองตัว เกิดขึ้นเมื่อไม้เสียความชื้น หรือได้รับความชื้นเพิ่มตามลำดับ ในระดับที่มีความชื้นต่ำกว่า จุดหมาด ไม้ที่ไสกบตกแต่งประกอบเข้าชิดสนิทกัน ดูงามดีในขณะที่ไม้ยังสด ภายหลังเมื่อไม้แห้งลงจะเกิดร่องหรือ ความหละหลวมที่รอยต่อนั้ น ๆ เนื่องมาจากการหดตัวของไม้ โดยนัยกลับกัน หากนำไม้แห้งอัดชิด แล้วปล่อยให้ถูกน้ำหนือความชื้นสูงส่วนประกอบนั้นอาจ ดันกันจนโก่งงอขึ้นมาได้ เพื่อกันการเสียหายอันเกิดจากการหดการพองตัวนี้ จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องเลือก ใช้ไม้ที่มีความชื้นให้เหมาะส มถูกต้องกับกาลเทศะ

4. ความแข็งแรง หมายถึง ความสามารถของไม้ที่จะรับน้ำหนักหรือแรงภายนอก เช่น แรงน้ำ แรงลม น้ำหนักของสิ่งของหรือแรงที่ มนุษย์ทำขึ้น เพื่อใช้ในงานทดสอบโดยเฉพาะ เป็นคุณสมบัติสำคัญที่จะต้องพิจารณาเมื่อนำไม้มาใช้ก่อสร้างบ้านเรือน หรืองานอื่ น ๆ ในลักษณะเดียวกัน
แรงที่เข้ามากระทำต่อไม้ที่ใช้ในการก่อสร้างนั้น แยกได้เป็น ๓ ประเภท คือ
แรงดึง ซึ่งมีผลทำให้ไม้แยกออกจากกัน เช่น ตัวไม้ที่ใช้ตียึดโยงต่าง ๆ
แรงบีบ มีผลให้ไม้บีบตัวเข้าหากัน เช่นไม้ที่ใช้เป็นสาตอม่อ หรือไม้ค้ำยัน
แรงเชือด ทำให้ไม้ส่วนหนึ่งไถลเลื่อนเคลื่อนคลาดออกไปจากส่วนข้างเคียง
บางกรณี เช่น ไม้ที่ใช้งานในลักษณะคาน ตง ได้รับแรงทั้ง ๓ ประเภท เข้ากระทำพร้อม ๆ กัน กล่าวคือ รับแรงบีบทางด้านบน หรือด้านโค้ งเข้า แรงดึงทางด้านล่าง หรือด้านโค้งออก และแรงเชือดตามแนวยาวของคาน

5. ความทนทาน หมายถึง ความสามารถในการต่อต้านหรือต้านทานต่อตัวการทำลายไม้ต่าง ๆ ที่สำคัญ คือ รา ซึ่งเป็นพืชชั้นต่ำ ทำ ให้ไม้ผุ หรือ เสียสี มอดและปลวก เป็นแมลงซึ่งอาศัยกินสารในไม้หรือเนื้อไม้เป็นอาหาร
สาเหตุที่ทำให้ไม้มีความทนทานแตกต่างกันนั้นวิเคราะห์กันว่า เนื่องมาจากเหตุ ๒ ประการ คือความแน่น และสารแทรกในเนื้อไม้ ไ ม้ที่มีความแน่นสูง หรือมีช่องรูอุดตัน ยอมให้น้ำและอากาศถ่ายเทได้ยาก จะมีความทนทานสูงกว่าไม้ที่เบาหรือที่ โครงสร้างโปร่ง แต่ที่สำคัญที่สุด คือ ชนิดและปริมาณสารแทรกที่มีในเนื้อไม้ เห็นได้ชัดจากสารแทรกที่มีในส่วนกระพี้ และแก่นไม้ดังก ล่าวมาแล้วแต่ต้น
ไม้โดยสภาพแล้ว ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ในการก่อสร้างโดยตรง เนื่อง จากอาจจะมีการแตกหักในโครงสร้าง จึงต้องนำไปแปรรูปเป็นอย่างอื่นก่อน เช่น ไม้อัด,chipboard, engineered wood, hardboard, medium-density fibreboard (MDF) , oriented strand board (OSB) เป็นต้น ไม้ดังกล่าวนี้ใช้ประโยชน์กันในวงกว้าง อีกทั้งเยื่อไม้ยังเป็นส่วนประกอบสำคัญใการผลิตกระดาษอีกด้วย เซลลูโลส (cellulose) ที่อยู่ในไม้ยังใช้การทำวัสดุสังเคราะห์ ซึ่งไม้ยังใช้ประโยชน์ในการทำอุปกรณ์อื่นนอกเหนือจากการก่อสร้าง เช่น ใช้ทำตะเกียบ เครื่องดนตรี เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ

การเลือกใช้ไม้ชนิดต่างๆให้เหมาะกับประโยชน์การงาน

การเลือกใช้ไม้ตามชนิดของไม้
1. ไม้เนื้ออ่อน ได้แก่ ไม้ที่มีเนื้อค่อนข้างเหนียว ทำการเลื่อย ไสกบ ตกแต่งได้ง่าย ลักษณะเนื้อมีสีซีดจาง น้ำหนักเบา ขาดความแข็งแรงทนทาน รับน้ำหนักได้ไม่ดี เช่น ไม้ฉำฉา ไม้กะบาก ไม้ยาง ฯลฯ

2. ไม้เนื้อแข็ง ได้แก่ ไม้ที่มีเนื้อแข็งปานกลาง ทำการเลื่อย ไสกบ ตกแต่งได้ยาก ลักษณะเนื้อไม้มีสีเข้มค่อน ไปทางสีแดง มีความแข็งแรงทนทาน เช่น ไม้ตะเคียน ไม้ชิงชัน ไม้เต็ง ไม้มะม่วง ฯลฯ

3. ไม้เนื้อแกร่ง ได้แก่ ไม้ที่มีเนื้อแกร่ง ทำการเลื่อย ไสกบ ตกแต่งได้ยากมาก ลักษณะเนื้อไม้เป็นมันในตัว แน่น ลายละเอียด น้ำหนักมาก มีสีเข้มจัดจนถึงสีดำ มีความแข็งแรงทนทานดีมาก เช่น ไม้ประดู่ ไม้แดง ไม้เกลือ ฯลฯ
การเลือกใช้ไม้ตามที่จะนำมาใช้งาน
การเลือกไม้ที่จะนำมาใช้งานต้องพิจารณาใน 2 ประเด็นคือ
1. การเลือกมาใช้ในงานรับน้ำหนักโดยตรง ได้แก่ ไม้ที่ใช้ในการก่อสร้างที่ไม่ต้องการความประณีตมากนัก เช่น การก่อสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ไม้จำพวกนี้ต้องทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับน้ำหนักและต้านทานแรงต่าง ๆ มากกว่าความสวยงาม ความแข็งแรง จึงเป็นข้อแรกที่จะต้องคัดเอาไม้ที่แข็งแรงเท่าที่จะสามารถทำได้ คือ ต้องเป็นไม้ที่เนื้อแน่น แข็งแกร่ง เหนี่ยว ไม่เปราะง่าย ควรเลือกไม้แก่นหรือไม้ที่มีอายุเหมาะแก่การตัด ไม่มีรอยชำรุดเสียหาย เช่น เป็นตา ผุ แตกร้าว ปิดงอ คด โค้ง และเป็นไม้ที่ผ่านการผึ่งมาได้ที่พอเหมาะแก่งานประเภทนี้

2. การ เลือกไม้มาใช้ในงานประณีต ไม้ที่เลือกมาใช้งานประเภทนี้ เป็นไม้ที่ไม่ต้องรับน้ำหนักหรือต้านแรงมากเหมือนไม้ที่ใช้งานประเภทแรก แต่งานประเภทนี้จะนำไม้ไปประกอบเป็นรูปร่างต่างๆ เช่น บาน ประตู หน้าต่าง เครื่องเรือน ตู้ โต๊ะ เก้าอี้ หรือครุภัณฑ์ต่างๆ ที่จะทำอย่างประณีตเรียบร้อยและต้องการความสวยงามมากกว่าความแข็งแรง เป็นงานที่ทำได้ยากและต้องใช้ฝีมือ
สาเหตุที่ทำให้ไม้ผุพัง
ความทนทานของไม้สามารถแบ่งออกตามสภาพแวดล้อมของสถานที่ได้ดังนี้
1. ไม้ในร่ม จากปลวก
2. ไม้กลางแจ้ง จากแดดและฝน
3. ไม้ในที่ชื้นแฉะ จากตัวอ่อนของแมลงพวกเพรียงน้ำจืด
4. ไม้ในน้ำกร่อยหรือน้ำเค็ม จากเพรียง หอยสองฝา กุ้ง ปู บางชนิด เข้าทำลายเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย
5. ไม้เป็นวัสดุที่ใช้สำหรับโครงสร้างอาคารมายาวนาน ในหลายๆ ประเทศไม้ถูกจัดให้เป็นวัสดุที่ควรอนุรักษ์และมีราคาแพงเกินไปสำหรับการก่อสร้าง ในขณะที่บางประเทศมีราคาถูก แท้ที่จริงแล้วหากมีการจัดการทรัพยากรไม้ที่ดี การใช้วัสดุประเภทนี้ถือได้ว่ามีส่วนช่วยในการอนุรักษ์ธรรมชาติ เพราะไม้เป็นวัสดุที่สามารถปลูกทดแทนได้ แต่หากไม่มีการจัดการที่ดีแล้ว การตัดไม้ทำงายป่าก็กลายเป็นปัญหาอันใหญ่ต่อสภาพแวดล้อมได้ ดังที่ปรากฏในประเทศที่กำลังพัฒนาหลายประเทศ
6.ในประเทศไทยพื้นฐานของโครงสร้างอาคารขนาดเล็กไปถึงขนาดกลางมาจากไม้ทั้งสิ้น สถาปนิกหรือช่างไทยมีความเฉพาะในการออกแบบโครงสร้างของตัวเอง รวมทั้งในงานสถาปัตยกรรมไทยยังมีชื่อเรียกองค์ประกอบแต่ละชิ้นอย่างแน่นอนตายตัว เหล่านี้เป็นการบังคับรูปแบบของโครงสร้างวิธีหนึ่ง โครงสร้างหลังคาของเรือนไทยจะต้องประกอบด้วยชิ้นส่วนที่เหมือนกัน และถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง ในการเรียนสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิม โครงสร้างไม้ก็ถูกกำหนดความแน่นอนขององค์ประกอบ การวางอยู่และพาดทับขององค์ประกอบต่างๆ โครงสร้างแบบประเพณีนิยมนี้ถูกถ่ายทอดต่อๆ กันไปอย่างต่อเนื่องและมีการพัฒนาที่น้อยมาก จนกระทั่งวัสดุอื่น เช่น เหล็กและคอนกรีต
7. เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในที่สุด
8. ในระดับสากลไม้กลับมามีความนิยมในการทำเป็นโครงสร้างถาวรของอาคารสมัยใหม่ในรูปแบบโครงสร้างใหม่ในหลายๆ ที่ รูปแบบโครงสร้างสำหรับอาคารมีหลากหลาย ภายใต้กรอบแห่งการรับแรงเดียวกันโครงสร้างไม้อาจจะถูกผสานด้วยแผ่นเหล็กสำหรับเชื่อมต่อภายในองค์ประกอบ หรือผสานกับโครงสร้างเคเบิล สำหรับช่วงพาดพิเศษ การใช้ในรูปแบบต่างๆ เหล่านี้ช่วยสร้างความน่าสนใจให้กับอาคาร โดยเฉพาะเมื่อไม้มีสัญลักษณ์แห่งธรรมชาติอยู่ในตัวที่ค่อนข้างชัดเจน ไม้มีความนุ่มนวลแห่งความรู้สึกมากกว่าคอนกรีตหรือเหล็ก โดยเฉพาะในประเทศที่มีพื้นฐานแห่งโครงสร้างไม้อย่างบ้านเรา แต่ปัญหาที่ยิ่งใหญ่ คือ ไม้เป็นทรัพยากรที่ต้องอนุรักษ์และไม่มีการจัดการทางธรรมชาติที่ดีพอ ทำให้ไม้ยังมี
9. ข้อจำกัดในการใช้สำหรับโครงสร้างอยู่พอสมควร
10. ไม้มีความสามารถรับแรงดึงได้ดีพอสมควร ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของไม้ในประเด็นนี้คือ โครงสร้างไม้มีเนื้อเยื่อประสาน ทำให้การพังทลายลงมาของโครงสร้างส่วนใหญ่ไม่เกิดโดยฉับพลัน มักจะมีอาการบอกเหตุก่อนเสมอ หากมีการตรวจเช็คสม่ำเสมอจะมีความปลอดภัยสูง แต่ปัญหาในการใช้ไม้ในระบบโครงสร้าง คือ ความยากในการประมาณค่าการรับแรงของแต่ละองค์ประกอบ เพราะไม้มีความแตกต่างกันสูงกว่าวัสดุอื่น ไม้แต่ละท่อน แต่ละชนิดสามารถรับแรงได้แตกต่างกัน วิศวกรจึงจะต้องประมาณค่าการรับแรงเผื่อไว้ค่อนข้างมาก ทั้งนี้ตาไม้หรือข้อปล้องก็มีผลอย่างสูงต่อการรับแรง การเลือกไม้ในการก่อสร้างจะควรจะต้องพิถีพิถันเป็นพิเศษ
11. อีกประการหนึ่ง ไม้ มีการหดหรือขยายตัวค่อนข้างมากเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงของความชื้นและอุณหภูมิในอากาศ ในการก่อสร้างสำหรับส่วนนี้มีความสำคัญมาก อาจจะทำให้เกิดการโก่งงอของส่วนประกอบโครงสร้างได้ จึงต้องเผื่อการขยายตัวให้เหมาะสม
12. ข้อดีในการก่อสร้างโครงสร้างไม้ คือ สามารถที่จะตัดและเชื่อมต่อได้โดยง่าย อย่างก็ตามควรคำนึงถึงลักษณะลายไม้ เพื่อไม่เกิดการแตกแยกของโครงสร้างในขณะตอกตะปูหรือภายหลังการใช้งาน การออกแบบการรับแรงของไม้ก็ต้องคำนึงของลายไม้เช่นกัน ไม้จะรับแรงในแนวตั้งฉากลายไม้ได้ดีที่สุด ในขณะที่การรับแรงตามแนวลายจะมีความยึดเหนี่ยวของเนื้อไม้ต่ำ
13. โครงสร้างไม้ที่มีการบำรุงรักษาที่ดีสามารถรองรับโครงสร้างอาคารได้อย่างถาวร อาจจะมีการเปลี่ยนเสริมบางชิ้นส่วนตามกาลเวลา แต่ปัญหาสำหรับโครงสร้างไม้โดยเฉพาะในเขตร้อนชื้นอย่างบ้านเราได้แก่ ปลวก จะต้องมีการวางแผนป้องกันปลวกตั้งแต่การเริ่มต้นการก่อสร้าง รวมไปทั้งการออกแบบไม่ควรให้โครงสร้างเชื่อมดินกับดิน อันจะทำให้ปลวกสามารถขึ้นสู่อาคารได้อย่างง่าย อาคารไม้จะต้องมีการสอดส่องหาปลวกหรือแมลงอื่นอยู่ตลอดเวลา
14.ไม้เป็นวัสดุที่ติดไฟง่ายที่สุดในบรรดาโครงสร้างทั้งหลาย การป้องกันเพลิงไหม้จึงเป็นประเด็นที่สำคัญสำหรับโครงสร้างไม้ ในปัจจุบันมีน้ำยาสำหรับต้านไฟในไม้ อาจจะช่วยยืดเวลาได้ระยะหนึ่ง หรือทำให้ไม้ติดไฟยากขึ้น
15. ไม้สามารถทำเป็นระบบสำเร็จรูปได้เช่นกัน ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นระบบก่อสร้างที่เก่าแก่ของไทยเองดังจะเห็นได้จาก เรือนไทยเป็นต้น ระบบกรอบประตู หน้าต่างก็สามารถเรียกว่าเป็นระบบสำเร็จรูปได้ ในอเมริกาและยุโรปโครงหลังคาไม้นิยมทำเป็นแบบสำเร็จจากโรงงานนำมาประกอบที่ก่อสร้าง ทั้งนี้การทำระบบสำเร็จรูปจะต้องคำนึงถึงการขนส่งไปติดตั้งเสมอ ขนาดของโครงสร้างสำเร็จนั้นๆ จะต้องสามารถบรรจุใส่ในรถบรรทุกได้ และขนาดรถบรรทุกจะต้องสามารถเข้าถึงที่ก่อสร้างได้โดยสะดวก
16. หากมีการจัดการการปลูกไม้ดีขึ้น คงจะมีการรื้อฟื้นโครงสร้างไม้มาใช้ในไทยมากขึ้น เพราะไม้ยัง
17. ไงก็ถือได้ว่าเป็นทรัพยากรที่ปลูกทดแทนได้ และใช้พลังงานในขบวนการผลิตน้อยที่สุด
ไม้แปรรูป

โดยทั่วๆไป หมายถึง เฉพาะไม้ที่แปรรูปจากไม้ซุงท่อน ด้วยการเลื่อยหรือถาก เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการก่อสร้าง ทำเครื่อง เรือน หรือแปรรูปต่อไปเป็นอย่างอื่น สำหรับการแปรรูปไม้ซุงขนาดเล็ก เช่น ทำเป็นเสา หรือ หมอนรองรางรถไฟ ยังนิยมใช้ วิธีถากด้วยขวานกันอยู่ทั่วไป แต่ถ้าเป็นไม้ขนาดใหญ่ต้องการแบ่งไม้ออกเป็นสองส่วนหรือหลาย ๆ ส่วน ต้องใช้เลื่อย เลื่อยที่ ใช้แรงคนมักเป็นเลื่อยแบบชัก หากเป็นโรงเลื่อยจักร อาจมีเลื่อยใช้ได้หลายแบบ คือ ทั้งเลื่อยชักเลื่อยสายพาน และเลื่อยวงเดือน โรงเลื่อยจักรนั้น จัดเป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับไม้มาก่อนอุตสาหกรรมประเภทอื่น

แผ่นไม้แปรรูป คือส่วนที่ตัดจากไม้ซุงตามยาวจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง ดังรูปที่ 4.3 เมื่อต้นไม้ถูกตัด เนื้อไม้จะเต็มไปด้วยความชื้น จะต้องทำการตากจนแห้งเสียก่อน ลักษณะเช่นนี้เรียกว่าไม้แปรรูปตากแห้ง (Air-Dried :AD) การจำหน่ายไม้แปรรูป ส่วนใหญ่จะต้องมีค่าความชื้นของไม้ไม่เกิน 19% ถ้าเกิน 19% ต้องถูกทำให้แห้งด้วยการอบแบบพิเศษ เรียกว่า คินน์ (Kilns) ไม้แปรรูปโดยทั่วไปจะต้องแห้งก่อนนำไปใช้
ขนาด ของไม้แปรรูปเมื่ออยู่ในโรงเก็บไม้ก่อนนำไปใช้งาน จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าเล็กน้อยกับที่ระบุไว้ เนื่องจากไม้จะมีการหดตัวเมื่อเวลาไสผิวหน้าไม้ ยกตัวอย่างเช่น ไม้ขนาด 2 นิ้ว x 4 นิ้วขนาดของไม้แปรรูปที่ใช้งานจริงจะมีขนาดเพียง 1 ½ นิ้วx 3 ½ นิ้ว ส่วนความหนาของไม้ 1 นิ้ว ถ้าไส 2 หน้าแล้วจะเหลือเพียง 13/16 นิ้ว การคัดเกรดของไม้แปรรูป จะแบ่งเป็นเกรดเอและเกรดบี แต่ทั่วไปนิยมใช้เกรดบี ซึ่งมักจะใช้กับงานตกแต่งภายใน หรืองานโรงฝึกงานในโรงเรียน เป็นต้น ส่วนเกรดซี และเกรดดีจะแพงกว่าเล็กน้อย ในการคัดเกรดของไม้เนื้อแข็งที่ดีที่สุดคือแบบ FAS (First and seconds) เหมาะสำหรับการทำเฟอร์นิเจอร์ ส่วนแบบหมายเลข 1 หมายเลข 2 จะมีข้อบกพร่องบ้างและราคาถูกกกว่าแบบ FAS

การซื้อขายไม้แปรรูป จะขายในลักษณะเป็นตารางฟุต โดยคิดเป็นความกว้าง 12 นิ้ว ยาว 12 นิ้ว และหนา 1 นิ้ว หรือ 1/12 ฟุต3 มักเรียกว่า 1 board foot ไม้แปรรูปที่มีความหนาน้อยกว่า 1 นิ้ว ให้คิดเป็น 1 นิ้ว สูตรที่ใช้คำนวณหน้าไม้ในการขายคือ ไม้ 1 board foot = หนา (นิ้ว) x กว้าง (ฟุต) x ยาว (ฟุต)
ตัวอย่าง ไม้ขนาด 2 ฟุต ยาว 12 ฟุต หนา 4 นิ้ว คิดเป็นปริมาตรไม้เท่าไร

ปริมาตรไม้ = x 2 x 12 = 8 ฟุต3

ประเทศไทยเคยคิดปริมาณของไม้เป็นยก โดยไม้ 1 ยกมีขนาดกว้าง 24 นิ้ว ยาว 16 วา และหนา 1 นิ้ว (ไม้ 1 ยกจะมีปริมาตรเท่ากับ 17.78 ตร.ฟุต ) ดังนั้นการซื้อขายไม้ในปัจจุบัน จะขายหน้าตัดเป็นนิ้ว ความยาวเป็นเมตร สำหรับไม้ทั่ว ๆ ไป และหน้าตัดเป็นนิ้ว ความยาวเป็นฟุต สำหรับไม้สัก
วิธีการสั่งไม้แปรรูปให้ได้ตามที่ต้องการ ควรปฏิบัติดังนี้
-จำนวนชิ้นงานที่ต้องการ
-ชั้นคุณภาพของไม้แปรรูป
-ขนาดของชิ้นงาน
-ผิวไม้ที่ต้องการ (มีการไสไม้จากโรงงานที่ด้าน)
-ชนิดของไม้ที่ต้องการ
-การตากแห้ง (โดยธรรมชาติหรือเข้าห้องอบพิเศษ)
ขนาดของไม้แปรรูป
ไม้แปรรูปที่จำหน่ายภายในประเทศแบ่งออกเป็นชนิดและขนาดตามความนิยมในวงการค้าไม้และการก่อสร้างทั่ว ๆ ไปดังนี้
1. ไม้ฝา ขนาดหนา 1/2 ถึง 3/4 นิ้ว กว้าง 4 ถึง 6 นิ้ว และ 8 ถึง 10 นิ้ว
2. ไม้พื้นขนาดหนา 1 นิ้ว
3. ไม้ หนา ขนาด 1 1/2 ถึง 2 นิ้ว และ 2 1/2 ถึง 3 นิ้ว กว้าง 3,4,5,6,8,10 และ 12 นิ้ว
4. ไม้เสา ขนาดหนา 4 x 4 นิ้ว, 5 x 5 นิ้ว, และ 6 x 6 นิ้ว
5. 5. ไม้ระแนง ขนาดหนา 1 x 1 นิ้ว
6. ไม้กลอน ขนาดหน่า 1/2 ถึง 3/4 นิ้ว x 2 ถึง 3 นิ้ว และ 1 ถึง 2 นิ้ว x 1 1/2 ถึง 2 นิ้ว
ความยาวของไม้ทุกชนิดแบ่งออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่
1. 2.00 ถึง 2.50 เมตร
2. 3.00 ถึง 5.50 เมตร
3. 6.00 ถึง 7.50 เมตร
4. 8.00 เมตรขึ้นไป
ชนิดของไม้แปรรูป
ไม้อัด
เกิดจากการรวมไม้หลาย ๆ ชนิดเข้าด้วยกันหรือทำจากไม้ชนิดเดียวกัน โดยการตัดท่อนซุงให้มีความยาวตามที่ต้องการ แล้วกลึงปอกท่อนซุง หรือฝานให้ได้แผ่นไม้เป็นแผ่นบาง ๆ มีความหนาตั้งแต่ 1 ถึง 4 มิลลิเมตร แล้วนำมาอัดติดกันโดยใช้กาวเป็นตัวประสานโดยให้แต่ละแผ่นมีแนวเสี้ยน ตั้งฉากกัน แผ่นไม้จะถูกอบแห้งในเตาอบ ไม้อัดมีขนาด กว้าง 4 ฟุต ยาว 8 ฟุต หนา 4,6,8,10,15 และ 20 มิลลิเมตร

ไม้อัดแผ่นแข็ง
ไม้อัดแผ่นแข็ง (Hard board) ทำมาจากการอัดแผ่นไม้เข้าไปในใยไม้โดยวิทยากรสมัยใหม่ ภายใต้ความร้อนและความดัน แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ ชนิดมาตรฐาน และชนิดใช้อุณหภูมิ โดยจะถูกจุ่มลงในน้ำมันและอบแห้งไม้อัดแผ่นแข็งบางชนิดผิวด้านหนึ่งจะมันลื่น ส่วนอีกด้านหนึ่งจะหยาบ ชนิดทั่วไปจะมีหน้าทั้ง 2 ด้านเป็นมันลื่น นิยมนำไม้อัดแผ่นแข็งมาเจาะรูติดผนัง เพื่อใช้แขวนเครื่องมือุปกรณ์งานไม้และงานที่ต้องการอื่น ขนาดมาตรฐานของไม้อัดแผ่นแข็งคือ ขนาด 4 x 6 ฟุต (หนา 1/8 นิ้ว) และขนาด 2 x 12 ฟุต (หนา ¼ นิ้ว)

กระเบื้องแผ่นเรียบ
ผลิตจากใยหิน (asbestos) และปูนซีเมนต์ มีลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยม ผิวเรียบสม่ำเสมอ ทนต่อความร้อน ไม่ติดไฟ ไม่ผุ ไม่เปื่อยหรือยุ่ย คงอยู่ในสภาพเดิมตลอดเวลา คงถาวรทนต่อแดดฝน น้ำหนักเบา ไม่เสียหายเมื่อถูกน้ำ กันปลวกและแมลงได้ เลื่อยเจาะ ตีตะปู และติดตั้งได้ง่าย ล้างทำความสะอาดได้

ชิปบอร์ด
ผนังกั้นห้องชิปบอร์ดมีลักษณะเป็นแผ่นประกบไส้ 3 ชั้น ผิวหน้าเป็นไม้บาง ไส้กลางเป็นชิปบอร์ดหรือชิ้นไม้เล็กที่อัดกันแน่นประกบด้วยกาว เรซินสังเคาระห์ มีร่องรางลิ้นที่ขอบทั้งสองข้างตลอดความยาวของแผ่น ไม้บางที่ใช้ประกบผิวหน้าทั้งสองข้าง ส่วนใหญ่เป็นไม้สักหรือไม้ยางชิปบอร์ด มีคุณสมบัติไม่บิดงอย้อนกลับวัสดุเรียบแผ่นใหญ่

แผ่นยิปซัม
ผลิตจากแร่ยิปซัมซึ่งเป็นแร่อโลหะชนิดหนึ่ง โดยการย่อยก้อนหินยิปซัมบริสุทธิ์ให้มีขนาดเม็ดเล็ก ๆ ประมาณ 2 ถึง 3 นิ้วแล้วนำมาย่อยอีกครั้ง จนเหลือเม็ดเล็กประมาณ 1/2 นิ้ว แล้วเข้าเตาเผาไล่น้ำออก เกิดปฏิกริยาเปลี่ยนสภาพเป็นปูนพลาสเตอร์หลังจากนั้นจะนำไปผสมกับสารเคมีและ เยื่อ ต่าง ๆ เพื่อประกอบกันเข้าเป็นแผ่นยิปซัมที่มีคุณสมบัติทนไฟทนต่อความร้อนมีความ ยืดหยุ่น ปลอดภัยจากเชื้อราและแมลงแผ่นยิปซัมจะมีปูน พลาสเตอร์ เป็นแกนกลางประกบด้วยกระดาษกาวเหนียวทั้งสองด้านและในขั้นสุดท้ายแผ่นยิปซัม จะต้องผ่านการอบด้วยอุณหภูมิค่อนข้างสูงเพื่อให้แผ่น แห้งสนิท เหมาะที่จะใช้เป็นผนังกั้นห้องและเพดาน

แผ่นพลาสติก
ทำจากโพลีสไตรีนหรือโพลียูริเทน มีความแข็งแรงต่อแรงอัดสูงและมีคุณสมบัติเป็นฉนวนได้ดี

แผ่นเซลโลกรีต
แผ่นเซลโลกรีต มี 3 ชนิดได้แก่
ชนิดธรรมดา เป็นเส้นใยไม้ผสมกับซีเมนต์ทั้งแผ่น
ชนิดโฟม 1 เป็นเส้นใยไม้ผสมซีเมนต์ 1 หน้า และบุด้วยแผ่นโฟม 1 หน้า
ชนิดโฟม 2 เป็นเส้นใยไม้ผสมซีเมนต์ 2 หน้า และมีแผ่นโฟมเป็นไสกลาง 1 หน้า
ไม้อัดเคลือบลาย
เป็นแผ่นไม้อัดและกระดาษอัดนำมาเคลือบลายโพลีด้วยเครื่องจักรมีสีสันและลวด ลายให้เลือกทั้งชนิดมันเงาและชนิดผิวด้านเหมาะสำหรับ ตกแต่ง เฟอร์นิเจอร์ กั้นห้อง ทำฝ้าเพดาน

แผ่นสตามิต
วัสดุแผ่นเรียบผลิตด้วยเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ มีส่วนประกอบสำคัญจากฟางและกาวชนิดพิเศษ นำมาอัดแน่นด้วยแรงอัดและความร้อน พร้อมทั้งผ่านการหุ้มผิวจนเป็นวัสดุเนื้อเดียวกัน มีคุณสมบัติเป็นวัสดุทนไฟได้ดี ป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอก เป็นฉนวน มีน้ำหนักเบา
พาติเกิลบอร์ด
ไม้พาติเกิลบอร์ด (Particle board) เป็น แผ่นไม้สำหรับการตกแต่งอีกชนิดหนึ่ง ทำมากจากเศษไม้โดยการอัดและบีบภายใต้ควาร้อนสูง จากากรยึดติดแน่นของไม้ชนิดนี้ จึงมีบางส่วนที่คล้ายคลึงกับไม้อัด เช่น ความหนา และการใช้งาน ดังนั้นไม้พาติเกิลบอร์ดจึงมีขนาดมาตรฐานเช่นเดียวกันไม้อัด คือ 4 x 8 ฟุต ส่วนความหนามีตั้งแต่ 3/8, ½, และ ¾ นิ้ว การใช้งานสามารถทำได้ง่ายและสะดวกต่อการใช้งานทั้งเครื่องมืองานไม้และเครื่องจักรกล
การพิจารณาเลือกไม้สำหรับการทำชิ้นงาน ต้องขึ้นอยู่กับ 3 สิ่ง คือ
1.ชนิดของชิ้นงานที่จะทำ เช่น ประตูภายนอกต้องใช้ไม้ที่สามารถต้านทานน้ำและแสงแดด
2.ราคาของไม้ที่ใช้
3.ลักษณะหรือรูปทรงของไม้ที่นำมาใช้

การปรับปรุงคุณภาพไม้
เนื่องจากไม้ในปัจจุบันมีคุณภาพต่ำลง มีการหดตัว แตกร้าว หรือบิดงอง่าย ทำให้เกิดความเสียหายในสิ่งก่อสร้าง ครัวเรือนเครื่องใช้ไม้สอย โดยทั่ว ๆ ไป จึงต้องมีการปรับปรุงคุณภาพไม้เพื่อให้ไม้มีคุณภาพที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นการปรับปรุงทางด้านสี ความแข็งแรง การหดตัว การพองตัวและ ความทนทาน มีหลายวิธีได้แก่
1.การกองไม้ เป็นการกองไม้ให้โปร่งไม่ชิดติดต่อกัน นอกจากจะทำให้ไม้แห้งเร็วแล้ว ยังป้องกันการเกิดเชื้อราที่ทำให้ไม้ผุได้เป็นอย่างดีด้วย ส่วนไม้ที่เป็นกระพี้หรือไม้ที่ไม่ทนทาน ในขณะที่แปรรูปสด ๆ แล้วกองไม้ชิดติดกันเพียงวันสองวัน ก็จะเกิดราขึ้นเต็ม อาจเสียหายถึงกับทำให้ไม้ใช้การไม่ได้ตลอดไป
2. การแช่น้ำ การแช่น้ำเป็นระยะเวลานาน ๆ จะทำให้แป้งและน้ำตาลที่มีในไม้สลายตัวไป เมื่อนำไม้มาใช้งาน ถึงแม้จะมีกระพี้ติดอยู่ มอดก็จะไม่เข้ารบกวน
3. การอบหรือนึ่ง จะทำให้สารประกอบทางเคมีบางประเภทซึ่งดูดและคายน้ำได้มากสลายตัวไป ทำให้การพองและการหดตัวของไม้ลดลง
4. การอบหรือผึ่ง โดยการใส่ไม้ที่จะอบในเตาอบ ซึ่งสามารถทำให้ไม้แห้งได้เร็วไม่ทำให้ไม้เสียหายจากการหดตัว ส่วนการผึ่งในอากาศ ไม้จะแห้งเร็วหรือแห้งช้าขึ้นอยู่กับความชื้นในอากาศ ถ้าอากาศมีความชื้นต่ำ ไม้ก็แห้งเร็ว และถ้าอาคารมีความชื้นมากไม้ก็แห้งช้า
5.การอัดไม้ด้วยความร้อน ทำให้ไม้มีปริมาตรเล็กลงและคงรูปได้ภายหลังการอัดและทำให้ไม้แข็งและทนทานขึ้น
6.การอัดพลาสติก โดยการอัดสารที่เป็นพลาสติกเหลวเข้าไปในเนื้อไม้ แล้วทำให้มันรวมตัวจับกันเป็นเนื้อพลาสติก กลายเป็นของแข็งในภายหลัง อาจทำได้โดยอาศัยตัวเร่งทางเคมีหรือฉายรังสี
7.การอบน้ำยา เป็นการทา ชุป แช่ หรืออัดน้ำยาเข้าไปในไม้ด้วยแรงอัดสูง ซึ่งเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยการนำไม้เข้าห้องบปิดฝาจนสนิท ทำการดูดอากาศในไม้และในห้องอบออกจนหมด แล้วจึงปล่อยน้ำยาเข้าไป ขณะเดียวกันก็จะเพิ่มความกดดันของอากาศในท่อให้สูงขึ้นถึงระดับที่ต้องการ ทิ้งไว้ระยะหนึ่งแล้วจึงลดความดันลง ไม้ที่ทำการอาบน้ำยาแล้วจะมีความทนทานสูงกว่าไม้ธรรมชาติหลายเท่า