2551/10/01

วัสดุโครงสร้าง : เหล็ก (steel)


เหล็ก (steel)

เป็นวัสดุสำหรับโครงสร้างที่ก้าวขึ้นมามีบทบาทต่องานสถาปัตยกรรมมากขึ้น ตั้งแต่ช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรมอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นวัสดุโครงสร้างที่ถูกกว่าในบางภูมิภาค โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับการลดทอนปริมาณ ของวัสดุที่จะต้องใช้ในการก่อสร้าง ดังที่กล่าวมาข้างต้นว่า ในการก่อสร้างในไทยมีการนำเอาเหล็กมาใช้มากขึ้น ความสำคัญของโครงสร้างโดยวัสดุนี้จึงมีความสำคัญมากขึ้นสำหรับสถาปนิก

โดยคุณสมบัติแล้วเหล็กมีน้ำหนักต่อหน่วยมากเมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุอื่นที่กล่าวมาแล้ว แต่รูปแบบในการนำมาใช้ในโครงสร้างจะสามารถลดน้ำหนักโดยรวมของอาคารได้โดยเฉพาะสำหรับโครงสร้างขนาดใหญ่ หรือโครงสร้างพิเศษ อย่างไรก็ตามรูปทรงสถาปัตยกรรมที่จะใช้เหล็กเป็นโครงสร้างอาจจะมีความจำกัดกว่าคอนกรีตแต่ก็มีความยืดหยุ่นในรูปแบบมากกว่าไม้ โดยเฉพาะในปัจจุบันมีการผสานกับวัสดุที่หลากหลายกว่าอดีต และเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าในการก่อสร้าง ทำให้แม้แต่รูปทรงที่ซับซ้อนสามารถใช้โครงสร้างเหล็กได้
เหล็กจะสูญเสียคุณสมบัติแห่งการรับแรงในอุณหภูมิที่สูงประมาณ 480 องศาเซลเซียส

ดังนั้นอันตรายที่เกิดจากการเลือกใช้เหล็กเป็นโครงสร้างของอาคาร คือ ในสถานการณ์เพลิงไหม้ โครงสร้างจะพังทลายได้โดยง่าย ในบางประเทศจึงมีเทศบัญญัติให้ห่อหุ้มเหล็กที่ใช้เป็นโครงสร้างเพื่อให้ต้านทานเพลิงไหม้ได้ในระยะหนึ่ง ปัญหาอีกประการหนึ่งของโครงสร้างเหล็กคือ การเกิดสนิมซึ่งจะนำไปสู่การผุกร่อนได้โดยง่าย โดยในเฉพาะในเขตร้อนชื้นอย่างไทย ความชื้นในอากาศที่มากกว่า 70% จะทำให้เกิดสนิมได้ โครงสร้างเหล็กควรจะหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับน้ำและความชื้น แม้ว่าจะมีการเคลือบน้ำยากันสนิมหรือทาสีกันสนิมแล้วก็ตาม การทาสีกันสนิมควรจะมีการเตรียมพื้นผิวที่จะทาก่อน โดยการขัดทำความสะอาด เพื่อป้องกันผุโป่งจากภายใน

การเชื่อมต่อของโครงสร้างเหล็กทำได้โดยการเชื่อม (Welding)หรือการใช้น๊อต (Bolting) ในการใช้น๊อตจะต้องมีการเตรียมการที่ดี โดยเฉพาะในอาคารขนาดใหญ่ซึ่งอาจจะทำชิ้นส่วนต่างๆสำเร็จรูปมาจากโรงงาน ควรจะเผื่อความผิดพลาดในขณะประกอบและการขยายตัวของโครงสร้างด้วย ส่วนการเชื่อมนั้นเป็นวิธีการที่ถูกที่สุด แต่ในการเชื่อมจะต้องทำตามที่วิศวกรโครงสร้างระบุเพื่อให้ได้ประโยชน์ในการรับแรงกระทำได้ดีที่สุด ซึ่งเป็นยากมากในการควบคุมคุณภาพในที่ก่อสร้างจริง

ในการก่อสร้างเหล็กสามารถตัดได้โดยใช้เลื่อยตัดเหล็กหรือการใช้การตัดด้วยความร้อนซึ่งเป็น ที่นิยมมากกว่า ในการตัดหรือการเชื่อมโดยใช้ความร้อนจะทำให้เกิดประกายไฟ ซึ่งจะต้องระมัดระวังในการจัดการและทำงานอย่างมาก รวมทั้งการป้องกันสายตาผู้ทำงานด้วยเพราะจะเกิดแสงที่จ้าเกินกว่าที่สายตาเปล่าจะทนได้

ข้อดีของเหล็กนอกจากจะง่ายในการติดตั้งแล้ว ยังง่ายต่อการรื้อถอนด้วย จึงเป็นโครงสร้างที่นิยมสำหรับอาคารชั่วคราวหรือส่วนประกอบอาคารที่อาจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในอนาคตด้วย นอกจากนี้ด้วยเหตุที่เหล็กสามารถรับความยืดหยุ่นหรือแรงดึงได้ดีจึงเป็น โครงสร้างที่เหมาะสมสำหรับอาคารในเขตแผ่นดินไหว
ปัจจุบันเหล็กและโลหะอื่นมีการพัฒนาไปมาก วัตถุประสงค์ในการพัฒนาก็คงจะคล้ายคลึงกันพัฒนาการของโครงสร้างคอนกรีต กล่าวคือเป็นการแก้ข้อด้อยหรือปัญหาต่างๆ ในวัสดุ เพื่อใช้ในการก่อสร้างต่อไป


ชนิดของเหล็กในงานก่อสร้าง
ในอาคารเหล็กที่ใช้เป็นโครงสร้างอาจจะแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่

Carbon Steel
High-Strength Low-Alloy (HSLA) Steel
Heat-Treated Carbon and HSLA Steel
Heat-Treated Alloy Steel

โดยมาตราฐานของแต่ละประเภทแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ

วัสดุโครงสร้าง : คอนกรีต (concrete)

คอนกรีต (concrete)

คอนกรีตอาจจะเป็นวัสดุใช้ทำโครงสร้างที่นิยมที่สุดในไทย แม้ว่าปัจจุบันการใช้เหล็กจะมากขึ้นก็ตาม รูปแบบของโครงสร้างของอาคารมีความเปลี่ยนแปลงอย่างมากหลังจากวัสดุชนิดนี้เข้ามามีบทบาทแทนไม้ ในอาคารทั่วไป คอนกรีตทำให้เกิดรูปร่างได้มากมายจนทำให้สถาปนิกในยุคหนึ่งคิดว่า วัสดุแห่งโครงสร้างเป็นตัวบ่งชี้ถึงความไม่จำกัดในรูปทรงอาคาร สถาปัตยกรรมสามารถออกแบบให้เป็นอย่างไรก็ได้ ตราบใดที่หาวิธีการขึ้นรูปหรือวางไม้แบบได้ คอนกรีตถูกพัฒนามาใช้กับโครงสร้างอย่างจริงจังเมื่อมีการเสริมเหล็กหรือวัสดุอื่น ทำให้คุณสมบัติในการรับแรงดึงดีขึ้น การคิดค้นกระบวนการก่อสร้างแบบสำเร็จรูปเป็นอีกความได้เปรียบหนึ่งของคอนกรีต สามารถที่จะหล่อสำเร็จจากโรงงานและนำมาติดตั้งในทีก่อสร้างได้

คุณลักษณะของโครงสร้างคอนกรีตสามารถอธิบายได้ดังนี้

คอนกรีตสามารถรับแรงอัดได้เป็นอย่างดี ในราคาต่อหน่วยที่ต่ำ ดังนั้นจึงเป็นวัสดุที่เหมาะสำหรับโครงสร้างที่รับแรงทางแนวตั้ง อย่างเช่น ผนังและเสา ยกเว้น Pre-stressed Concrete แล้ว คอนกรีตไม่เหมาะสำหรับช่วงพาดยาวๆ เท่าไม้และเหล็ก เพราะมีน้ำหนักของโครงสร้างเองมาก ทำให้สัดส่วนของการรับแรงดึงต่อน้ำหนักไม่ดี

ในอาคารทั่วไป คอนกรีตสามารถเป็นฉนวนกันเสียงที่ดี นอกจากนี้คอนกรีตเป็นวัสดุที่ทนไฟ ดังนั้นจึงเหมาะในการใช้เป็นผนังหรือพื้นกันไฟให้โครงสร้างอาคารในส่วนที่ต้องการ

ในคอนกรีตที่ไม่ได้เสริมเหล็ก จะมีความสามรถในการรับแรงดึงต่ำมาก ไม่สามารถทนทานต่อแรงเฉือนได้ รวมทั้งทำให้เกิดรอยร้าวได้ คุณสมบัติอีกข้อหนึ่งของคอนกรีตที่อาจจะมองข้ามคือ การหดตัว คอนกรีตจะมีการหดตัวสูง อันเนื่องมาจากการแห้งตัวของคอนกรีต ทำให้น้ำภายในระเหยออกไป อัตราการหดตัวนี้จะสูงมากในช่วงแรกและจะน้อยลงจนอยู่ตัวตามเวลา ในขณะที่อัตราการขยายตัวต่ำมาก

ในกระบวนการก่อสร้าง โครงสร้างคอนกรีตสิ้นเปลืองไปกับแบบหล่อเกือบจะ 50% การใช้แบบหล่อเดิมหรือใช้วัสดุที่มีราคาต่ำจะช่วยลดต้นทุนในการก่อสร้าง การที่โครงสร้างคอนกรีตจะมีอายุการใช้งานคงทนถาวร ในกระบวนการก่อสร้างควรจะอยู่ในสภาวะที่เหมาะสมด้วย เพื่อให้คอนกรีตมีการเซตตัวที่ดี อุณหภูมิควรอยู่ระหว่าง 20 – 40 องศาเซลเซียส ในขณะที่ความชื้นเป็นผลดีสำหรับการเซตตัว

การก่อสร้างคอนกรีตไม่ควรทำในภาวะอากาศที่หนาวจัดเพราะ น้ำที่แข็งตัวจะเป็นผลเสียต่อการยึดตัวของคอนกรีต กล่าวคือ อุณหภูมิอากาศไม่ควรต่ำกว่า 5 องศาเซลเซียส ในขณะเทคอนกรีต นอกจากนี้การหล่อคอนกรีตควรจะคำนึงถึงระยะเวลาในการเซตตัวด้วย หากเซตตัวเร็วเกินไปจะทำให้เกิดรอยร้าวได้

การถอดแบบเป็นขั้นตอนที่ยุ่งยากอย่างหนึ่งสำหรับโครงสร้างคอนกรีต คอนกรีตควรจะต้องทิ้งไว้จนกระทั่งเกิดการเซตตัวดีพอที่จะรับน้ำหนักได้จึงถอดแบบได้ แม้ว่าจะถอดแบบออกแล้วบางกรณีอาจจะยังต้องใช้ค้ำยัน ช่วยรับโครงสร้างไประยะหนึ่งก่อน จนกระทั่งคอนกรีตเซตตัวรับแรงได้เต็มที่จึงถอดค้ำยันออก ในกรณีที่ผู้รับเหมาใช้ไม้แบบสำหรับการหล่อ การถอดแบบจะต้องทำให้เร็วเพื่อจะทำให้สามารถเอาไม้ไปใช้ต่อได้และการเสียรูปของแบบน้อยที่สุด การจัดการเคลื่อนแบบหล่อจึงเป็นกระบวนการที่ยุ่งยากพอสมควร

โดยทั่วไปภายใต้อุณหภูมิอากาศประมาณ 16 องศาเซลเซียส แบบหล่อสามารถถอดออกได้

ตามระยะเวลาดังนี้



โครงสร้างทางตั้ง เสา ผนังและคานขนาดใหญ่ 9 ชั่วโมง

พื้น (ทิ้งค้ำยันไว้) 4 วัน

คาน (ทิ้งค้ำยันไว้) 8 วัน

ค้ำยันพื้น 11 วัน

ค้ำยันคาน 15 วัน

คุณภาพของโครงสร้างคอนกรีตส่วนหนึ่งอยู่ความรู้ในการก่อสร้าง ฝีมือช่าง และการจัดการของผู้รับเหมา

โดยพื้นฐานแล้วคอนกรีตเป็นวัสดุที่ทนทาน แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่ต้องการบำรุงรักษาเลยทีเดียว ปกติคอนกรีตเป็นวัสดุห่อหุ้มเหล็กภายในของโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก เพื่อป้องกันเหล็กขึ้นสนิม เหล็กควรจะฝังอยู่ลึกอย่างน้อย 1 นิ้วขึ้นไป การทาสีอาจจะช่วยป้องกันการซึมผ่านของน้ำ ทำให้คอนกรีตภายในมีความแห้ง สามารถยืดอายุของโครงสร้างได้ สิ่งที่อันตรายที่สุดคือ รอยร้าวเพราะจะทำให้เกิดการรั่วซึม รวมทั้งทำให้เหล็กภายในเป็นสนิมได้ รอยร้าวสามารถเกิดได้จากอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดการหดและขยายตัว และดังที่กล่าวมาข้างต้นว่า คอนกรีตมีความสามารถในการรับแรงดึงน้อยมาก ทำให้เกิดรอยร้าวจากการหดขยายตัวได้ง่ายกว่าวัสดุอื่น ในการก่อสร้างจึงควรจะคำนึงถึงประเด็น

นี้ไว้ด้วย

การเชื่อมต่อระหว่างคอนกรีตที่แห้งแล้วกับคอนกรีตใหม่เป็นไปได้ยากมาก จะต้องทำให้ความขรุขระบนพื้นผิวคอนกรีตแห้งก่อนเพื่อให้มีที่ยึดเกาะสำหรับคอนกรีตใหม่มากขึ้น แต่หากเป็นไปได้ ควรจะหลีกเลี่ยงเพราะจะเกิดการกะเทาะได้โดยง่าย ในปัจจุบันมีซีเมนต์ชนิดพิเศษหลายประเภทที่สามารถนำมาใช้ในการซ่อมแซมเชื่อมติดกับคอนกรีตเดิมได้ ซึ่งอาจจะผสม Polymer Resin เทียมหรืออื่นๆ

ปัจจุบันคอนกรีตมีการพัฒนาไปมากมาย มีน้ำหนักน้อยลง มีการรับแรงดึงได้ดีขึ้น และได้รับความนิยมมากขึ้น ทั่วทุกภูมิภาคของโลก หลังจากพิสูจน์แล้ว่าการก่อสร้างด้วยคอนกรีตไม่ใช่กระบวนที่ช้าอย่างเดิม

วัสดุโครงสร้าง : ไม้ (wood)

ไม้ (wood)

ไม้ เป็นวัสดุแข็งที่ทำจากแก่นลำต้นของต้นไม้ ส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้น โดยแบ่งเป็นไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้สัก ไม้เต็ง ไม้แดง และไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้ยางพารา โดยนิยามแล้วไม้ จะหมายถึงเนื้อเยื่อไซเล็มชั้นที่สอง (Xylem) ของต้นไม้ แต่ในความเข้าใจไม้ อาจหมายรวมไปถึงวัสดุใดๆ ที่มีส่วนประกอบทำมาจากไม้ด้วย

โครงสร้างของเนื้อไม้
ถ้าตัดไม้พวกไม้สักหรือไม้สนมาท่อนหนึ่งมองดูหน้าตัด จะเห็นโครงสร้างดังนี้


เปลือก คือส่วนที่เห็นอยู่รอบๆนอกซึ่งสามารถแกะให้หลุดล่อนออกไปได้โดยง่าย เปลือกส่วนนอกประกอบด้วยเซลล์ที่ตายแล้ว แต่ตอนใน ๆ ยังมีชีวิต ทำหน้าที่สำคัญ คือ ลำเลียงอาหารที่ปรุงแล้วจากใบลงมาหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของลำต้น

ไม้ คือส่วนที่ถัดจากเปลือกเข้าไป โดยทั่ว ๆ ไป เนื้อไม้ตอนนอก ๆ จะมีสีจางกว่าตอนใน ๆ และมีไม้หลายชนิดที่ความเข้มจางเช่ นว่านี้แบ่งกันชัดเจน นั่นคือ
ส่วนที่มีสีจางตอนนอกเรียกว่า กระพี้
ส่วนที่มีสีเข้มตอนในเรียกว่า แก่น
เนื้อไม้มีหน้าที่ในการส่งน้ำและแร่ธาตุ จากพื้นดินขึ้นไปสู่ใบ กักตุนอาหารหรือสารประกอบอื่น ๆ และทำความแข็งแรง ให้กับลำต้น เมื่อไม้ยังเป็นต้นเล็ก ๆ จะยังไม่มีแก่น เนื้อไม้ทั้งหมดต่างก็ช่วยกันทำหน้าที่ลำเลียงน้ำ แต่ส่วนที่เ ป็นแก่นแล้ว ท่อน้ำถูกอุดตันใช้งานไม่ได้อีกต่อไป ถ้าหากไม้ส่วนที่เป็นกระพี้ถูกตัดขาดโดยรอบลำต้น ซึ่งเรียกว่า กาน ไม้ต้นนั้นจะตายสารที่แทรกอยู่ในไม้ส่วนที่ เป็นกระพี้ ได้แก่ สารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพืช คือ แป้ง น้ำตาล และโปรตีน ทำให้ไม้ส่วนนี้ขึ้นราได้ง่ายและมอดชอบ กิน ส่วนแก่นนั้น กลับมีสารซึ่งให้โทษแก่ตัวการที่จะทำอันตรายต่าง ๆ จึงทำให้มีความทนทานมากกว่ากระพี้ สำหรับไม้ที่แ ก่น กับกระพี้แบ่งกันไม่ชัด อาจถือได้ว่าเป็นไม้ไม่มีแก่น และมักจัดเข้าไว้เป็นไม้ ที่เรียกว่าไม้เนื้ออ่อน

ใจ คือจุดหยุ่นๆ จุดหนึ่งที่อยู่ใกล้ ๆ ใจกลางของหน้าตัด ใจนี้เกิดขึ้นมาแต่แรกเริ่มที่ไม้งอกงาม เพิ่มพูนขนาดออกไปทางคว ามยาว หรือความสูงของลำต้น
แนวแม่เซลล์ คือแนวเซลล์แนวหนึ่งที่อยู่โดยรอบต้นระหว่างเปลือกและไม้ เป็นเซลล์แม่ที่ทำหน้าที่แบ่งตัวออกเป็นไม้บ้าง เปลือกบ้าง การ เจริยทางขวางหรือทางส่วนโตของลำต้น ล้วนแต่เกิดจากจากแบ่งตัวของแม่เซลล์ที่กล่าวนี้ การที่มีแนวแม่เซลล์ในล ักษณะดังกล่าว ทำให้ไม้ใ บแคบหรือใบกว้างแตกต่างกับไม้ พวกผักกูด หมาก หรือมะพร้าวอย่างชัดแจ้ง เพราะไม้พวกหลังนี้ไม่มีแม่เซลล์รอบ ๆ ลำต้น มีแต่ ตอนยอดซึ่งไม่อาจทำให้มีการพอกพูนทางส่วนโตได้


การที่ไม้ส่วนใหญ่ เกิดจากการแบ่งตัวของแม่เซลล์รอบ ๆ ลำต้นนี่เอง จึงทำให้หน้าตัดของซุงมีลักษณะเห็นได้เป็นวง ๆ ล้อมรอบใจ ทั้งนี้จากความแตกต่างของเนี้อไม้ที่เกิดในตอนต้นกับที่เกิดในตอนปลายฤดู วงดังกล่าว เรียกว่า วงเจริญ หรือ วงปี เพราะตามปกติไม้จะเกิดขึ้นปีละ ๑ วงเท่านั้น

แหล่งที่มาตามประเภทของป่าไม้ในประเทศไทย

ป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์อื่นๆ เพราะป่าไม้มีประโยชน์ทั้งการเป็นแหล่งวัตถุดิบของปัจจัยสี่ คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรคสำหรับมนุษย์ และยังมีประโยชน์ในการรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อม ถ้าป่าไม้ถูกทำลายลงไปมาก ๆ ย่อมส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น สัตว์ป่า ดิน น้ำ อากาศ ฯลฯ เมื่อป่าไม้ถูกทำลาย จะส่งผลไปถึงดินและแหล่งน้ำด้วย เพราะเมื่อเผาหรือถางป่าไปแล้ว พื้นดินจะโล่งขาดพืชปกคลุม เมื่อฝนตกลงมาก็จะชะล้างหน้าดินและความอุดมสมบูรณ์ของดินไป นอก จากนั้นเมื่อขาดต้นไม้คอยดูดซับน้ำไว้น้ำก็จะไหลบ่าท่วมบ้านเรือน และที่ลุ่มในฤดูน้ำหลากพอถึงฤดูแล้งก็ไม่มีน้ำซึมใต้ดินไว้หล่อเลี้ยงต้นน้ำ ลำธารทำให้แม่น้ำมีน้ำน้อย ส่งผลกระทบต่อมาถึงระบบเศรษฐกิจและสังคม เช่น การขาดแคลนน้ำในการการชลประทานทำให้ทำนาไม่ได้ผลขาดน้ำมาผลิตกระแสไฟฟ้า

ประเภทของป่าไม้จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการกระจายของฝน ระยะเวลาที่ฝนตกรวมทั้งปริมาณน้ำฝนทำให้ป่าแต่ละแห่งมีความชุ่มชื้นต่างกัน สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

ป่าประเภทที่ไม่ผลัดใบ (Evergreen)

ป่าประเภทนี้มองดูเขียวชอุ่มตลอดปี เนื่องจากต้นไม้แทบทั้งหมดที่ขึ้นอยู่เป็นประเภทที่ไม่ผลัดใบ ป่าชนิดสำคัญซึ่งจัดอยู่ในประเภท นี้ ได้แก่
1. ป่าดงดิบ (Tropical Evergreen Forest or Rain Forest)
ป่าดงดิบที่มีอยู่ทั่วในทุกภาคของประเทศ แต่ที่มีมากที่สุด ได้แก่ ภาคใต้และภาคตะวันออก ในบริเวณนี้มีฝนตกมากและมีความชื้นมากในท้องที่ภาคอื่น ป่าดงดิบมักกระจายอยู่บริเวณที่มีความชุ่มชื้นมาก ๆ เช่น ตามหุบเขาริมแม่น้ำลำธาร ห้วย แหล่งน้ำ และบนภูเขา ซึ่งสามารถแยกออกเป็นป่าดงดิบชนิดต่าง ๆ ดังนี้
1.1 ป่าดิบชื้น (Moist Evergreen Forest) เป็นป่ารกทึบมองดูเขียวชอุ่มตลอดปีมีพันธุ์ไม้หลายร้อยชนิดขึ้นเบียดเสียดกันอยู่มักจะพบกระจัดกระจายตั้งแต่ความสูง 600 เมตร จากระดับน้ำทะเล ไม้ที่สำคัญก็คือ ไม้ตระกูลยางต่าง ๆ เช่น ยางนา ยางเสียน ส่วนไม้ชั้นรอง คือ พวกไม้กอ เช่น กอน้ำ กอเดือย
1.2 ป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest) เป็นป่าที่อยู่ในพื้นที่ค่อนข้างราบมีความชุ่มชื้นน้อย เช่น ในแถบภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมักอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 300-600 เมตร ไม้ที่สำคัญได้แก่ มะคาโมง ยางนา พยอม ตะเคียนแดง กระเบากลัก และตาเสือ
1.3 ป่าดิบเขา (Hill Evergreen Forest) ป่าชนิดนี้เกิดขึ้นในพื้นที่สูง ๆ หรือบนภูเขาตั้งแต่ 1,000-1,200 เมตร ขึ้นไปจากระดับน้ำทะเล ไม้ส่วนมากเป็นพวก Gymonosperm ได้แก่ พวกไม้ขุนและสนสามพันปี นอกจากนี้ยังมีไม้ตระกูลกอขึ้นอยู่ พวกไม้ชั้นที่สองรองลงมา ได้แก่ เป้ง สะเดาช้าง และขมิ้นต้น
2. ป่าสนเขา (Pine Forest)
ป่าสนเขามักปรากฎอยู่ตามภูเขาสูงส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ซึ่งมีความสูงประมาณ 200-1800 เมตร ขึ้นไปจากระดับน้ำทะเลในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บางทีอาจปรากฎในพื้นที่สูง 200-300 เมตร จากระดับน้ำทะเลในภาคตะวันออกเฉียงใต้ ป่าสนเขามีลักษณะเป็นป่าโปร่ง ชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญของป่าชนิดนี้คือ สนสองใบ และสนสามใบ ส่วนไม้ชนิดอื่นที่ขึ้นอยู่ด้วยได้แก่พันธุ์ไม้ป่าดิบเขา เช่น กอชนิดต่าง ๆ หรือพันธุ์ไม้ป่าแดงบางชนิด คือ เต็ง รัง เหียง พลวง เป็นต้น
3. ป่าชายเลน (Mangrove Forest)
บางทีเรียกว่า "ป่าเลนน้ำเค็ม”หรือป่าเลน มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่นแต่ละชนิดมีรากค้ำยันและรากหายใจ ป่าชนิดนี้ปรากฎอยู่ตามที่ดินเลนริมทะเลหรือบริเวณปากน้ำแม่น้ำใหญ่ ๆ ซึ่งมีน้ำเค็มท่วมถึงในพื้นที่ภาคใต้มีอยู่ตามชายฝั่งทะเลทั้งสองด้าน ตามชายทะเลภาคตะวันออกมีอยู่ทุกจังหวัดแต่ที่มากที่สุดคือ บริเวณปากน้ำเวฬุ อำเภอลุง จังหวัดจันทบุรี พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ตามป่าชายเลน ส่วนมากเป็นพันธุ์ไม้ขนาดเล็กใช้ประโยชน์สำหรับการเผาถ่านและทำฟืนไม้ชนิดที่สำคัญ คือ โกงกาง ประสัก ถั่วขาว ถั่วขำ โปรง ตะบูน แสมทะเล ลำพูนและลำแพน ฯลฯ ส่วนไม้พื้นล่างมักเป็นพวก ปรงทะเลเหงือกปลายหมอ ปอทะเล และเป้ง เป็นต้น
4. ป่าพรุหรือป่าบึงน้ำจืด (Swamp Forest)
ป่าชนิดนี้มักปรากฎในบริเวณที่มีน้ำจืดท่วมมาก ๆ ดินระบายน้ำไม่ดีป่าพรุในภาคกลาง มีลักษณะโปร่งและมีต้นไม้ขึ้นอยู่ห่าง ๆ เช่น ครอเทียน สนุ่น จิก โมกบ้าน หวายน้ำ หวายโปร่ง ระกำ อ้อ และแขม ในภาคใต้ป่าพรุมีขึ้นอยู่ตามบริเวณที่มีน้ำขังตลอดปีดินป่าพรุที่มีเนื้อที่มากที่สุดอยู่ในบริเวณจังหวัดนราธิวาสดินเป็นพีท ซึ่งเป็นซากพืชผุสลายทับถมกัน เป็นเวลานานป่าพรุแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ ตามบริเวณซึ่งเป็นพรุน้ำกร่อยใกล้ชายทะเลต้นเสม็ดจะขึ้นอยู่หนาแน่นพื้นที่ มีต้นกกชนิดต่าง ๆ เรียก "ป่าพรุเสม็ด หรือ ป่าเสม็ด" อีกลักษณะเป็นป่าที่มีพันธุ์ไม้ต่าง ๆ มากชนิดขึ้นปะปนกันชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญของป่าพรุ ได้แก่ อินทนิล น้ำหว้า จิก โสกน้ำ กระทุ่มน้ำภันเกรา โงงงันกะทั่งหัน ไม้พื้นล่างประกอบด้วย หวาย ตะค้าทอง หมากแดง และหมากชนิดอื่น ๆ
5. ป่าชายหาด (Beach Forest)
เป็นป่าโปร่งไม่ผลัดใบขึ้นอยู่ตามบริเวณหาดชายทะเล น้ำไม่ท่วมตามฝั่งดินและชายเขาริมทะเล ต้นไม้สำคัญที่ขึ้นอยู่ตามหาดชายทะเล ต้องเป็นพืชทนเค็ม และมักมีลักษณะไม้เป็นพุ่มลักษณะต้นคดงอ ใบหนาแข็ง ได้แก่ สนทะเล หูกวาง โพธิ์ทะเล กระทิง ตีนเป็ดทะเล หยีน้ำ มักมีต้นเตยและหญ้าต่าง ๆ ขึ้นอยู่เป็นไม้พื้นล่าง ตามฝั่งดินและชายเขา มักพบไม้เกตลำบิด มะคาแต้ กระบองเพชร เสมา และไม้หนามชนิดต่าง ๆ เช่น ซิงซี่ หนามหัน กำจาย มะดันขอ เป็นต้น
ป่าประเภทที่ผลัดใบ (Declduous)
ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ในป่าประเภทนี้เป็นจำพวกผลัดใบแทบทั้งสิ้น ในฤดูฝนป่าประเภทนี้จะมองดูเขียวชอุ่มพอถึงฤดูแล้งต้นไม้ ส่วนใหญ่จะพากันผลัดใบทำให้ป่ามองดูโปร่งขึ้น และมักจะเกิดไฟป่าเผาไหม้ใบไม้และต้นไม้เล็ก ๆ ป่าชนิดสำคัญซึ่งอยู่ในประเภทนี้ ได้แก่
1. ป่าเบญจพรรณ (Mixed Declduous Forest)
ป่าผลัดใบผสม หรือป่าเบญจพรรณมีลักษณะเป็นป่าโปร่งและยังมีไม้ไผ่ชนิดต่าง ๆ ขึ้นอยู่กระจัดกระจายทั่วไปพื้นที่ดินมักเป็นดินร่วนปนทราย ป่าเบญจพรรณ ในภาคเหนือมักจะมีไม้สักขึ้นปะปนอยู่ทั่วไปครอบคลุมลงมาถึงจังหวัดกาญจนบุรี ในภาคกลางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก มีป่าเบญจพรรณน้อยมากและกระจัดกระจาย พันธุ์ไม้ชนิดสำคัญได้แก่ สัก ประดู่แดง มะค่าโมง ตะแบก เสลา อ้อยช้าง ส้าน ยม หอม ยมหิน มะเกลือ สมพง เก็ดดำ เก็ดแดง ฯลฯ นอกจากนี้มีไม้ไผ่ที่สำคัญ เช่น ไผ่ป่า ไผ่บง ไผ่ซาง ไผ่รวก ไผ่ไร เป็นต้น

2. ป่าเต็งรัง (Declduous Dipterocarp Forest)
หรือที่เรียกกันว่าป่าแดง ป่าแพะ ป่าโคก ลักษณะทั่วไปเป็นป่าโปร่ง ตามพื้นป่ามักจะมีโจด ต้นแปรง และหญ้าเพ็ก พื้นที่แห้งแล้งดินร่วนปนทราย หรือกรวด ลูกรัง พบอยู่ทั่วไปในที่ราบและที่ภูเขา ในภาคเหนือส่วนมากขึ้นอยู่บนเขาที่มีดินตื้นและแห้งแล้งมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีป่าแดงหรือป่าเต็งรังนี้มากที่สุด ตามเนินเขาหรือที่ราบดินทรายชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญในป่าแดง หรือป่าเต็งรัง ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง กราด พะยอม ติ้ว แต้ว มะค่าแต ประดู่ แดง สมอไทย ตะแบก เลือดแสลงใจ รกฟ้า ฯลฯ ส่วนไม้พื้นล่างที่พบมาก ได้แก่ มะพร้าวเต่า ปุ่มแป้ง หญ้าเพ็ก โจด ปรงและหญ้าชนิดอื่น ๆ

3. ป่าหญ้า (Savannas Forest)
ป่าหญ้าที่อยู่ทุกภาคบริเวณป่าที่ถูกแผ้วถางทำลายบริเวณพื้นดินที่ขาดความสมบูรณ์และถูกทอดทิ้ง หญ้าชนิดต่าง ๆ จึงเกิดขึ้นทดแทนและพอถึงหน้าแล้งก็เกิดไฟไหม้ทำให้ต้นไม้บริเวณข้างเคียงล้มตาย พื้นที่ป่าหญ้าจึงขยายมากขึ้นทุกปี พืชที่พบมากที่สุดในป่าหญ้าก็คือ หญ้าคา หญ้าขนตาช้าง หญ้าโขมง หญ้าเพ็กและปุ่มแป้ง บริเวณที่พอจะมีความชื้นอยู่บ้าง และการระบายน้าได้ดีก็มักจะพบพงและแขมขึ้นอยู่ และอาจพบต้นไม้ทนไฟขึ้นอยู่ เช่น ตับเต่า รกฟ้าตานเหลือ ติ้วและแต้ว
ประโยชน์ของไม้
ในแง่ของการใช้ประโยชน์ ไม้ให้ประโยชน์มากในแง่ของการใช้ประโยชน์ ไม้ให้ประโยชน์มากมายหลายอย่าง แต่ก่อนที่จะนำ ไปใช้ประโยชน์ได้จริง ๆ มักจะต้องผ่านกรรมวิธีในการแปรรูปเสียก่อน ดังนั้น จึงทำให้เกิดอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการแปรรูปไม้ได้มากมาย ก่อเกิดประโยชน์ในการใช้เป็นอเนกประการ
ซุง หรือไม้ท่อนที่มีขนาดใหญ่ อาจนำไปแปรรูปโดยการเฉลี่ย ให้เป็นไม้แผ่นมีขนาดต่าง ๆ ตามความประสงค์ในการก่อสร้างอาคาร บ้านเรือน เครื่องเรือนและเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ หรืออาจปอกหรือผ่านให้เป็นไม้แผ่วบาง ๆ เพื่อนำไปทำเป็นไม้อัด ไม้ประสาน ประตูพื้นเรียบ หรืองานอื่น ๆ ได้

ขี้เลื่อยนั้น แต่ก่อนมาเชื่อกันว่า นอกจากจะใช้เป็นเชื้อเพลิงแล้ว ก็แทบหาประโยชน์อะไรมิได้ บัดนี้ปรากฏว่า ได้มีกา รนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษกันมากในประเทศในยุโรป อนึ่ง ในแง่ที่จะใช้เป็นเชื้อเพลิง อาจปรับปรุงให้มีคุณภาพดีขึ้ น โดยการ อัดให้เป็นแท่ง หรือเผาเป็นถ่านก่อน แล้วจึงอัดให้เป็นแท่งก็ได้
ประเภทของไม้
ไม้แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท โดยถือเอาค่าความแข็งแรงในการดัดของไม้แห้ง และความทนทานตามธรรมชาติของไม้ชนิดนั้น ๆ เป็นเกณฑ์ได้แก่
1. ไม้เนื้อแข็ง มีความแข็งแรงสูงกว่า 1000 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร มีความทนทานสูงกว่า 6 ปี ได้แก่ ไม้เคี่ยม ไม้แอ๊ก ไม้หลุมพอ ไม้เสลา ไม้สักขี้ควาย ไม้เลียงมัน ไม้รัง ไม้ยมหิน ไม้มะค่าโมง ไม้มะเกลือเลือด ไม้ประดู่ ไม้เต็ง ไม้ตะบูนดำ ไม้ตะคร้อหนาม ไม้ตะคร้อไข่ ไม้แดง ไม้กันเกรา
2. ไม้เนื้อแข็งปานกลาง มีความแข็งแรง 600 ถึง 1000 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร มีความทนทาน 6 ปี ได้แก่ ไม้เหียง ไม้รกฟ้า ไม้ยูง ไม้มะค่าแต้ ไม้พลวง ไม้นนทรี ไม้ตาเสือ ไม้ตะแบก ไม้ตะเคึยนหนู ไม้ตะเคียนทอง ไม้กว้าว
3. ไม้เนื้ออ่อน มีความแข็งแรงต่ำกว่า 600 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร มีความทนทานต่ำกว่า 2 ปี ได้แก่ ไม้อินทนิล ไม้สัก ไม้ยางแดง ไม้พะยอม ไม้พญาไม้ ไม้ทำมัง ไม้ตะบูนขาว ไม้กะบาก ไม้กระเจา ไม้กวาด
คุณสมบัติทั่วไปของไม้ (Wood Properties)
โดยที่ไม้เกิดจากต้นไม้หลายชนิด คุณสมบัติในด้านต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้ประโยชน์ จึงมีความแตกต่างกันไป ไม้แต่ละชนิดย ่อมเหมาะสมกับงานแต่ละอย่างมากน้อยไม่เหมือนกัน ในงานก่อสร้าง เรามักคำนึงถึงความแข็งแรงและความทนทาน ในประดิษฐกร รม เครื่องเรือ น หรือส่วนประกอบเครื่องจักรกล ซึ่งต้องการความสวยงามและแนบเนียนในการเข้าไม้ เราอาจคำนึงถึงลวดลายในไม้ การหดหรือกา รพองตัว ความยากง่ายในการไสกบตกแต่ง ตลอดจนการลงน้ำมันในการทำลังใส่ของ เราอาจคำนึงถึงความหนักเบาและความ ยากง่ายในการตีตะปู ในการทำ เยื่อกระดาษเราสนใจถึงปริมาณส่วนประกอบทางเคมีของไม้ และลักษณะของเส้นใย รวมทั้งความยากง่ายในการฟอกสี
1.ความชื้น หมายถึง น้ำที่มีอยู่ในไม้ มีความสัมพันธ์ต่อคุณสมบัติของไม้ในด้านต่าง ๆ อย่างสำคัญยิ่ง ปริมาณความชื้นในไม้ นิยม แสดงเป็นค่าส่วนร้อยของน้ำหนักของเนื้อไม้แท้ ๆ

2.น้ำหนัก เป็นคุณสมบัติที่รู้จักกันแพร่หลายและทดสอบหาค่าได้ง่ายกว่าคุณสมบัติอย่างอื่น การกล่าวถึงน้ำหนักของสาร โดยทั่ว ๆ ไป เราใช้วิธีเทียบเป็นทศนิยมของน้ำหนักน้ำที่มีปริมาตรเท่ากัน ซึ่งเรียกกันว่า ความถ่วงจำเพาะ (ถพ.) เนื้อไม้แท้ ๆ จะมีค่าความถ่วงจำเพาะโดยเฉลี่ยประมาณ ๑๐๕๔ หรือหนักกว่าน้ำประมาณหนึ่งเท่าครึ่ง การที่ไม้ลอยน้ำได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม้แห้ ง เพราะว่าเนื้อไม้มีช่องว่างอยู่ทั่ว ๆ ไป
ไม้จะหนักหรือเบาเพียงไร มันขึ้นอยู่กับความหนาบางของผนีงเซลล์ค้ำจุนเป็นสำคัญ ไม้มีผนังเซลล์ค้ำจุนหนาก็จะหนัก ถ้ าบางก็จะเบา ความชื้นในไม้มีบทบาทเกี่ยวกับน้ำหนักอยู่มาก กล่าวคือ ถ้ามีความชื้นสูงก็มีน้ำหนักมาก ถ้ามีความ ชื้นน้อยก็มีน้ำหนักเบา ลงตามส่วน

3. การหดและการพองตัว เกิดขึ้นเมื่อไม้เสียความชื้น หรือได้รับความชื้นเพิ่มตามลำดับ ในระดับที่มีความชื้นต่ำกว่า จุดหมาด ไม้ที่ไสกบตกแต่งประกอบเข้าชิดสนิทกัน ดูงามดีในขณะที่ไม้ยังสด ภายหลังเมื่อไม้แห้งลงจะเกิดร่องหรือ ความหละหลวมที่รอยต่อนั้ น ๆ เนื่องมาจากการหดตัวของไม้ โดยนัยกลับกัน หากนำไม้แห้งอัดชิด แล้วปล่อยให้ถูกน้ำหนือความชื้นสูงส่วนประกอบนั้นอาจ ดันกันจนโก่งงอขึ้นมาได้ เพื่อกันการเสียหายอันเกิดจากการหดการพองตัวนี้ จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องเลือก ใช้ไม้ที่มีความชื้นให้เหมาะส มถูกต้องกับกาลเทศะ

4. ความแข็งแรง หมายถึง ความสามารถของไม้ที่จะรับน้ำหนักหรือแรงภายนอก เช่น แรงน้ำ แรงลม น้ำหนักของสิ่งของหรือแรงที่ มนุษย์ทำขึ้น เพื่อใช้ในงานทดสอบโดยเฉพาะ เป็นคุณสมบัติสำคัญที่จะต้องพิจารณาเมื่อนำไม้มาใช้ก่อสร้างบ้านเรือน หรืองานอื่ น ๆ ในลักษณะเดียวกัน
แรงที่เข้ามากระทำต่อไม้ที่ใช้ในการก่อสร้างนั้น แยกได้เป็น ๓ ประเภท คือ
แรงดึง ซึ่งมีผลทำให้ไม้แยกออกจากกัน เช่น ตัวไม้ที่ใช้ตียึดโยงต่าง ๆ
แรงบีบ มีผลให้ไม้บีบตัวเข้าหากัน เช่นไม้ที่ใช้เป็นสาตอม่อ หรือไม้ค้ำยัน
แรงเชือด ทำให้ไม้ส่วนหนึ่งไถลเลื่อนเคลื่อนคลาดออกไปจากส่วนข้างเคียง
บางกรณี เช่น ไม้ที่ใช้งานในลักษณะคาน ตง ได้รับแรงทั้ง ๓ ประเภท เข้ากระทำพร้อม ๆ กัน กล่าวคือ รับแรงบีบทางด้านบน หรือด้านโค้ งเข้า แรงดึงทางด้านล่าง หรือด้านโค้งออก และแรงเชือดตามแนวยาวของคาน

5. ความทนทาน หมายถึง ความสามารถในการต่อต้านหรือต้านทานต่อตัวการทำลายไม้ต่าง ๆ ที่สำคัญ คือ รา ซึ่งเป็นพืชชั้นต่ำ ทำ ให้ไม้ผุ หรือ เสียสี มอดและปลวก เป็นแมลงซึ่งอาศัยกินสารในไม้หรือเนื้อไม้เป็นอาหาร
สาเหตุที่ทำให้ไม้มีความทนทานแตกต่างกันนั้นวิเคราะห์กันว่า เนื่องมาจากเหตุ ๒ ประการ คือความแน่น และสารแทรกในเนื้อไม้ ไ ม้ที่มีความแน่นสูง หรือมีช่องรูอุดตัน ยอมให้น้ำและอากาศถ่ายเทได้ยาก จะมีความทนทานสูงกว่าไม้ที่เบาหรือที่ โครงสร้างโปร่ง แต่ที่สำคัญที่สุด คือ ชนิดและปริมาณสารแทรกที่มีในเนื้อไม้ เห็นได้ชัดจากสารแทรกที่มีในส่วนกระพี้ และแก่นไม้ดังก ล่าวมาแล้วแต่ต้น
ไม้โดยสภาพแล้ว ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ในการก่อสร้างโดยตรง เนื่อง จากอาจจะมีการแตกหักในโครงสร้าง จึงต้องนำไปแปรรูปเป็นอย่างอื่นก่อน เช่น ไม้อัด,chipboard, engineered wood, hardboard, medium-density fibreboard (MDF) , oriented strand board (OSB) เป็นต้น ไม้ดังกล่าวนี้ใช้ประโยชน์กันในวงกว้าง อีกทั้งเยื่อไม้ยังเป็นส่วนประกอบสำคัญใการผลิตกระดาษอีกด้วย เซลลูโลส (cellulose) ที่อยู่ในไม้ยังใช้การทำวัสดุสังเคราะห์ ซึ่งไม้ยังใช้ประโยชน์ในการทำอุปกรณ์อื่นนอกเหนือจากการก่อสร้าง เช่น ใช้ทำตะเกียบ เครื่องดนตรี เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ

การเลือกใช้ไม้ชนิดต่างๆให้เหมาะกับประโยชน์การงาน

การเลือกใช้ไม้ตามชนิดของไม้
1. ไม้เนื้ออ่อน ได้แก่ ไม้ที่มีเนื้อค่อนข้างเหนียว ทำการเลื่อย ไสกบ ตกแต่งได้ง่าย ลักษณะเนื้อมีสีซีดจาง น้ำหนักเบา ขาดความแข็งแรงทนทาน รับน้ำหนักได้ไม่ดี เช่น ไม้ฉำฉา ไม้กะบาก ไม้ยาง ฯลฯ

2. ไม้เนื้อแข็ง ได้แก่ ไม้ที่มีเนื้อแข็งปานกลาง ทำการเลื่อย ไสกบ ตกแต่งได้ยาก ลักษณะเนื้อไม้มีสีเข้มค่อน ไปทางสีแดง มีความแข็งแรงทนทาน เช่น ไม้ตะเคียน ไม้ชิงชัน ไม้เต็ง ไม้มะม่วง ฯลฯ

3. ไม้เนื้อแกร่ง ได้แก่ ไม้ที่มีเนื้อแกร่ง ทำการเลื่อย ไสกบ ตกแต่งได้ยากมาก ลักษณะเนื้อไม้เป็นมันในตัว แน่น ลายละเอียด น้ำหนักมาก มีสีเข้มจัดจนถึงสีดำ มีความแข็งแรงทนทานดีมาก เช่น ไม้ประดู่ ไม้แดง ไม้เกลือ ฯลฯ
การเลือกใช้ไม้ตามที่จะนำมาใช้งาน
การเลือกไม้ที่จะนำมาใช้งานต้องพิจารณาใน 2 ประเด็นคือ
1. การเลือกมาใช้ในงานรับน้ำหนักโดยตรง ได้แก่ ไม้ที่ใช้ในการก่อสร้างที่ไม่ต้องการความประณีตมากนัก เช่น การก่อสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ไม้จำพวกนี้ต้องทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับน้ำหนักและต้านทานแรงต่าง ๆ มากกว่าความสวยงาม ความแข็งแรง จึงเป็นข้อแรกที่จะต้องคัดเอาไม้ที่แข็งแรงเท่าที่จะสามารถทำได้ คือ ต้องเป็นไม้ที่เนื้อแน่น แข็งแกร่ง เหนี่ยว ไม่เปราะง่าย ควรเลือกไม้แก่นหรือไม้ที่มีอายุเหมาะแก่การตัด ไม่มีรอยชำรุดเสียหาย เช่น เป็นตา ผุ แตกร้าว ปิดงอ คด โค้ง และเป็นไม้ที่ผ่านการผึ่งมาได้ที่พอเหมาะแก่งานประเภทนี้

2. การ เลือกไม้มาใช้ในงานประณีต ไม้ที่เลือกมาใช้งานประเภทนี้ เป็นไม้ที่ไม่ต้องรับน้ำหนักหรือต้านแรงมากเหมือนไม้ที่ใช้งานประเภทแรก แต่งานประเภทนี้จะนำไม้ไปประกอบเป็นรูปร่างต่างๆ เช่น บาน ประตู หน้าต่าง เครื่องเรือน ตู้ โต๊ะ เก้าอี้ หรือครุภัณฑ์ต่างๆ ที่จะทำอย่างประณีตเรียบร้อยและต้องการความสวยงามมากกว่าความแข็งแรง เป็นงานที่ทำได้ยากและต้องใช้ฝีมือ
สาเหตุที่ทำให้ไม้ผุพัง
ความทนทานของไม้สามารถแบ่งออกตามสภาพแวดล้อมของสถานที่ได้ดังนี้
1. ไม้ในร่ม จากปลวก
2. ไม้กลางแจ้ง จากแดดและฝน
3. ไม้ในที่ชื้นแฉะ จากตัวอ่อนของแมลงพวกเพรียงน้ำจืด
4. ไม้ในน้ำกร่อยหรือน้ำเค็ม จากเพรียง หอยสองฝา กุ้ง ปู บางชนิด เข้าทำลายเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย
5. ไม้เป็นวัสดุที่ใช้สำหรับโครงสร้างอาคารมายาวนาน ในหลายๆ ประเทศไม้ถูกจัดให้เป็นวัสดุที่ควรอนุรักษ์และมีราคาแพงเกินไปสำหรับการก่อสร้าง ในขณะที่บางประเทศมีราคาถูก แท้ที่จริงแล้วหากมีการจัดการทรัพยากรไม้ที่ดี การใช้วัสดุประเภทนี้ถือได้ว่ามีส่วนช่วยในการอนุรักษ์ธรรมชาติ เพราะไม้เป็นวัสดุที่สามารถปลูกทดแทนได้ แต่หากไม่มีการจัดการที่ดีแล้ว การตัดไม้ทำงายป่าก็กลายเป็นปัญหาอันใหญ่ต่อสภาพแวดล้อมได้ ดังที่ปรากฏในประเทศที่กำลังพัฒนาหลายประเทศ
6.ในประเทศไทยพื้นฐานของโครงสร้างอาคารขนาดเล็กไปถึงขนาดกลางมาจากไม้ทั้งสิ้น สถาปนิกหรือช่างไทยมีความเฉพาะในการออกแบบโครงสร้างของตัวเอง รวมทั้งในงานสถาปัตยกรรมไทยยังมีชื่อเรียกองค์ประกอบแต่ละชิ้นอย่างแน่นอนตายตัว เหล่านี้เป็นการบังคับรูปแบบของโครงสร้างวิธีหนึ่ง โครงสร้างหลังคาของเรือนไทยจะต้องประกอบด้วยชิ้นส่วนที่เหมือนกัน และถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง ในการเรียนสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิม โครงสร้างไม้ก็ถูกกำหนดความแน่นอนขององค์ประกอบ การวางอยู่และพาดทับขององค์ประกอบต่างๆ โครงสร้างแบบประเพณีนิยมนี้ถูกถ่ายทอดต่อๆ กันไปอย่างต่อเนื่องและมีการพัฒนาที่น้อยมาก จนกระทั่งวัสดุอื่น เช่น เหล็กและคอนกรีต
7. เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในที่สุด
8. ในระดับสากลไม้กลับมามีความนิยมในการทำเป็นโครงสร้างถาวรของอาคารสมัยใหม่ในรูปแบบโครงสร้างใหม่ในหลายๆ ที่ รูปแบบโครงสร้างสำหรับอาคารมีหลากหลาย ภายใต้กรอบแห่งการรับแรงเดียวกันโครงสร้างไม้อาจจะถูกผสานด้วยแผ่นเหล็กสำหรับเชื่อมต่อภายในองค์ประกอบ หรือผสานกับโครงสร้างเคเบิล สำหรับช่วงพาดพิเศษ การใช้ในรูปแบบต่างๆ เหล่านี้ช่วยสร้างความน่าสนใจให้กับอาคาร โดยเฉพาะเมื่อไม้มีสัญลักษณ์แห่งธรรมชาติอยู่ในตัวที่ค่อนข้างชัดเจน ไม้มีความนุ่มนวลแห่งความรู้สึกมากกว่าคอนกรีตหรือเหล็ก โดยเฉพาะในประเทศที่มีพื้นฐานแห่งโครงสร้างไม้อย่างบ้านเรา แต่ปัญหาที่ยิ่งใหญ่ คือ ไม้เป็นทรัพยากรที่ต้องอนุรักษ์และไม่มีการจัดการทางธรรมชาติที่ดีพอ ทำให้ไม้ยังมี
9. ข้อจำกัดในการใช้สำหรับโครงสร้างอยู่พอสมควร
10. ไม้มีความสามารถรับแรงดึงได้ดีพอสมควร ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของไม้ในประเด็นนี้คือ โครงสร้างไม้มีเนื้อเยื่อประสาน ทำให้การพังทลายลงมาของโครงสร้างส่วนใหญ่ไม่เกิดโดยฉับพลัน มักจะมีอาการบอกเหตุก่อนเสมอ หากมีการตรวจเช็คสม่ำเสมอจะมีความปลอดภัยสูง แต่ปัญหาในการใช้ไม้ในระบบโครงสร้าง คือ ความยากในการประมาณค่าการรับแรงของแต่ละองค์ประกอบ เพราะไม้มีความแตกต่างกันสูงกว่าวัสดุอื่น ไม้แต่ละท่อน แต่ละชนิดสามารถรับแรงได้แตกต่างกัน วิศวกรจึงจะต้องประมาณค่าการรับแรงเผื่อไว้ค่อนข้างมาก ทั้งนี้ตาไม้หรือข้อปล้องก็มีผลอย่างสูงต่อการรับแรง การเลือกไม้ในการก่อสร้างจะควรจะต้องพิถีพิถันเป็นพิเศษ
11. อีกประการหนึ่ง ไม้ มีการหดหรือขยายตัวค่อนข้างมากเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงของความชื้นและอุณหภูมิในอากาศ ในการก่อสร้างสำหรับส่วนนี้มีความสำคัญมาก อาจจะทำให้เกิดการโก่งงอของส่วนประกอบโครงสร้างได้ จึงต้องเผื่อการขยายตัวให้เหมาะสม
12. ข้อดีในการก่อสร้างโครงสร้างไม้ คือ สามารถที่จะตัดและเชื่อมต่อได้โดยง่าย อย่างก็ตามควรคำนึงถึงลักษณะลายไม้ เพื่อไม่เกิดการแตกแยกของโครงสร้างในขณะตอกตะปูหรือภายหลังการใช้งาน การออกแบบการรับแรงของไม้ก็ต้องคำนึงของลายไม้เช่นกัน ไม้จะรับแรงในแนวตั้งฉากลายไม้ได้ดีที่สุด ในขณะที่การรับแรงตามแนวลายจะมีความยึดเหนี่ยวของเนื้อไม้ต่ำ
13. โครงสร้างไม้ที่มีการบำรุงรักษาที่ดีสามารถรองรับโครงสร้างอาคารได้อย่างถาวร อาจจะมีการเปลี่ยนเสริมบางชิ้นส่วนตามกาลเวลา แต่ปัญหาสำหรับโครงสร้างไม้โดยเฉพาะในเขตร้อนชื้นอย่างบ้านเราได้แก่ ปลวก จะต้องมีการวางแผนป้องกันปลวกตั้งแต่การเริ่มต้นการก่อสร้าง รวมไปทั้งการออกแบบไม่ควรให้โครงสร้างเชื่อมดินกับดิน อันจะทำให้ปลวกสามารถขึ้นสู่อาคารได้อย่างง่าย อาคารไม้จะต้องมีการสอดส่องหาปลวกหรือแมลงอื่นอยู่ตลอดเวลา
14.ไม้เป็นวัสดุที่ติดไฟง่ายที่สุดในบรรดาโครงสร้างทั้งหลาย การป้องกันเพลิงไหม้จึงเป็นประเด็นที่สำคัญสำหรับโครงสร้างไม้ ในปัจจุบันมีน้ำยาสำหรับต้านไฟในไม้ อาจจะช่วยยืดเวลาได้ระยะหนึ่ง หรือทำให้ไม้ติดไฟยากขึ้น
15. ไม้สามารถทำเป็นระบบสำเร็จรูปได้เช่นกัน ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นระบบก่อสร้างที่เก่าแก่ของไทยเองดังจะเห็นได้จาก เรือนไทยเป็นต้น ระบบกรอบประตู หน้าต่างก็สามารถเรียกว่าเป็นระบบสำเร็จรูปได้ ในอเมริกาและยุโรปโครงหลังคาไม้นิยมทำเป็นแบบสำเร็จจากโรงงานนำมาประกอบที่ก่อสร้าง ทั้งนี้การทำระบบสำเร็จรูปจะต้องคำนึงถึงการขนส่งไปติดตั้งเสมอ ขนาดของโครงสร้างสำเร็จนั้นๆ จะต้องสามารถบรรจุใส่ในรถบรรทุกได้ และขนาดรถบรรทุกจะต้องสามารถเข้าถึงที่ก่อสร้างได้โดยสะดวก
16. หากมีการจัดการการปลูกไม้ดีขึ้น คงจะมีการรื้อฟื้นโครงสร้างไม้มาใช้ในไทยมากขึ้น เพราะไม้ยัง
17. ไงก็ถือได้ว่าเป็นทรัพยากรที่ปลูกทดแทนได้ และใช้พลังงานในขบวนการผลิตน้อยที่สุด
ไม้แปรรูป

โดยทั่วๆไป หมายถึง เฉพาะไม้ที่แปรรูปจากไม้ซุงท่อน ด้วยการเลื่อยหรือถาก เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการก่อสร้าง ทำเครื่อง เรือน หรือแปรรูปต่อไปเป็นอย่างอื่น สำหรับการแปรรูปไม้ซุงขนาดเล็ก เช่น ทำเป็นเสา หรือ หมอนรองรางรถไฟ ยังนิยมใช้ วิธีถากด้วยขวานกันอยู่ทั่วไป แต่ถ้าเป็นไม้ขนาดใหญ่ต้องการแบ่งไม้ออกเป็นสองส่วนหรือหลาย ๆ ส่วน ต้องใช้เลื่อย เลื่อยที่ ใช้แรงคนมักเป็นเลื่อยแบบชัก หากเป็นโรงเลื่อยจักร อาจมีเลื่อยใช้ได้หลายแบบ คือ ทั้งเลื่อยชักเลื่อยสายพาน และเลื่อยวงเดือน โรงเลื่อยจักรนั้น จัดเป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับไม้มาก่อนอุตสาหกรรมประเภทอื่น

แผ่นไม้แปรรูป คือส่วนที่ตัดจากไม้ซุงตามยาวจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง ดังรูปที่ 4.3 เมื่อต้นไม้ถูกตัด เนื้อไม้จะเต็มไปด้วยความชื้น จะต้องทำการตากจนแห้งเสียก่อน ลักษณะเช่นนี้เรียกว่าไม้แปรรูปตากแห้ง (Air-Dried :AD) การจำหน่ายไม้แปรรูป ส่วนใหญ่จะต้องมีค่าความชื้นของไม้ไม่เกิน 19% ถ้าเกิน 19% ต้องถูกทำให้แห้งด้วยการอบแบบพิเศษ เรียกว่า คินน์ (Kilns) ไม้แปรรูปโดยทั่วไปจะต้องแห้งก่อนนำไปใช้
ขนาด ของไม้แปรรูปเมื่ออยู่ในโรงเก็บไม้ก่อนนำไปใช้งาน จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าเล็กน้อยกับที่ระบุไว้ เนื่องจากไม้จะมีการหดตัวเมื่อเวลาไสผิวหน้าไม้ ยกตัวอย่างเช่น ไม้ขนาด 2 นิ้ว x 4 นิ้วขนาดของไม้แปรรูปที่ใช้งานจริงจะมีขนาดเพียง 1 ½ นิ้วx 3 ½ นิ้ว ส่วนความหนาของไม้ 1 นิ้ว ถ้าไส 2 หน้าแล้วจะเหลือเพียง 13/16 นิ้ว การคัดเกรดของไม้แปรรูป จะแบ่งเป็นเกรดเอและเกรดบี แต่ทั่วไปนิยมใช้เกรดบี ซึ่งมักจะใช้กับงานตกแต่งภายใน หรืองานโรงฝึกงานในโรงเรียน เป็นต้น ส่วนเกรดซี และเกรดดีจะแพงกว่าเล็กน้อย ในการคัดเกรดของไม้เนื้อแข็งที่ดีที่สุดคือแบบ FAS (First and seconds) เหมาะสำหรับการทำเฟอร์นิเจอร์ ส่วนแบบหมายเลข 1 หมายเลข 2 จะมีข้อบกพร่องบ้างและราคาถูกกกว่าแบบ FAS

การซื้อขายไม้แปรรูป จะขายในลักษณะเป็นตารางฟุต โดยคิดเป็นความกว้าง 12 นิ้ว ยาว 12 นิ้ว และหนา 1 นิ้ว หรือ 1/12 ฟุต3 มักเรียกว่า 1 board foot ไม้แปรรูปที่มีความหนาน้อยกว่า 1 นิ้ว ให้คิดเป็น 1 นิ้ว สูตรที่ใช้คำนวณหน้าไม้ในการขายคือ ไม้ 1 board foot = หนา (นิ้ว) x กว้าง (ฟุต) x ยาว (ฟุต)
ตัวอย่าง ไม้ขนาด 2 ฟุต ยาว 12 ฟุต หนา 4 นิ้ว คิดเป็นปริมาตรไม้เท่าไร

ปริมาตรไม้ = x 2 x 12 = 8 ฟุต3

ประเทศไทยเคยคิดปริมาณของไม้เป็นยก โดยไม้ 1 ยกมีขนาดกว้าง 24 นิ้ว ยาว 16 วา และหนา 1 นิ้ว (ไม้ 1 ยกจะมีปริมาตรเท่ากับ 17.78 ตร.ฟุต ) ดังนั้นการซื้อขายไม้ในปัจจุบัน จะขายหน้าตัดเป็นนิ้ว ความยาวเป็นเมตร สำหรับไม้ทั่ว ๆ ไป และหน้าตัดเป็นนิ้ว ความยาวเป็นฟุต สำหรับไม้สัก
วิธีการสั่งไม้แปรรูปให้ได้ตามที่ต้องการ ควรปฏิบัติดังนี้
-จำนวนชิ้นงานที่ต้องการ
-ชั้นคุณภาพของไม้แปรรูป
-ขนาดของชิ้นงาน
-ผิวไม้ที่ต้องการ (มีการไสไม้จากโรงงานที่ด้าน)
-ชนิดของไม้ที่ต้องการ
-การตากแห้ง (โดยธรรมชาติหรือเข้าห้องอบพิเศษ)
ขนาดของไม้แปรรูป
ไม้แปรรูปที่จำหน่ายภายในประเทศแบ่งออกเป็นชนิดและขนาดตามความนิยมในวงการค้าไม้และการก่อสร้างทั่ว ๆ ไปดังนี้
1. ไม้ฝา ขนาดหนา 1/2 ถึง 3/4 นิ้ว กว้าง 4 ถึง 6 นิ้ว และ 8 ถึง 10 นิ้ว
2. ไม้พื้นขนาดหนา 1 นิ้ว
3. ไม้ หนา ขนาด 1 1/2 ถึง 2 นิ้ว และ 2 1/2 ถึง 3 นิ้ว กว้าง 3,4,5,6,8,10 และ 12 นิ้ว
4. ไม้เสา ขนาดหนา 4 x 4 นิ้ว, 5 x 5 นิ้ว, และ 6 x 6 นิ้ว
5. 5. ไม้ระแนง ขนาดหนา 1 x 1 นิ้ว
6. ไม้กลอน ขนาดหน่า 1/2 ถึง 3/4 นิ้ว x 2 ถึง 3 นิ้ว และ 1 ถึง 2 นิ้ว x 1 1/2 ถึง 2 นิ้ว
ความยาวของไม้ทุกชนิดแบ่งออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่
1. 2.00 ถึง 2.50 เมตร
2. 3.00 ถึง 5.50 เมตร
3. 6.00 ถึง 7.50 เมตร
4. 8.00 เมตรขึ้นไป
ชนิดของไม้แปรรูป
ไม้อัด
เกิดจากการรวมไม้หลาย ๆ ชนิดเข้าด้วยกันหรือทำจากไม้ชนิดเดียวกัน โดยการตัดท่อนซุงให้มีความยาวตามที่ต้องการ แล้วกลึงปอกท่อนซุง หรือฝานให้ได้แผ่นไม้เป็นแผ่นบาง ๆ มีความหนาตั้งแต่ 1 ถึง 4 มิลลิเมตร แล้วนำมาอัดติดกันโดยใช้กาวเป็นตัวประสานโดยให้แต่ละแผ่นมีแนวเสี้ยน ตั้งฉากกัน แผ่นไม้จะถูกอบแห้งในเตาอบ ไม้อัดมีขนาด กว้าง 4 ฟุต ยาว 8 ฟุต หนา 4,6,8,10,15 และ 20 มิลลิเมตร

ไม้อัดแผ่นแข็ง
ไม้อัดแผ่นแข็ง (Hard board) ทำมาจากการอัดแผ่นไม้เข้าไปในใยไม้โดยวิทยากรสมัยใหม่ ภายใต้ความร้อนและความดัน แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ ชนิดมาตรฐาน และชนิดใช้อุณหภูมิ โดยจะถูกจุ่มลงในน้ำมันและอบแห้งไม้อัดแผ่นแข็งบางชนิดผิวด้านหนึ่งจะมันลื่น ส่วนอีกด้านหนึ่งจะหยาบ ชนิดทั่วไปจะมีหน้าทั้ง 2 ด้านเป็นมันลื่น นิยมนำไม้อัดแผ่นแข็งมาเจาะรูติดผนัง เพื่อใช้แขวนเครื่องมือุปกรณ์งานไม้และงานที่ต้องการอื่น ขนาดมาตรฐานของไม้อัดแผ่นแข็งคือ ขนาด 4 x 6 ฟุต (หนา 1/8 นิ้ว) และขนาด 2 x 12 ฟุต (หนา ¼ นิ้ว)

กระเบื้องแผ่นเรียบ
ผลิตจากใยหิน (asbestos) และปูนซีเมนต์ มีลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยม ผิวเรียบสม่ำเสมอ ทนต่อความร้อน ไม่ติดไฟ ไม่ผุ ไม่เปื่อยหรือยุ่ย คงอยู่ในสภาพเดิมตลอดเวลา คงถาวรทนต่อแดดฝน น้ำหนักเบา ไม่เสียหายเมื่อถูกน้ำ กันปลวกและแมลงได้ เลื่อยเจาะ ตีตะปู และติดตั้งได้ง่าย ล้างทำความสะอาดได้

ชิปบอร์ด
ผนังกั้นห้องชิปบอร์ดมีลักษณะเป็นแผ่นประกบไส้ 3 ชั้น ผิวหน้าเป็นไม้บาง ไส้กลางเป็นชิปบอร์ดหรือชิ้นไม้เล็กที่อัดกันแน่นประกบด้วยกาว เรซินสังเคาระห์ มีร่องรางลิ้นที่ขอบทั้งสองข้างตลอดความยาวของแผ่น ไม้บางที่ใช้ประกบผิวหน้าทั้งสองข้าง ส่วนใหญ่เป็นไม้สักหรือไม้ยางชิปบอร์ด มีคุณสมบัติไม่บิดงอย้อนกลับวัสดุเรียบแผ่นใหญ่

แผ่นยิปซัม
ผลิตจากแร่ยิปซัมซึ่งเป็นแร่อโลหะชนิดหนึ่ง โดยการย่อยก้อนหินยิปซัมบริสุทธิ์ให้มีขนาดเม็ดเล็ก ๆ ประมาณ 2 ถึง 3 นิ้วแล้วนำมาย่อยอีกครั้ง จนเหลือเม็ดเล็กประมาณ 1/2 นิ้ว แล้วเข้าเตาเผาไล่น้ำออก เกิดปฏิกริยาเปลี่ยนสภาพเป็นปูนพลาสเตอร์หลังจากนั้นจะนำไปผสมกับสารเคมีและ เยื่อ ต่าง ๆ เพื่อประกอบกันเข้าเป็นแผ่นยิปซัมที่มีคุณสมบัติทนไฟทนต่อความร้อนมีความ ยืดหยุ่น ปลอดภัยจากเชื้อราและแมลงแผ่นยิปซัมจะมีปูน พลาสเตอร์ เป็นแกนกลางประกบด้วยกระดาษกาวเหนียวทั้งสองด้านและในขั้นสุดท้ายแผ่นยิปซัม จะต้องผ่านการอบด้วยอุณหภูมิค่อนข้างสูงเพื่อให้แผ่น แห้งสนิท เหมาะที่จะใช้เป็นผนังกั้นห้องและเพดาน

แผ่นพลาสติก
ทำจากโพลีสไตรีนหรือโพลียูริเทน มีความแข็งแรงต่อแรงอัดสูงและมีคุณสมบัติเป็นฉนวนได้ดี

แผ่นเซลโลกรีต
แผ่นเซลโลกรีต มี 3 ชนิดได้แก่
ชนิดธรรมดา เป็นเส้นใยไม้ผสมกับซีเมนต์ทั้งแผ่น
ชนิดโฟม 1 เป็นเส้นใยไม้ผสมซีเมนต์ 1 หน้า และบุด้วยแผ่นโฟม 1 หน้า
ชนิดโฟม 2 เป็นเส้นใยไม้ผสมซีเมนต์ 2 หน้า และมีแผ่นโฟมเป็นไสกลาง 1 หน้า
ไม้อัดเคลือบลาย
เป็นแผ่นไม้อัดและกระดาษอัดนำมาเคลือบลายโพลีด้วยเครื่องจักรมีสีสันและลวด ลายให้เลือกทั้งชนิดมันเงาและชนิดผิวด้านเหมาะสำหรับ ตกแต่ง เฟอร์นิเจอร์ กั้นห้อง ทำฝ้าเพดาน

แผ่นสตามิต
วัสดุแผ่นเรียบผลิตด้วยเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ มีส่วนประกอบสำคัญจากฟางและกาวชนิดพิเศษ นำมาอัดแน่นด้วยแรงอัดและความร้อน พร้อมทั้งผ่านการหุ้มผิวจนเป็นวัสดุเนื้อเดียวกัน มีคุณสมบัติเป็นวัสดุทนไฟได้ดี ป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอก เป็นฉนวน มีน้ำหนักเบา
พาติเกิลบอร์ด
ไม้พาติเกิลบอร์ด (Particle board) เป็น แผ่นไม้สำหรับการตกแต่งอีกชนิดหนึ่ง ทำมากจากเศษไม้โดยการอัดและบีบภายใต้ควาร้อนสูง จากากรยึดติดแน่นของไม้ชนิดนี้ จึงมีบางส่วนที่คล้ายคลึงกับไม้อัด เช่น ความหนา และการใช้งาน ดังนั้นไม้พาติเกิลบอร์ดจึงมีขนาดมาตรฐานเช่นเดียวกันไม้อัด คือ 4 x 8 ฟุต ส่วนความหนามีตั้งแต่ 3/8, ½, และ ¾ นิ้ว การใช้งานสามารถทำได้ง่ายและสะดวกต่อการใช้งานทั้งเครื่องมืองานไม้และเครื่องจักรกล
การพิจารณาเลือกไม้สำหรับการทำชิ้นงาน ต้องขึ้นอยู่กับ 3 สิ่ง คือ
1.ชนิดของชิ้นงานที่จะทำ เช่น ประตูภายนอกต้องใช้ไม้ที่สามารถต้านทานน้ำและแสงแดด
2.ราคาของไม้ที่ใช้
3.ลักษณะหรือรูปทรงของไม้ที่นำมาใช้

การปรับปรุงคุณภาพไม้
เนื่องจากไม้ในปัจจุบันมีคุณภาพต่ำลง มีการหดตัว แตกร้าว หรือบิดงอง่าย ทำให้เกิดความเสียหายในสิ่งก่อสร้าง ครัวเรือนเครื่องใช้ไม้สอย โดยทั่ว ๆ ไป จึงต้องมีการปรับปรุงคุณภาพไม้เพื่อให้ไม้มีคุณภาพที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นการปรับปรุงทางด้านสี ความแข็งแรง การหดตัว การพองตัวและ ความทนทาน มีหลายวิธีได้แก่
1.การกองไม้ เป็นการกองไม้ให้โปร่งไม่ชิดติดต่อกัน นอกจากจะทำให้ไม้แห้งเร็วแล้ว ยังป้องกันการเกิดเชื้อราที่ทำให้ไม้ผุได้เป็นอย่างดีด้วย ส่วนไม้ที่เป็นกระพี้หรือไม้ที่ไม่ทนทาน ในขณะที่แปรรูปสด ๆ แล้วกองไม้ชิดติดกันเพียงวันสองวัน ก็จะเกิดราขึ้นเต็ม อาจเสียหายถึงกับทำให้ไม้ใช้การไม่ได้ตลอดไป
2. การแช่น้ำ การแช่น้ำเป็นระยะเวลานาน ๆ จะทำให้แป้งและน้ำตาลที่มีในไม้สลายตัวไป เมื่อนำไม้มาใช้งาน ถึงแม้จะมีกระพี้ติดอยู่ มอดก็จะไม่เข้ารบกวน
3. การอบหรือนึ่ง จะทำให้สารประกอบทางเคมีบางประเภทซึ่งดูดและคายน้ำได้มากสลายตัวไป ทำให้การพองและการหดตัวของไม้ลดลง
4. การอบหรือผึ่ง โดยการใส่ไม้ที่จะอบในเตาอบ ซึ่งสามารถทำให้ไม้แห้งได้เร็วไม่ทำให้ไม้เสียหายจากการหดตัว ส่วนการผึ่งในอากาศ ไม้จะแห้งเร็วหรือแห้งช้าขึ้นอยู่กับความชื้นในอากาศ ถ้าอากาศมีความชื้นต่ำ ไม้ก็แห้งเร็ว และถ้าอาคารมีความชื้นมากไม้ก็แห้งช้า
5.การอัดไม้ด้วยความร้อน ทำให้ไม้มีปริมาตรเล็กลงและคงรูปได้ภายหลังการอัดและทำให้ไม้แข็งและทนทานขึ้น
6.การอัดพลาสติก โดยการอัดสารที่เป็นพลาสติกเหลวเข้าไปในเนื้อไม้ แล้วทำให้มันรวมตัวจับกันเป็นเนื้อพลาสติก กลายเป็นของแข็งในภายหลัง อาจทำได้โดยอาศัยตัวเร่งทางเคมีหรือฉายรังสี
7.การอบน้ำยา เป็นการทา ชุป แช่ หรืออัดน้ำยาเข้าไปในไม้ด้วยแรงอัดสูง ซึ่งเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยการนำไม้เข้าห้องบปิดฝาจนสนิท ทำการดูดอากาศในไม้และในห้องอบออกจนหมด แล้วจึงปล่อยน้ำยาเข้าไป ขณะเดียวกันก็จะเพิ่มความกดดันของอากาศในท่อให้สูงขึ้นถึงระดับที่ต้องการ ทิ้งไว้ระยะหนึ่งแล้วจึงลดความดันลง ไม้ที่ทำการอาบน้ำยาแล้วจะมีความทนทานสูงกว่าไม้ธรรมชาติหลายเท่า

2551/09/30

แหล่งสืบค้นสิทธิบัตรนานาชาติ

เปิดกรุสิทธิบัตรเทคโนโลยีนานาชาติ

"รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครา" ยังเป็นสุภาษิตที่ควรนำมาใช้เป็นกลยุทธในการพัฒนาตัวเองและองค์กรให้ก้าว หน้าได้เสมอ เมื่อเราคิดค้นสิ่งประดิษฐ์หรือเกิดงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอันเป็นผลให้ ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีใดขึ้นใหม่ หรือการกระทำใดๆ ที่ทำให้ดีขึ้นซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธี ตาม พรบ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 จะเรียกว่า “การประดิษฐ์” เมื่อมีการประดิษฐ์เกิดขึ้น ผู้ประดิษฐ์ต้องศึกษาในเรื่องของสิทธิบัตรเพื่อการคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์นั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการจดสิทธิบัตรหรือกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
หากเพียงแค่คิดเริ่มต้นจะประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ ก็ควรศึกษาและตรวจสอบดูว่าในโลกนี้มีใครได้คิดค้นหรือมีเทคโนโลยีชนิดนั้น อยู่ก่อนแล้วหรือไม่ หากมีอยู่แล้วเราจะสามารถนำมาศึกษาพัฒนาต่อยอดให้เป็นสินค้านวัตกรรมที่มี คุณค่าเชิงพาณิชย์และเป็นประโยชน์ได้อย่างไร เราสามารถนำความรู้ที่ได้จากสิทธิบัตรไปทดลองวิจัยพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีได้ ในทุกประเทศ แต่ห้ามผลิตจำหน่ายในเชิงพาณิชย์หรือผลิตขึ้นใช้ในประเทศที่สิทธิบัตรเรื่อง นั้น ๆ ได้จดสิทธิบัตรไว้ และประเทศนั้น ๆ รับจดทะเบียนแล้ว
สิทธิบัตร จะให้การคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี โดยต้องยื่นขอเป็นรายประเทศตามอนุสัญญาปารีส แตกต่างจาก ลิขสิทธิ์ ที่จะให้ความคุ้มครองผลงานด้านศิลปะและซอฟต์แวร์ คุ้มครองทั่วโลก โดยไม่ต้องยื่นขอตามอนุสัญญากรุงเบิร์น (ตาม พรบ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๖ งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ ได้แก่ งานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรือ งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะของผู้สร้างสรรค์ ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใดการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ไม่คลุมถึงความคิด หรือขั้นตอนกรรมวิธี หรือระบบ หรือวิธีใช้ หรือทำงาน หรือแนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์)

แหล่งสืบค้นสิทธิบัตรนานาชาติผ่านเว็บไซต์

คลังความรู้ทางสิทธิบัตรเทคโนโลยีที่ทันสมัยสามารถเข้าไปสืบค้นผ่าน เว็บไซต์และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อบรรดา ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา หรือผู้ประกอบการ ที่จะเข้าไปดู เข้าไปอ่าน เพื่อก่อให้เกิดความรู้ ความคิดการสร้างสรรค์และเกิดการประดิษฐ์คิดค้น จึงขอแนะนำแหล่งสืบค้นสิทธิบัตรนานาชาติผ่านเว็บไซต์ 2 แห่ง ดังนี้
สืบค้นผ่าน Search engine ยอดนิยม www.google.com ให้บริการสืบค้นสิทธิบัตรของประเทศสหรัฐอเมริกา ข้อมูลสามารถเข้าไปอ่านและดาวน์โหลดรายละเอียดโดยสรุปของสิทธิบัตรนั้นๆ ได้ โดยเข้าทางเว็บไซต์ จะปรากฏหน้าจอดังภาพด้านล่างนี้



หากต้องการสืบค้นโดยใช้เงื่อนไขที่ต้องการหรือค้นแบบละเอียดยิ่งขึ้น ให้เข้าใช้โดยเลือกคลิกที่ Advanced Patent Search หรือ http://www.google.co.th/advanced_patent_search จะปรากฎหน้าจอดังนี้



บนหน้าของ Advanced Patent Search เราสามารถเลือก สืบค้นได้หลายเงื่อนไข เช่น สืบค้นด้วยคำหรือวลีที่ต้องการ, ชื่อนักประดิษฐ์, เลขที่สิทธิบัตร, ชื่อเรื่อง, ชื่อผู้ทรงสิทธิบัตร, ค้นตามหมวดหมู่ที่จัดตามมาตรฐานของสหรัฐอเมริกาและแบบสากล, ค้นตามสถานภาพของสิทธิบัตรโดยกำหนดช่วงเวลาของสิทธิบัตร เมื่อเข้าไปพบสิทธิบัตรที่ตรงกับความต้องการเราสามารถเข้าไปอ่านเนื้อหาของ สิทธิบัตรหรือดาวน์โหลดไฟล์แบบ PDF มาศึกษาได้
สืบค้นเอกสารสิทธิบัตรนานาชาติผ่านเว็บไซต์ ต่อยอด ดอท คอม เว็บไซต์ ต่อยอด ดอท คอม (www.toryod.com) เป็นเว็บไซต์ที่ได้รวบรวมคลังความรู้สิทธิบัตรให้ผู้ที่สนใจเข้าไปสืบค้น เอกสารสิทธิบัตรนานาชาติทั่วโลก ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และเว็บไซต์ อินโนเวชั่น เอส เอ็ม อี www.innovationSME.com ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นเว็บไซต์ที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง และเป็นเว็บไซต์ที่ได้อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้เป็นอย่างมาก เช่น
สืบค้นสิทธิบัตรทั่วโลกจากฐานข้อมูลของสำนักงานสิทธิบัตรยุโรป เอกสารสิทธิบัตรกว่า 50 ล้านเรื่อง
สืบค้นเอกสารสิทธิบัตรสหรัฐอเมริกา ประมาณ 7 ล้านกว่าเรื่อง
สืบค้นสิทธิบัตรญี่ปุ่นกว่า 3 ล้านเรื่อง
สืบค้นองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก
สืบค้นสิทธิบัตรไทย พร้อมทั้งมีโปรแกรมแปลภาษาที่เชื่อมโยงไว้ให้ในเว็บไซต์นี้ด้วย


กลุ่มเซรามิค : Ceramic

กลุ่มเซรามิค : Ceramic

คนโดยทั่วไปรู้จักกับเซรามิคในรูปของเครื่องกระเบื้องเคลือบต่าง ๆ แต่สำหรับวิศวกรแล้ว เซรามิคก็คือ แก้ว อิฐ หิน คอนกรีต สารขัด (Abrasives) ฉนวนไดอิเล็คทริก สารเคลือบกระเบื้อง วัสดุแม่เหล็ก อโลหะ อิฐทนไฟ เป็นต้น คุณลักษณะที่วัสดุเหล่านี้มีเหมือนกันหมดก็คือ เป็นสารประกอบโลหะ และอโลหะ

โครงสร้างของเซรามิค เป็นโครงสร้างที่ซับซ้อนซึ่งอาจแบ่งเป็นรูปของสารประกอบอัดแน่น (close – packed compounds) เช่น BeO, SiC และ Tic เป็นต้น และ ส่วนที่มีสารประกอบ ซิลิเกต (SiO4) เป็นมูลฐานได้แก่ ปูนซีเมนต์ปอร์ดแลนด์ อิฐ กระเบื้องหลังคาแล้ว และสีเคลือบกระเบื้องงานที่ถูกนำไปใช้มาก เช่น เป็นฉนวนไฟฟ้า ภาชนะใส่สารเคมี และเส้นใยแก้ว เป็นต้น

วัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการผลิตเซรามิคได้แก่

ดินขาว (Kaolin, China Clay)

ใช้เป็นส่วนผสมหลักของผลิตภัณฑ์เซรามิค ดินขาวที่จะต้องมีสิ่งเจือปนน้อย มีเนื้อดินมากเผาแล้วสีขาวในทางเคมีจะต้องมี Fe2O3 และ TiO2 ต่ำมาก ๆ ดินขาวนอกจากใช้ในงานเซรามิคแล้ว ยังสามารถนำไปใช้ทำฟิลเลอร์ ในอุตสาหกรรมกระดาษ สีปุ๋ย ยาฆ่าแมลง และอื่น ๆ

แหล่งดินชนิดนี้มี 2 แบบ คือ
แหล่งต้นกำเนิด (Residcal Deposits) ดินขาวแหล่งนี้มักพบในลักษณะเป็นภูเขา หรือที่ราบซึ่งเดิมที่เป็นแหล่งแร่หินฟันม้าเมื่อหินฟันม้าผุพังโดยบรรยากาศ (weathering) ผลสุดท้ายจะเหลือเป็นดินขาวอยู่ ณ ที่นั้น กระบวนการเกิดดินขาว (kaolinization) สิ่งสกปรกที่พบเสมอในดินแหล่งนี้คือ ซิลิกา (silica) มีสูตรเคมีเป็น SiO2 เนื่องจากี้ก็มีหินฟันม้า และผลิตผลอื่น ๆ ที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากปฎิกริยายังไม่สมบูรณ์ และอาจมีสิ่งสกปรกอื่นเช่นสารอินทรีย์ที่เข้าไปปน

แหล่งสะสมที่ลุ่ม (Sedimentary Deposit) หมายถึง แหล่งดินขาวที่เกิดจากดินขาวจากแหล่งแรก ถูกกระแสน้ำพัดพาไป และไปสะสมในบริเวณที่ราบลุ่ม ในประเทศไทยมีแหล่งดินขาวหลายจังหวัด เช่น ลำปาง อุตรดิตถ์ ปราจีนบุรี ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช เป็นต้น
ส่วนประกอบทางเคมีของดินขาว

ผลึกที่บริสุทธิ์ของดินขาวมีส่วนประกอบทางเคมี เป็น (OH)4 Al2Si2O5 หรือ Al2O3 , 2SiO2 , 2H2O หรือมี 39.8% Al2O3 , 46.3% SiO2 และ 13.9% H2O ดินขาวที่พบตามแหล่งต่าง ๆ จะมีส่วนประกอบต่างกันไปด้วยเหตุผล 2 ประการ
1. เนื่องจากในโครงสร้างของดินขาวมีการแทนที่กันของโลหะธาตุที่มีประจุบวก
2. เนื่องจากมีสารประกอบอื่นปะปนอยู่ ได้แก่ Quartz, Feldspar, Rutile, Pyrite, Tourmaline, Zircon, Hematite, Magnetite, Fluorite, Muscorite เป็นต้น
คุณสมบัติทางกายภาพของแร่ดินขาว

การทราบคุณสมบัติทางกายภายของแร่ดินขาวจะช่วยทำให้เราสามารถทำนายคุณสมบัติของเนื้อดินปั้นซึ่งมีแร่ดินเหล่านั้นผสมอยู่ได้ดีพอสมควร คุณสมบัติที่เราควรจะได้ศึกษา คือ
ขนาด (particle size) คุณสมบัตินี้มีความสำคัญมากอันหนึ่ง เพราะว่ามันเกี่ยวข้องกับคุณสมบัติทางด้านความเหนียว (plasticity) และการหดตัวเมื่อแห้ง (drying shrinkage) กล่าวโดยทั่วไปดินเม็ดละเอียดจะให้ความเหนียวและการหดตัวเมื่อแห้งมากกว่าดินเม็ดหยาบ

รูปร่าง (particle shape) แร่ kaolinite อนุภาคของมันมีรูปร่างเป็นแผ่นหกเหลี่ยม มีขนาดจาก 0.05 ถึง 10 ไมครอน โดยเฉลี่ยขนาดอยู่ระหว่าง 0.5 ไมครอน

ความสามารถในการแลกเปลี่ยนอนุมูล (base exchange capacity) คุณสมบัติข้อนี้สำหรับแร่ kaolinite มีน้อยมาก เพราะว่าในแร่นี้มีการแทนที่กันของพวกอนุมูลบวกในโครงสร้างน้อยมาก โดยเฉพาะผลึก kaolinite ที่บริสุทธิ์จะไม่มีความสามารถในการแลกเปลี่ยนอนุมูลเลยมันจะแลกเปลี่ยนได้เมื่อมันเป็นผลึกที่ไม่สมบูรณ์ หรือมันดูดซับเอาผลึกขนาดเล็กของแร่พวก TOT หรือ three layer เข้าไว้ที่ผิวของมัน

คุณสมบัติเมื่อแห้ง (drying propertics) การหดตัวเมื่อแห้งของแร่ดินล้วน ๆ เราไม่ค่อยสนใจ เพราะว่าเนื้อดินมักประกอบด้วยแร่หลายอย่าง แต่อาจกล่าวได้กว้าง ๆ ว่าของละเอียด ๆ มีการหดตัวมากกว่าของหยาบเมื่อปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง

ความแข็งแรงเมื่อแห้ง (green strength) คุณสมบัติสำคัญมาก โดยเฉพาะเมื่อจะนำแร่ดินขาวไปใช้ในเนื้อดินปั้นซึ่งไม่มีดินเหนียวอยู่เลย เพราะว่าดินขาวเท่านั้นที่จะเป็นตัวช่วยให้ผลิตภัณฑ์ดิบมีความแข็งแรงมากหรือน้อยเพียงไร

คุณสมบัติหลังจากเผา (firing propertics) แร่ดินขาวมีการหดตัวมากหลังการเผาไม่ควรใช้แร่ดินขาวล้วนเป็นเนื้อดินปั้นแร่ดินขาวเมื่อเผาแล้วจะหดตัวประมาณ 20%
ข้อควรคำนึงเกี่ยวกับแหล่งดินขาว
1. จะต้องพิจารณาคุณสมบัติของดินแต่ละแหล่งว่าจะนำมาใช้ทำเป็นฟิลเลอร์ได้หรือไม่ เช่น หากมีความขาวสูง ความคมต่ำ ความละเอียดดี อาจจะใช้ทำกระดาษได้ ถ้ามีแต่ความคมสูง อาจจะต้องนำไปใช้ผสมทำสี ยาฆ่าแมลง หรืออุตสาหกรรมยาง หรือบางแหล่งความขาวไม่สูงนัก ทรายหยาบน้อยอาจจะนำมาบดเพื่อให้เป็นฟิลเลอร์ราคาถูกในการทำปุ๋ยผสม เป็นต้น

2.เทคนิค ในการทำเหมืองจะต้องมีการเลือกหน้าเหมืองในการผลิตเพื่อให้ได้ดินที่มี คุณสมบัติตามต้องการ เช่น หน้าเหมืองที่สีไม่ค่อยขาวอาจจะเก็บไว้ใช้ในงานเซรามิค อย่างเดียว หรืออาจจะใช้ดินจากหน้าหมือนหลายแหล่งมารวมกันเพื่อให้ได้ดินที่มีคุณสมบัติ ที่ต้องการดินที่ใช้กับงานจานชามต้องการดินที่มีความแข็งแรงสูงเผาแล้วสีขาว ขณะที่ดินที่นำไปใช้กับงานหล่อแบบต้องการดินที่หล่อตัวได้ไว เป็นต้น

3.ในการแต่งแร่นั้น ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการคัดขนาด ซึ่งนิยมใช้ไฮโดรไซโคลน ข้อสังเกตุก็คือ ควรจะเก็บของที่มีประโยชน์ให้หมดก่อนทิ้งไป และการพิจารณาแร่พลอย ได้ที่เหลือจากการแต่ง เช่น กรณีโรงล้างดินขาวลำปาง ทราย และของหยาบที่คัดทิ้งนั้นน่าที่จะนำมาศึกษา เพื่อใช้ทำกระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องประดับ โดยจะทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีเนื้อแกร่งและขนาดมีมาตรฐานยิ่งขึ้น

ดินเหนียว (Ball Clay)

นอกจากดินขาวจะเป็นดินที่ใช้มากในอุตสาหกรรมเซรามิค แต่มีดินอีกชนิดหนึ่งซึ่งมีความสำคัญเช่นกัน ดินชนิดนี้มีสีดำ แต่เมื่อเผาแล้วจะมีสีขาว ดินชนิดนี้มีความเหนียวมากกว่า และทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่ได้เผามีความแข็งแรงมากกว่าดินขาว

ดิน เหนียว อาจจะให้คำจำกัดความได้ว่า หมายถึง ดินที่มีสีขาว ขาวคล้ำจนถึงดำสนิท มีแหล่งสะสมในที่ลุ่มมีเม็ดละเอียดมีอินทรีย์สารเจือปนมีความเหนียวดีให้ ความแข็งแรงต่อผลิตภัณฑ์เมื่อยังไม่เผามากกว่าดินขาวเมื่อเผาจะมีสีขาวหรือ สีซีดจางลง

ส่วนประกอบของดินเหนียว
ส่วนประกอบทางเคมีของดินเหนียวแตกต่างไปตามแหล่งที่มันสะสม ส่วนประกอบโดยประมาณอาจจำแนกได้ดังนี้
1. SiO2 อยู่ระหว่าง 40 – 60%
2. Al2O3 ประมาณ 30%
3. H2O ในผลึกและอินทรีย์สาร 10%
4. TiO2, Fe2O3, CaO, MgO, K2O, Na2O เล็กน้อย

คุณสมบัติทางกายภาพของเดินเหนียว
ขนาด ดินเหนียวมีขนาดละเอียดกว่าดินขาว ขนาดดินเหนียวจะมีขนาดละเอียดแค่ไหน และมากน้อยเพียงใดจะเปลี่ยนแปลงไปตามแหล่งที่พบคือแหล่งดินที่ถูกพัดพาไปไกลจากแหล่งเดิมมากจะมีการเสียดสี และการบดกันตามธรรมชาติมาก ขนาดของเม็ดดินจะละเอียดมากขึ้นตามลำดับ

ความเหนียว กล่าวโดยทั่วไปแล้ว ดินเหนียวมีความเหนียวดีกว่าดินขาว การผสมดินเหนียวลงไปในเนื้อดินปั้นจะช่วยทำให้การขึ้นรูปได้ดีขึ้น

การหด ตัวเมื่อแห้งดินเหนียวมีการหดตัวมากน้อยแตกต่างไปตามแหล่งหรือชนิดของดินเหนียวนั้น เช่นดินเหนียวที่มี SiO2 สูงแทบไม่มีการหดตัวเลย แต่ดินเหนียวที่มีอินทรีย์สารสูงจะมีการหดตัวมากประมาณ 15% แต่อย่างไรก็ตามเรา ไม่ใช่ดินเหนียวอย่างเดียวในการผสมเนื้อดินปั้นเราสามารถที่จะทดลองผสมเนื้อ ดินปั้นขึ้นมาหากส่วนผสมเนื้อดินปั้นที่ทมีการหดตัวที่เหมาะสมได้

ความแข็งแรงก่อนเผา ปกติดินเหนียวจะมีความแข็งแรงกว่าดินขาว ดินเหนียวที่มีความแข็งแรงสูงเมื่อผสมในเนื้อดินปั้นจะช่วยทำให้ผลิตภัณฑ์มีความแข็งแรงสูงตามด้วย

คุณสมบัติหลังจากเผา ถ้าเป็นดินเหนียวล้วน ๆ คุณสมบัติหลังจากการเผา เป็นต้น ว่ามีสีเป็นอย่างไร เนื้อดีหรือไม่ดีอย่างไร ไม่ค่อยสำคัญนัก แต่คุณสมบัติเหล่านี้จะมีผลกระทบกระเทือนเมื่อผสมดินเหนียวลงไปในเนื้อดินปั้น ดินเหนียวบางอย่างมี mica ประกอบอยู่ เมื่อผสมในเนื้อดินปั้นเมื่อเผา mica จะทำหน้าที่เป็นตัวเร่งให้เกิดปฏิกิริยาในเนื้อดินปั้นทำให้เนื้อผลิตภัณฑ์แน่นและเนียนมากขึ้น

แร่ดินต่าง ๆ ที่พบในดินเหนียวพอสรุปได้ คือ Kaolinite ซึ่งมีทั้งหยาบและละเอียดเป็นส่วนใหญ่นอกจากนี้ก็มี Montmorillonite และ Illite เล็กน้อยแร่อื่น ๆ ที่เป็นส่วนประกอบอยู่ก็มี Quartz, Mica เป็นต้น

ส่วนอินทรีย์สารที่พบได้แก่ Lignite, Waxes, Resin, Lignin และ Humus นอกจากนี้ก็มีเกลือที่ละลายน้ำได้ เกลือส่วนใหญ่เป็นเกลือซัลเฟตและเกลือคลอไรด์ของ Al, Fe, Ca, Mg, K, Na ความสามารถในการแลกเปลี่ยนอนุมูลอยู่ระหว่าง 7 ถึง 30 Milliequivalents ต่อ 100 กรัมของดินแห้ง

ข้อดีของดินเหนียวที่ใช้ในอุตสาหกรรมเซรามิค
1.ช่วยเพิ่มความสามารถในการขึ้นรูปของเนื้อดินปั้นให้ดีขึ้น
2.พัฒนาผลิตภัณฑ์ก่อนเผาให้มีความแข็งแรงมากขึ้น ซึ่งเป็นผลทำให้การสูญเสียเนื่องจากการแตกหักของผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่เผาในขณะมีการเคลื่อนย้ายลดน้อยลง
3.ช่วยทำให้น้ำดิบที่ใช้ในการเทแบบมีการไหลตัวดีขึ้น
4.ดินเหนียวบางชนิดมีความสามารถช่วยทำให้เกิดปฏิกิริยาระหว่างมวลสารในเนื้อดินนั้นในขณะทำการเผา เป็นผลทำให้ผลิตภัณฑ์มีเนื้อแน่นเป็นเนื้อเดียวกันตลอด
ข้อเสียของดินเหนียวที่ใช้ในอุตสาหกรรมเซรามิค
1.ในดินเหนียวมักมีสิ่งสกปรก เช่น Fe2O3 และ TiO2 ซึ่งเป็นตัวทำให้ความขาวของเนื้อผลิตภัณฑ์เสียไป โดยเฉพาะถ้ามีปริมาณ TiO2 มาก
2.ทำให้ความโปร่งแสงของผลิตภัณฑ์น้อยลง
3. ดินเหนียวมีส่วนประกอบไม่แน่นอนฉะนั้นทำให้เกิดความยุ่งยากในการควบคุมน้ำดินสำหรับเทแบบ
ธรรมชาติของดินเหนียว ดินชนิดนี้ส่วนใหญ่ประกอบด้วย Kaolinite แต่มีผลึกขนาดเล็กกว่า ดินชนิดอื่น ๆ และผลึกมักจะไม่สมบูรณ์ และบางครั้งก็พบแร่ดินอื่น เช่น Montmorilnite และ Illite เป็นต้น แร่ที่มักพบปนอยู่ในดินเหนียวเสมอ เช่น Quartz, Mica และ Iron Sulfide ดินเหนียวมีลักษณะพิเศษก็คือ มีสารอินทรีย์ปนอยู่เสมอ สารอินทรีย์นี้มีส่วนประกอบคล้ายลิกไนท์มาก ดินเหนียวเมื่อแห้งมีความแข็งแรงสูงและมีการหดตัวสูงเช่นกัน ดินเหนียวหลายชนิดมีช่วงอุณหภูมิกว้างที่จะเกิดปฏิกิริยาเปลี่ยนไปเป็นแก้ว ซึ่งเป็นประโยชน์ คือ ช่วยปรับปรุงเนื้อผลิตภัณฑ์หลังจากเผาแล้วให้ดีขึ้น ในประเทศไทยดินเหนียวที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมเซรามิคมีหลายแหล่ง เช่น สุราษฎร์ธานี ปราจีนบุรี แม่เมาะ ลำปาง เชียงใหม่ เป็นต้น

หินฟันม้า (Feld spar)
เป็นสารประกอบอะลูมินาในซิลิเกตของอัลคะไลด์และอัลคะไลด์เออร์ท โดยเฉพาะสารประกอบของ Na, K, Ca พบมาก และใช้มากในอุตสาหกรรมเซรามิค สารประกอบบริสุทธิ์ของ Na, K, Ca หาได้ยาก ในแร่หินฟันม้าจะมีทั้ง Na, K, Ca ซึ่งจะมีอัตราส่วนแตกต่างไป เนื่องจากว่าสารประกอบทั้งสามตัวนี้มีการละลายซึ่งกันและกันในขณะที่เป็นของแข็ง

หินฟันม้าใช้ในอุตสาหกรรมเซรามิกส์เพื่อเป็นตัวเริ่มก่อให้เกิดปฏิกิริยาการเกิดเนื้อแก้วในเนื้อผลิตภัณฑ์ ดังนั้น หินฟันม้าจึงเป็นตัวเสริมให้มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นแก้ว และช่วยส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์มีคุณสมบัติโปร่งแสงดีขึ้น หินฟันม้าเป็นแหล่งให้อัลคะไลด์และอะลูมินาแก่เคลือบและแก้ว ข้อดีที่ทำให้อุตสาหกรรมเซรามิคนำมาใช้ก็คือ หินฟันม้ามีราคาถูก และเป็นสารประกอบอัลคะไลด์ที่ไม่ละลายน้ำ

ส่วนประกอบของหินฟันม้า หินฟันม้าส่วนใหญ่มีส่วนประกอบคงที่พอสมควร เว้นแต่อัตราส่วนของ Na และ K เท่านั้นที่เปลี่ยนไป หินฟันม้าที่มี เปอร์เซนต์ Na สูงใช้ในการผลิตแก้วและประกอบด้วย K2O อยู่ระหว่าง 3.3 ถึง 13.1% Na2O อยู่ระหว่าง 1.9 ถึง 12.9% Fe อยู่ระหว่าง 0.04 ถึง 0.2% หินฟันม้าที่มี % Fe ต่ำ เหมาะสำหรับใช้ในการผลิตภัณฑ์ที่ต้องการความขาว ใช้ในเคลือบที่ไม่ต้องการให้มีสี และใช้ในการผลิตแก้ว
คุณสมบัติของเซรามิก

คุณสมบัติของเซรามิคขึ้นอยู่กับโครงสร้างของเซรามิค เช่น การนำไฟฟ้าที่ต่ำมาก ซึ่งเป็นผลของการที่อิเลคตรอนเคลื่อนไหวไม่ได้ ส่วนคุณสมบัติแม่เหล็กของเซรามิคนั้น ขึ้นอยู่กับการจัดตัวของอิออนบวกและอิเลคตรอนใต้วงโคจรวาเลนซี สำหรับคุณสมบัติเชิงกลนั้นก็เป็นผลรวมของโควาเลนท์ ไอออนิก และแวนเดอร์วาลล์ บอนด์ ที่มีอยู่ในโครงสร้าง
ไดอิเล็กตริกเซรามิค
เซรามิค ถูกใช้เป็นฉนวนไฟฟ้า และส่วนประกอบของวงจรไฟฟ้า เมื่อใช้เป็นฉนวนไฟฟ้า ก็มีหน้าที่แยกสองตัวนำที่มีศักดาไฟฟ้าต่างกัน เมื่อใช้เป็นส่วนประกอบ โครงสร้างของเซรามิกก็จะเป็นที่เกิดปฏิกิริยาระหว่างสนามไฟฟ้ากับประจุ
เซรามิคกึ่งตัวนำ
เซรามิคเป็นกึ่งตัวนำได้ถ้ามีธาตุทรานซิชั่น ที่มีหลายวาเลนซีเป็นองค์ประกอบเป็นประโยชน์ในการใช้ทำเทอร์มิสเตอร์ (thermistor) ใช้ในการวัดอุณหภูมิและใช้ในการทดลองแทนความต้านทานที่เพิ่มขึ้นตามอุณหภูมิในส่วนประกอบของวงจรไฟฟ้า

คุณสมบัติเชิงกลของเซรามิก
คุณสมบัติ เชิงกลของเซรามิกลักษณะสำคัญของวัสดุเซรามิกโดยทั่วไปก็คือการมีความแข็งแรง เฉือนสูงและความแข็งแรงแตกหักต่ำ ดังนั้นเซรามิกทั่วไปจึงแตกสลายแบบเปราะการเลื่อนของระนาบในเซรามิกมีความ แตกต่างกันของโลหะเพราะอะติมของเซรามิกมีหลายชนิดเมื่อมีการเลื่อนเกิดขึ้น พันธะเดิมถูกทำลายจึงเป็นผลทำให้เปราะถ้าไม่มีความพรุน ความแข็งแรง แรงอันสูง และในทางทฤษฎีความแข็งแรงดึง ก็ควรจะสูงด้วยแต่ในทางปฏิบัติมีค่าต่ำมากเพราะเซรามิกมีรอยแตกเส้นแบ่งเกรน รู มาก ซึ่งเป็นที่เกิดของความเค้นภายในที่คายไม่ได้เหมือนกันในวัสดุเหนียว
คุณสมบัติทางความร้อน

เซรามิกนำความร้อนได้โดยโฟนอน (phonon) ซึ่งเป็นการนำความร้อนที่เป็นผลของปฏิกิริยาระหว่างการสั่นสะเทือนที่ไม่พร้อมเพรียงกันของแลททิช และที่อุณหภูมิสูงโดยการถ่ายเทความร้อนแผ่ (radiant heat transfer) การที่เส้นแบ่งเกรนสามารถกระจายพลังงานแผ่ได้ จึงทำให้สภาพนำความร้อนของเซรามิกธรรมดามีค่าต่ำของผลิตเดี่ยว ซึ่งไม่มีเส้นแบ่งเกรน
อุตสาหกรรมเซรามิคประเภทต่าง ๆ

ผลิตภัณฑ์ปอร์สเลน (Porcelain)
ผลิตภัณฑ์ปอร์สเลน (Porcelain) หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่มีเนื้อสีขาว โปร่งแสงผลิตที่อุณหภูมิสูงราว 1300o C เนื้อที่ความแข็งแกร่งเหมือนแก้ว ไม่มีการดูดซึมน้ำ เมื่อเคาะจะมีเสียงดังกังวาน ปกติจะใช้เคลือบใสทับตลอด บางกรณีก็มีการเขียนลวดลายใต้น้ำเคลือบ เช่น เครื่องลายคราม (blue and white) และเครื่องเบญจรงค์ ผลิตภัณฑ์จากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ส่วนใหญ่เป็นชนิดปอร์สเลน ปอร์สเลนที่ผลิตจากประเทศทางตะวันตกมักจะตีตราว่า Fine China

ปอร์สเลนมีขั้นตอนการผลิตที่ยุ่งยาก สิ้นเปลืองแรงงานและพลังงานมากกว่าผลิตภัณฑ์ชนิดอื่น แถมยังได้ของเกรด A น้อย จึงมีราคาค่อนข้างสูง ปัจจุบันเมืองไทยมีโรงงานที่ผลิตจานชามชนิดปอร์สเลนประมาณ 6 โรงงาน และมีโรงงานผลิตของประดับ เครื่องบายครามเนื้อปอร์สเลนที่ลำปางหลายโรงงานด้วย

วัตถุดิบสำคัญของโรงงานเหล่านี้คือ ดินขาว ดินบอลเคลย์ หินไชน่าสโตน โพแทสเซียมเฟลด์ สปาร์และควอร์ซ วัตถุดิบที่ใช้ทั้งในการทำเนื้อผลิตภัณฑ์และน้ำยาเคลือบ ต้องการสิ่งที่มีคุณภาพสูงที่สุด
สโตนแวร์ (Stoneware)
สโตนแวร์ (Stoneware) หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่มีความแข็งแกร่งไม่มีการดูดซึมน้ำหากเป็นจานชาม จะมีเนื้อสีขาว หรือลวดลายได้ แต่มักจะมีความหนากว่าปอร์สเลน และไม่มีความโปร่งแสงน้ำยาเคลือบส่วนใหญ่ออกสีต่าง ๆ และอาจมีการพิมพ์ลวดลายใต้เคลือบหรือบนเคลือบสโตนแวร์ เป็นผลิตภัณฑ์ที่รุ่งเรืองในญี่ปุ่น และยุโรป ขั้นตอนการผลิตและข้อจำกัดในเรื่องวัตถุดิบไม่ยุ่งยากเหมือนปอร์สเลน ทั้งยังมีความแข็งแกร่งมีลวดลายและสีสันไม่จำกัด จึงเป็นที่นิยมของแม่บ้านและภัตตาคารต่าง ๆ สโตนแวร์สีขาวที่ใช้ในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์บางทีเรียกกันว่า Chemical porcelain ถ้วยน้ำชารูปแบบต่าง ๆ และถ้วยชามของญี่ปุ่นที่มีสีสันแปลก ๆ ทั้งที่จำหน่ายเป็นชุดและจำหน่ายเป็นชิ้น ส่วนใหญ่เป็นสโตนแวร์ทั้งนั้น

ผลิตภัณฑ์สโตนแวร์ สามารถผลิตได้ที่อุณหภูมิต่ำกว่าปอร์สเลน และสามารถเผาครั้งเดียวได้จึงเป็นที่เชื่อว่าจะมีการขยายตัวอย่างกว้างขวาง
เอิทเธนแวร์ (Earthern ware)
เอิทเธนแวร์ (Earthern ware)หมายถึง ผลิตภัณฑ์พวกจาน ชาม และของชำร่วย ที่เนื้อยังมีความพรุนตัวสามารถดูดซึมน้ำได้ ส่วนใหญ่จะมีเนื้อสีขาวทึบ เมื่อเคาะไม่มีเสียงกังวาน ทำการเผารูปทรงที่อุณหภูมิที่ใช้เผาน้ำยาเคลือบ ต้นทุนการผลิตไม่แพง และทำได้ไม่ยาก แต่มีความแข็งแกร่งน้อยกว่าสโตนแวร์ หรือปอร์สเลน ผลิตภัณฑ์ถ้วยชามจากจังหวัดลำปาง และของประดับส่วนใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่จัดเป็นพวกเอิทเธนแวร์ ในอนาคตผลิตภัณฑ์ขึ้นโต๊ะอาหารคงจะหันมานิยมสโตนแวร์มากกว่าเอิทเธนแวร์ เอิทเธนแวร์คงจะนำไปใช้กับกลุ่มของประดับที่ระลึกและของชำร่วยที่ไม่เกี่ยวกับการนำมาใช้งาน
เครื่องสุขภัณฑ์และลูกถ้วยไฟฟ้า
ผลิตภัณฑ์ทั้งสองชนิดใช้เนื้อใกล้เคียงกัน คือ มีเนื้อสีขาวแต่ทึบแสง เป็นของที่มีความหนา และใช้น้ำยาเคลือบทึบแสง มีการดูดซึมใกล้ 0 วัตถุดิบที่ใช้คล้ายคลึงกันเพียงแต่ลูกถ้วยไฟฟ้านิยมใช้โพแทสเซียมเฟลตด์สปาร์ เพื่อให้มีคุณสมบัติด้านฉนวนไฟฟ้าดีขึ้น เครื่องสุขภัณฑ์ในบ้านเรามีโรงงานผลิต 5 โรงงานสามารถผลิตชิ้นใหญ่และสวยมีคุณภาพดีส่งออกจำหน่ายต่างประเทศ ความต้องการของตลาดภายในประเทศจะขยายตัวขึ้นเรื่อย ๆ ตามความเจริญในส่วนท้องถิ่น ของชิ้นเล็กราคาไม่แพงจะยังมีความต้องการสูงมาก ขณะที่การผลิตเพื่อการส่งออกต้องการเน้นเรื่องคุณภาพและราคา
กระเบื้องชนิดต่าง ๆ
กระเบื้อง ชนิดต่าง ๆ เช่นกระเบื้องบุผนัง และกระเบื้องปูพื้น ได้รับการพัฒนาไปมากในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมามีการผลิตกระเบื้องบุผนังที่ พิมพ์ลายต่าง ๆ ขณะที่กระเบื้องปูพื้นก็มีขนาดแผ่นใหญ่และมีสีสันลวดลายมากมายชนิดมาตรฐาน การผลิตได้ใช้เทคโนโลยีสูงคุณภาพได้รับรางวัลจากต่างประเทศมากหลายคราวแล้ว แนวโน้มยังเป็นวัสดุที่มีความนิยมสูงในประเทศและโอกาสการขยายตัวมาก ขึ้นคงต้องขึ้นกับตลาดต่างประเทศกระเบื้องบุผนังจะมีความบางส่วนใหญ่นิยม เนื้อสีขาวทึบมีความพรุนตัวสูงขณะที่กระเบื้องปูพื้นต้องรับน้ำหนักมากจึง มักจะมีความหนากว่าควรมีการดูดซึมน้ำน้อยที่สุดสีของเนื้อไม่จำเป็นต้องขาว ส่วนกระเบื้องประดับและอิฐประดับนั้นมักหมายถึงผลิตภัณฑ์ที่ไม่เคลือบหรือ เคลือบแต่มีความหนา และมีลวดลายต่าง ๆ ใช้บุภายในและภายนอก
อิฐทนไฟและเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ในเตาเผา
อิฐทนไฟและเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ในเตาเผา เนื้อคอร์เดียไรท์ (cordierite) เหมาะใช้กับงานอุณหภูมิไม่เกิน 1220o C สูงกว่านี้ควรเป็นพวกเนื้อมูลไลท์ (mullite) อะลูมินา (high Al2O3) และพวกซิลิคาร์ไบด์ (sikiconcarbide) และคุณสมบัติที่ สำคัญของอิฐทนไฟที่ใช้ในเตาถลุงก็คือจะต้องทนต่อตะกรันทนต่ออุณหภูมิสูงและเป็นฉนวนควานร้อนที่ดีใน
อิฐที่มีฤทธิ์เป็นกรด (acidic bricks) จะถูกกว่าแต่สำหรับเตาถลุงที่มีตะกรันพวก CaO และ MgO ตะกรันเหล่านี้จะทำปฏิกิริยากับ SiO2 ที่อุณหภูมิต่ำ และจำทำให้อิฐกร่อนได้ จึงจำเป็นต้องใช้อิฐที่มีฤทธิ์ เป็นด่าง (basic bricks) แทน
เซรามิคที่ใช้กับงานไฟฟ้า
เซรามิคที่ใช้กับงานไฟฟ้า จะแบ่งเป็นพวกใหญ่ ๆ คือ เป็นฉนวนไฟฟ้า ใช้ในไฟฟ้ากำลังและพวกที่ใช้เป็นชิ้นส่วนต่าง ๆ ในงานอิเลคทรอนิกส์ เช่น คาร์ปาซิเตอร์ และแม่เหล็ก โดยจะทำการส่วนประกอบที่สำคัญ 3 อย่างคือ ดินขาว 60% เฟลด์สปาร์ 20% และซิลิกา 20%

ในส่วนของเซรามิคที่มีคุณสมบัติเป็นแม่เหล็ก จะประกอบไปด้วย MnO, CoO และ Fe2O3 ผสมกันแล้วเผาในเตาที่อุณหภูมิ 650o – 1084o C แล้วนำมาบดให้ละเอียดอีกครั้งหนึ่ง ก็จะได้สารแม่เหล็ก ซึ่งอาจใช้เคลือบบัตรโทรศัพท์ หรืออื่น ๆ
ผงขัด (Abrasives) และ มีด (Cutter)
ผงขัด (Abrasives) และ มีด (Cutter) ผงขัดที่ใช้ในอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ (85%) เป็นอะลูมินาสังเคราะห์และบางส่วน (15%) เป็นซิลิคอนหรือไทเทเนียมคาร์ไบด์คาร์ไบด์มีความแข็งกว่า แต่จะเปราะกว่า มีดที่ทำด้วยวัสดุเซรามิคจะปอกเนื้อโลหะได้เร็วกว่ามีดอื่น ๆ รวมทั้งมีดที่ทำด้วย ทังสเตนคาร์ไบด์ทั้งนี้เพราะมีดเซรามิคมีความแข็งสูง แม้ขณะร้อนมีสัมประสิทธิ์ความฝืดต่ำ มีสมบัติทนการสึกหรอมาก และการนำความร้อนต่ำ ความร้อนที่เกิดขึ้นจากการปอกจะถูกนำไปโดยขี้โลหะ (Chip) ทำให้ทั้งมีดและด้ามมีดตลอดจนชิ้นงานมีความร้อนต่ำไปด้วย อย่างไรก็ดีเนื่องจากเซรามิกเปราะจึงต้องระวังไม่ให้รับความร้อนหรือแรงกระแทกทันทีทันใด
เซรามิคใช้งานได้ดีในงานปอกเหล็ก หล่อเหล็กกล้าด้วยความเร็วสูงติดต่อกันนาน ๆ เซรามิคใช้แทนคาร์ไบด์ได้ดี ในกรณีที่ใช้คาร์ไบด์แล้วสึกเร็ว
ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ
ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับงานก่อสร้าง เช่น ลูกกรงเซรามิก ช่องแสง ช่องลม หลังคากระเบื้อง ทั้งนี้เน้นเรื่องเนื้อความแข็งแรง และขนาดของชำร่วยและของที่ระลึก ของประดับ เช่น ดอกไม้ เข็มกลัด แจกัน รูปสัตว์ต่าง ๆ ของที่ระลึกต่าง ๆ ซึ่งเนื้อส่วนใหญ่จะเป็นสโตนแวร์หรือเอิทเธนแวร์

กลุ่มโพลิเมอร์ : Polymers


กลุ่มโพลิเมอร์ : Polymers

วัสดุจำพวกโพลิเมอร์ที่มีใช้กันอย่างแพร่หลายได้แก่ พลาสติก ( Plastic ) และ ยาง( Elastomer ) ซึ่งจะประกอบด้วยโมเลกุลยาว ๆ เชื่อมต่อกันด้วยโมเลกุลสั้น ๆ ที่เรียกว่า โมโนเมอร์ (Monomer) จนกลายเป็นโครงสร้างของวัสดุนั้น เช่น Polyethylene จะประกอบด้วยโมโนเมอร์ของ Ethylene หลาย ๆ โมโนเมอร์เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน

พลาสติค (Plastic)
ในปี ค.ศ. 1868 ช่างพิมพ์ (Printer) ชาวอเมริกันชื่อ John Wesley Hyatt ได้ค้นพบพลาสติกชนิดแรกของสหรัฐอเมริกา ชื่อ เซลลูลอยด์ (Celluloid หรือ Cellulose Nitrate) โดยการนำเอาไพรอกซิลีน (Pyroxylin) ซึ่งทำจากฝ้ายกับกรดไนตริกผสมการบูร (Solid Camphor) ทำเป็นลูกบิลเลียดแทนการใช้งาช้าง ซึ่งเกิดขาดแคลนมากในระยะนั้นขณะเดียวกันที่อังกฤษได้นำไพรอกซีลียไปทำเป็นแลคเกอร์ และวัสดุเคลือบผิว (Coating Materials) อื่น ๆ ต่อมาได้มีผู้นำเอาเซลลูลอยด์ดัดแปลงไปใช้ทำเหงือกฟันปลอม (สีชมพู) แทนการใช้ยางแข็ง หลังจากนั้นได้นำเอาไปใช้ทำกระจกรถยนต์

ค.ศ. 1882 บริษัท Eastman ได้ประดิษฐ์ทำเป็นฟิล์มภาพยนตร์ การคิดค้นพลาสติกได้หยุดชะงักไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง

ในปี ค.ศ. 1909 Dr. Leo Hendrink Baekeland ได้ค้นพบพลาสติกชื่อ ฟีนอล – ฟอร์มาลีไฮด์ (Phenol – Formalde – hyde) โดยการผสม ฟีนอลกับฟอร์มาลดีไฮด์เข้าด้วยกัน พลาสติกชนิดนี้เรารู้จักกันดีในชื่อ Bakelite ซึ่งใช้ทำด้ามกะทะ หูหม้อ และอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ
สมาคมวิศวกรพลาสติก (SPE) และสมาคมอุตสาหกรรมพลาสติก (SPI) แห่งสหรัฐอเมริกาได้จำกัดความของพลาสติกไว้ดังนี้
“พลาสติก คือวัสดุที่ประกอบด้วยสารหลายอย่างมีน้ำหนักโมเลกุลสูงลักษณะอ่อนตัวขณะทำการผลิต ซึ่งโดยมากใช้กรรมวิธีการผลิตด้วยความร้อน หรือแรงอัดหรือทั้งสองอย่าง”
คุณสมบัติของพลาสติก

พลาสติกนับว่าเป็นวัสดุที่มีบทบาทและสำคัญมากในยุคปัจจุบันนี้ และเป็นคู่แข่งของเหล็ก ซึ่งนับวันได้ถูกใช้อย่างมากมายจนเหลือน้อยทำให้พลาสติกได้ถูกนำมาใช้แทนอย่างมาก เพราะพลาสติกมีคุณสมบัติพิเศษดีเด่นกว่าวัสดุอื่นที่ใช้กันมาก่อนอย่างมากมาย เพราะสามารถใช้แทนวัสดุอื่นได้เกือบทั้งหมด เช่น

แข็งแรง
ทนการสึกกร่อน ทึบแสง และเบา
อ่อนนุ่ม
ทนสารเคมี
ลอยน้ำได้
ยืดตัว
เป็นฉนวนไฟฟ้า
หล่อลื่นในตัว
เหนี่ยวทนทาน
กันน้ำ
ทำเป็นสีต่าง ๆ ได้
โปร่งใส
ไม่ไฟติดง่าย
ทนความร้อน

พลาสติกมีคุณสมบัติทางโครงสร้างพิเศษที่เรียกว่า High Molecular Weight คือในหนึ่งโมเลกุลมีจำนวนอะตอมมากกว่าสารชนิดอื่นมากมาย จึงทำให้มีคุณสมบัติหลาย ๆ อย่างพร้อมกันไป คือ

- คุณสมบัติทางกายภาพ มีความแข็งแรง เหนียว ยืดหยุ่น ฯลฯ
- คุณสมบัติทางไฟฟ้า เป็นฉนวนไฟฟ้า
- คุณสมบัติทางเคมี ทนกรด ด่าง และสารเคมีอื่น ๆ

การแบ่งประเภทของพลาสติก

พลาสติกสามารถออกตามลักษณะการยึดเกาะตัวของโครงสร้างโมเลกุลได้เป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ชนิด คือ พลาสติกประเภทคืนรูป (Thermoplastics) และ พลาสติกประเภทคงรูป (Thermosettings)

1.พลาสติกประเภทคืนรูป (Thermoplastics) หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า พลาสติกอ่อน เป็นพลาสติกที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก หลักจากนำไปหล่อทำเป็นผลิตภัณฑ์แล้ว เปรียบเสมือนน้ำนำไปทำน้ำแข็ง เมื่อถูกความร้อนก็จะละลายกลายเป็นน้ำอีก และน้ำนี้ก็สามารถนำกลับไปทำน้ำแข็งได้อีกไม่มีที่สิ้นสุด เรียกว่า “Plastics with a Memory” โครงสร้างของพลาสติกประเภทนี้จะประกอบด้วยโมเลกุลการเดี่ยวเกาะตัวแบบต่อแขนยาวออกเป็นเส้นด้าย หรือแบบลูกโซ่ (Filament or chain) การเปลี่ยนแปลงรูปร่างของพลาสติกอาจเกิดได้ง่ายโดยการไหลเลื่อนระหว่างโมเลกุลต้านแรง Van der Waal’s forces ซึ่งดึงดูดโมเลกุลเข้าไว้ด้วยกันอย่างอ่อน ๆ ตัวอย่างเช่น Polymethacrylate Perspex and Nylon

2.พลาสติกประเภทคงรูป (Thermosetting) หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า พลาสติกแข็ง คือพลาสติกที่มีรูปทรงถาวรซึ่งผ่านกรรมวิธีการผลิตโดยใช้ความร้อน (Heat) หรือแรงอัด (Pressure)ขึ้นรูปแต่เมื่อเย็นตัวลงจะไม่สามารถทำให้อ่อนตัวโดยใช้ความร้อนหรือนำไปหลอมละลายขึ้นรูปใหม่ได้อีก เปรียบเสมือนไข่เมื่อนำไปต้มสุกแล้วจะทำให้เหลวเหมือนเดิมอีกไม่ได้ในประเทศอังกฤษเรียกพลาสติกชนิดนี้อีกชื่อหนึ่งว่า ดูโรพลาสติก (Duroplastics) โครงสร้างของพลาสติกแบบคงรูปร่างจะมีการเกาะตัวของโมเลกุลเป็นแบบตาข่าย หรือร่างแห (net) เวลาได้รับความร้อนจะไม่ยืดหรือหดตัวแต่จะเกิด Covanlent bond ยึดระหว่างโมเลกุลขึ้น ตัวอย่างเช่น Phenol formadehyde หรือที่เรียกว่า Bakelite ยางดิบหากผ่านกรรมวิธี Valcanization ก็เป็นพลาสติกประเภทคงรูปอย่างหนึ่ง

สมบัติและประโยชน์ของพลาสติกบางชนิด

1. โปลีเมทธีนเมตาอะคริเลต (Polymethymethaacrylate) หรือ อะคริลิค (Acrylics) มีตัวย่อว่า PMMA รู้จักกันดีในชื่อว่าการค้าว่าเพลคซิกกลาส (Plexiglass) ลูไซท์ (Lucite) โพลีกลาส (Polyglass) ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมในสหรัฐอเมริกา ปี ค.ศ. 1936 อะคริลิค ได้ถูกนำไปผสมกับพลาสติกชนิดอื่นเช่น สไตรีน (styrene) บ้าง พิวีซี บ้าง เกิดเป็นพลาสติกชนิดใหม่ เช่น Methyl Methacrylate Styrene เป็นต้น
คุณสมบัติ
เป็นพลาสติกที่ใสที่สุดชนิดหนึ่ง แข็งแรงพอสมควร เป็นรอยขีดข่วยง่ายทนแสงอุลตราไวโอเลทได้ดี ทนความร้อน ความเย็น เป็นฉนวนไฟฟ้าดีมาก ทนสารเคมีได้พอสมควร ไม่ควรให้ถูกน้ำมัน เบนซิน อาซีโทน คลอโรฟอร์ม สเปร์น้ำหอม และพวกรดออกซิไดซิ่ง ชนิดเข้มข้น ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไม่เป็นพิษ โปร่งใส อะคริลิคยังทำเป็นสีต่าง ๆ ได้มีทั้งชนิดใส ฝ้าและทึบแสง

ประโยชน์
นิยมนำไปทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ป้ายร้ายค้า ป้ายโฆษณา โคมหลังคา กรอบแว่นตา เลนซ์ โคมไฟ เฟอร์นิเจอร์ ถาด และถ้วยบรรจุของเหลวชนิดใส
2. โปลียาไมด์ (Polyamides or Nylon) ย่อว่า PA พลาสติกชนิดนี้รู้จักกันดีในชื่อ ไนล่อน ซึ่งคิดค้นและนำเข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมเมื่อ ค.ศง 1938 โดยบริษัท Du Pont จุดประสงค์เพื่อใช้เป็นวัสดุทนแทนเส้นไหมในอุตสาหกรรมทำถุงเท้า ซึ่งได้รับความสำเร็จอย่างงดงามในช่วงระยะเวลาอันสั้น ไนล่อนได้เข้ามามีบทบาทแทนเส้นไหมเกือบทั้งหมด
คุณสมบัติ
มีน้ำหนักเบา ราคาแพง แข็งแรง ทนทาน ตกไม่แตก ไม่มีปฏิกิริยาต่อน้ำมัน ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส และไม่เป็นพิษ เป็นฉนวนไฟฟ้าแต่ไม่เหมาะสำหรับไฟฟ้าแรงสูง มีความทนทานต่อการเสียดทานสูง รับแรงดคง แรงอัดได้ดี ทนความร้อน ทนการขีดข่วน ทนกรดชนิดอ่อน ทนด่างได้ทั้งชนิดอ่อน และเข้ม สามารถทำเป็นสีต่าง ๆ ด้

การใช้ประโยชน์
ใช้ทำเครื่องนุ่งห่ม ทำเกียร์ แบริ่ง บูช ส่วนรับน้ำหนักและมีแรงเสียดทานสูง ในรูปเส้นใยใช้ทำร่มชูชีพ ถุงเท้า เสื้อฟ้า เอ็นตกปลา ผงกำมะหยี่ นอกจากนั้นยังใช้ทำค้อนพลาสติก วาวล์ ท่อส่งน้ำมันและสารเคมีอื่น ๆ ใบพัด ขวดสเปรย์บางชนิด

3. โปลีสไวนีล ครอไรด์ (Polyvinylchloride) ย่อว่า PVC มีคุณสมบัติทนทางเคมี ทำความสะอาดง่ายไม่เกาะติดสิ่งสกปรก จึงใช้ทำกระเบื้องยางปูพื้นซึ่งมักจะผสมใยหิน (Asbestos) ด้วยคุณสมบัติเหนียวทนทานใส และพิมพ์ง่ายจึงนิยมใช้ทำท่อน้ำ สายไฟฟ้า ถุงมือ ของเด็กเล่นชนิดเป่าลม ถ้วยและถาดบรรจุอาหารชนิดแผ่นบาง ใช้ทำถุงและพลาสติกบรรจุของ รองเท้าเด็ก ขวดน้ำมันพืชชนิดต่าง ๆ

4. โปลีเอททีลีน (Polyethylene) ย่อว่า PE มีน้ำหนักเบาในรูปของแผ่นบาง สามารถพับงอได้ดี มีความหนามากขึ้นจะคงรูปรับแรงดึงและแรงอัดได้น้อย มีความยืดตัวได้สูงถึง 500 เปอร์เซ็นต์ ฉีกขาดยาก มีลักษณะคล้ายขี้ผึ้ง ไม่เกาะติดน้ำ เป็นฉนวนไฟฟ้าได้ดีมาก โดยทั่วไป โปลีเอททีลีน มีลักษณะใส เมื่อเป็นแผ่นบางจะมีสีขุ่น เมื่อความหนาเพิ่มขึ้น สามารถทำเป็นสีต่าง ๆ ได้ตามต้องการ
การใช้ประโยชน์
โปลีเอททีลีน มีปริมาณการใช้สูงสุดในพลาสติกประเภทเทอร์โมพลาสติก แม้ราคาต่อปอนด์จะไม่ถูกที่สุด แต่เพราะมีน้ำหนักเบากว่าจึงสามารถผลิตได้ปริมาณมาก นิยมใช้ทำถุงบรรจุอาหารและเสื้อผ้า ตุ๊กตาเด็กเล่น ดอกไม้พลาสติก ภาชนะบรรจุในครัว ถาดทำน้ำแข็งในตู้เย็น ขวดและภาชนะบรรจุของเหลว พลาสติกคลุมโรงเพาะชำ สายเคเบิล แผ่นกันความชื้นในอาคารและของใช้ราคาถูกอีกมากมาย

5. โปลีสไตรีน (Polystyrene) ย่อว่า PS น้ำหนักเบาที่สุดในพลาสติกชนิดแข็ง (Rigid Plastices) มีความคงรูปดีแต่เปราะสามารถทำเป็นสีต่าง ๆ ได้ มีทั้งใส ฝ้าและทึบ ผิวมีทั้งเรียบและขรุขระ ไม่มีรสและกลิ่นเป็นฉนวนไฟฟ้าดี
การใช้ประโยชน์
ทำกล่องบรรจุอาหารชนิดใส กล่องบรรจุของใช้อื่น ๆ เช่น แปรงสีฟัน ของเด็กเล่น ไม้บรรทัดราคาถูก แผง และตู้โทรทัศน์ วิทยุ ในรูปโฟม ซึ่งเรารู้จักดีในชื่อสไตโรโฟม (sryrofoam) ใช้ทำป้ายและสิ่งประดับในงานด้าน ๆ วัสดุกันแตกในกล่องบรรจุของแผ่นฉนวนกันความร้อนและเสียง

6. ฟีนอล – ฟอร์มาลดีไฮด์ (Phenol – Formaldehyde) ย่อว่า PF พลาสติกชนิดนี้รู้จักกันดี ในชื่อ เบกเกลไลท์ (Bakelite) มีปริมาณการใช้สูงสุดในประเภทเทอร์โมเซทติ้ง
การใช้ประโยชน์
นิยมทำด้ามมือจับ หูหม้อ หูกะทะ ฝาครอบจานจ่ายรถยนต์ อุปกรณ์ไฟฟ้า ถาดบรรจุสารเคมี

7. โปลีเอสเตอร์ (Unsaturated Polyester) ย่อว่า UP รู้จักกันดีในรูปของผลิตภัณฑ์ไฟเบอร์กลาส การใช้ประโยชน์ นิยมทำผลิตภัณฑ์ไฟเบอร์กลาส เช่น เรือ รถยนต์ ชิ้นส่วนในเครื่องบิน กระดุมชนิดต่าง ๆ ไม้อัดต่าง ๆ เคลือบด้วยโปลีเอสเตอร์

8. ยูเรียฟอร์มาลดีไฮด์ (Ureaformadihyde) ย่อว่า UF คุณสมบัติ ตกไม่แตก ทนต่อน้ำยาเคมี ไขมัน และน้ำมัน เป็นฉนวนไฟฟ้า บางอย่างทึบแสงบางอย่างโปร่งแสง ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไม่เป็นพิษ ประโยชน์ที่อุณหภูมิใช้งานได้คือ 70 – 80 องศาเซนติเกรดใช้ทำกระดุมเรือ ตัวถังรถยนต์ ยูเรียชนิดเหลวนิยมใช้ทำกาวไม้อัด และซิปบอร์ด น้ำยาเคลือบผิวประเภทผลิตภัณฑ์นิยมใช้ทำอุปกรณ์ไฟฟ้า ตู้วิทยุ ปุ่มจับด้ามเครื่องมือ

9. เมลามีนฟอร์มาลดีไฮด์ (Melamineformande hyde) ย่อว่า MF คุณสมบัติมีน้ำหนักมากกว่าพลาสติกทั่ว ๆ ไปเล็กน้อย คือมีสมรรถภาพ ระหว่าง 1.47 – 1.55 รับแรงดึงได้ดีพอสมควร รับแรงอัดและแรงบิดงอได้ดีมาก ทนความร้อนหากผสมใยหินจะทนความร้อนได้ถึว 400o F และใช้เก็บความเย็นได้ในอุณหภูมิ – 70o F คุณสมบัติทางไฟฟ้าเป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดีกับกระแสไฟฟ้า ความถี่ต่ำไม่เหมาะกับการใช้กับกระแสไฟฟ้าความถี่สูง คุณสมบัติทางเคมี ทนกรดด่างชนิดแก่ ทนสารเคมีอื่น ๆ เช่น ผงซักฟอก น้ำมัน ไขมัน ทินเนอร์ ดูดซึมน้ำได้บ้าง น้ำชากาแฟจะทำให้เกิดคราบเปื้อนได้
การใช้ประโยชน์
นิยมใช้ทำถ้วยชามมากที่สุด นอกจากนั้นยังใช้ทำวัสดุปิดผิวโต๊ะที่รู้จักกันดีในชื่อ โฟไมก้า (Formica) และ Texolite ชนิดเหลวใช้ทำกาว

10.โปลีสเตตระฟลูออโรเอสทีลีน (Polytereafluoroethylene) ย่อว่า PTFE เป็นพลาสติกที่มีน้ำหนักมากที่สุดชนิดหนึ่ง กับแรงดึงและแรงอัดได้ดีพอสมควร แต่รับแรงกระทบได้ดีมาก
การใช้ประโยชน์
เนื่องด้วยพลาสติดชนิดนี้มีราคาแพงมาก จึงถูกนำไปใช้ในงานที่ต้องการคุณสมบัติพิเศษหลายอย่างรวมกับคุณสมบัติด้านทนความร้อน ใช้ทำฉนวนไฟฟ้ากับลวดไฟฟ้าที่ต้องเชื่อมด้วยความร้อนปะเก็น (Gasket) ในเครื่องจักรแหวนลูกสูบ (Piston Rings) วาล์ว (Valve) คุณสมบัติทางไฟฟ้าใช้ทำฉนวนและอุปกรณ์ไฟฟ้า คุณสมบัติทางไม่ติดไฟง่ายใช้เคลือบหม้อกะทะฝรั่ง (มีสีเขียว น้ำตาล ดำ)
10. โปลีคาร์บอเนต (Polycarbonate) ย่อว่า PC เป็นพลาสติกใสชนิดที่แข็งแรงที่สุด คุณสมบัติแข็งแรง ทนทานดีมาก ทนความร้อนขณะใช้งนได้ถึง 240oF หากนำไปใช้กับใยแก้วเป็นผลิตภัณฑ์ไฟเบอร์กลาสจะทนทานมากยิ่งขึ้นเป็นฉนวนไฟฟ้าดีทนกรดด่างได้ดี
การใช้ประโยชน์
เช่น ขวดนมเด็กชนิดดี โคมไฟฟ้าสาธารณะ ช่องมองหน้าหมวกนักบินอวกาศ ด้ามเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ แว่นตากันแดด

พลาสติกชนิดยืดหยุ่น (Elastomer)

โมเลกุลลูกโซ่ในพลาสติกชนิดนี้จะมีการเคลื่อนตัว (Slip) ระหว่างจุดที่ยึดเหนี่ยวที่อยู่ด้วยกันในขณะรับแรง หลังจากลดแรงกระทำออกจนหมด โมเลกุลจะเคลื่อนตัวกลับที่เดิม วัสดุชนิดนี้จึงเป็นประเภทไฮโพลีเมอร์ (High Polymer) ที่อุณหภูมิสูงมันจะถูกทำลายโดยวิธีทางเคมี แต่ที่อุณหภูมิต่ำมันจะเปราะ การยึดเหนี่ยวเกาะกันของโมเลกุลรูปตาข่ายจะเกิดขึ้นจากการผสมกำมะถันเข้าไปในยางธรรมชาติด้วยกรรมวิธีวัลเคไนเซชั่น (Vulcanization)

ยางธรรมชาติ

เกิดจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงของวัสดุธรรมชาติ วัสดุนี้เป็นน้ำยาง (สีเหมือนน้ำนม) ได้จากต้นยางพารา นำมารมควันหรือเติมกรดอะซิติก (Acetic Acid) กลายเป็นยางดิบที่เป็นชั้นหนา ยางดิบเมื่อถูกความร้อนละเหนียวเหมือนกาวจึงต้องทำการวัลเคไนเซชั่นให้ปฏิกิริยานี้หายไป ก่อนการวัลเคไนเซชั่นจะมีการย่อยยางดิบให้เล็กลงแล้วนำไปผสมกับกำมะถัน เติมสารสีลงไป แล้วจึงนำไปอัดขึ้นรูป สารที่เติมให้เป็นสีดำคือ คาร์บอนในรูปก๊าซ ทำให้มีความเค้น ความแข็ง ความยืดหยุ่น ความฝืด สูงขึ้น

การวัลเคไนเซชั่น (Vulcanization) คือ การทำให้ยางแข็งด้วยการใช้กำมะถันให้ยางดิบยึดติดกันแน่นโดยกระทำที่อุณหภูมิ 142o C ด้วยความดัน 5 บรรยากาศ ให้เป็นรูปชิ้นส่วนซึ่งสามารถใช้โลหะผสมเพื่อให้ยึดเหนียวกันแข็งแรงขึ้น เช่น ยางรถยนต์ สายยางน้ำ

ยางธรรมชาติเมื่อถูกน้ำมันแร่ เช่น เบนซิน เบนโซล น้ำมัน จะเกิดการบวมและทำให้คุณสมบัติทางกลสูญหายในที่สุด ยางธรรมชาติทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศทำให้ยางแข็ง ชิ้นส่วนยางที่สำคัญควรเก็บรักษาด้วยการทาแป้งพอกผิวกันเอาไว้ ความร้อน แสงแดด หรือความเย็นจัด เป็นตัวเร่งให้ยางแข็ง เปราะ หรืออ่อนเหลว ทำให้ความยืดหยุ่นหายไปในที่สุด
ยางอ่อน

ได้จากการผสมกำมะถัน 3 ถึง 20% ยางอ่อนนี้จะยิ่งยืดตัวและมีความยืดหยุ่นตัวได้มากหากมีกำมะถันผสมอยู่น้อย ในยางรถยนต์จะมีการใส่ไข (Wax) เข้าไปผสมเพื่อให้เกิดชั้นผิวบาง ๆ กันรังสีจากแสงอาทิตย์ได้ดีพอควร
ประโยชน์ใช้งาน
คือ ใช้ทำยางรถยนต์ สายยางน้ำ ปะเก็น สายพาน ส่วนที่รับแรงกระแทก ลูกรีดกดในงานพิมพ์ เมมเบรน ฉนวนเคเบิล สายพานลำเลียง พื้นรองเท้า เป็นต้น
ยางแข็ง

เกิดจากการวัลเคไนเซชั่นโดยมีกำมะถัน 30% ถึง 50% ยางแข็งนี้ใช้ปาดผิวได้ง่าย แต่เครื่องมือปาดผิวจะสึกหรอเร็วจึงต้องใช้เครื่องมือปาดผิวที่ทำด้วยเหล็กความเร็วสูงหรือทำโดยโลหะแข็ง
ประโยชน์ใช้งาน
คือ ใช้ทำเรืองแบตเตอรี่ ล้อรถลาก สารประสานสำหรับแผ่นขัดชิ้นงาน เป็นต้น
ยางฟองน้ำ

ผลิตจากการนำน้ำยางดิบ (สีน้ำนม) ผสมกับผงกำมะถันและสารผสมอื่น กวนตีให้เป็นฟองในเครื่องกวน นำไปเทในแบบแล้วทำการวัลเคไนเซชั่น
ประโยชน์ใช้งาน
คือ ใช้ทำฐานรองเครื่องพิมพ์ดีด แผ่นรองเช็ดเท้าในห้องนำ ใช้บุเก้าอี้รองนั่ง รองเท้าฟองน้ำ เป็นต้น
ยางเทียม

ได้มีการประเภทของยางเทียมที่สำคัญ (ตามชื่อการค้า) คือ บูนา (Buna) และเปอร์บูนาน (Perbunan) บูนา (Buna) เป็นโคโพลีเมอร์ (Copolymer) ของบูตาเดียน (Butadiene) กลั่นจากน้ำมันดิบหรือก๊าซที่ได้จากธรรมชาติกับสไตรีน (Styrene) ส่วนเปอร์บูนานเป็นโคโพลีเมอร์จากบูตาเดียนและอะคริโลไนไตรล์ (Acrylonitrile) มีลักษณะโครงสร้างโมเลกุลเหมือนกันยางธรรมชาติ ดังนั้นจึงมีคุณสมบัติคล้ายยางธรรมชาติ จึงถูกนำมาวัลเคไนเซชั่นกับกำมะถัน บูนาและเปอร์บูนานสามารถผสมกับยางธรรมชาติ ทำเป็นยางรถยนต์ได้ ยางรถยนต์ที่ทำจากยางเทียมจะสามารถจับเกาะถนนได้ดีกว่ายางรถยนต์ที่ทำด้วยยางธรรมชาติถึงเกือบเท่าตัว เปอร์บูนานนี้ทนต่อน้ำมันและเบนซิน จึงใช้ทำเป็นปะเก็นในคาร์บูเรเตอร์ได้ ยางเทียมนี้มีความยืดหยุ่นสู้ยางธรรมชาติไม่ได้
ประโยชน์ใช้งาน
คือ ใช้ทำชิ้นส่วนเหมือนยางธรรมชาติ คือ ทำเป็นชิ้นส่วนที่อ่อน และแข็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปะเก็นรัศมี เมมเบรน สายยางน้ำ ยางรถยนต์ เป็นต้น
ซิลิโคน (Silicone)

อักษรย่อ SI เป็นพลาสติกชนิดหนึ่งที่แตกต่างไปจากพลาสติกชนิดอื่น โดยมีส่วนประกอบหลัก คือ ซิลิคอน ที่ได้จากการรีดักชั่นด้วยทรายและออกซิเจนในเตาไฟฟ้า (ในขณะที่พลาสติกชนิดอื่นมีคาร์บอนเป็นธาติหลักตามแต่ส่วนประกอบทางเคมีและกรรมวิธีการผลิต) แล้วจะกลายเป็นน้ำมันซิลิโคน (Silicone Oil) ซิลิโคนเรซิน (Silicone Resin) หรือยางซิลิโคน

ซิลิโคนทุกชนิดมีคุณสมบัติ คือ น้ำจะไม่จับผิว ติดกาวไม่ได้ มีสถานะเป็นกลางทางเคมี เป็นฉนวนไฟฟ้าและค่อนข้างจะทนความร้อนได้สูง

น้ำมันซิลิโคนเป็นของเหลวใสเหมือนน้ำ ไม่มีกลิ่น มีอุณหภูมิตั้งแต่ – 60o C ถึง 250o C ค่าความหนืดจะไม่เปลี่ยนแปลง น้ำมันซิลิโคนใช้ฉีดเป็นผิวชั้นบางเคลือบบนแบบงานวัด (Compression Mould) สำหรับชิ้นงานพลาสติกหรือชิ้นส่วนยางเพื่อทำให้ชิ้นงานที่อัดอยู่ในแบบหลุดออกได้ง่าย

สารหล่อลื่นซิลิโคนเหมาะกับรองเพลาลูกกลิ้งที่ทำงานที่อุณหภูมิสูงมากหรือต่ำมาก ๆ ได้

2551/09/29

กลุ่มโลหะที่ไม่ใช่เหล็ก : Non Ferrous Metal


โลหะที่ไม่ใช่เหล็ก (Non Ferrous Metal)


โลหะที่ไม่ใช่เหล็กในทางอุตสาหกรรมการผลิตแล้วจะใช้ประมาณ 25% โดยน้ำหนักของโลหะเหล็กเท่านั้น อาจเนื่องมาด้วยการขาดความแข็งแรงทางด้านโครงสร้างหรือคุณสมบัติทางเชิงกลที่ไม่ดีนัก จึงทำให้การนำไปใช้โดยตรงไม่เป็นที่นิยม แต่จะถูกใช้ในรูปแบบของสารประสมเพิ่มหรือธาตุที่เพิ่มเติมคุณสมบัติพิเศษให้กับโลหะอื่น ๆ เช่น คุณสมบัติทางด้านความทนทานต่อการกัดกร่อนของกรดและด่าง การนำไฟฟ้า หรือการทำให้โลหะอื่นง่ายต่อการขึ้นรูป
การถลุง (Smelting) โลหะที่ไม่ใช่เหล็กนั้นจะเริ่มจากการคัดแยกหรือแต่งสินแร่(Ore Dressing)ก่อนแล้วจึงนำไปถลุงในเตาสูง (Blast Furnace) ที่นำมาใช้ในการถลุงโลหะที่ไม่ใช่เหล็กนั้นจะมีลักษณะ และรูปร่างรวมทั้งคุณสมบัติเหมือนกับเตาสูงที่ใช้สำหรับผลิตเหล็กดิบ (Pig Iron) ยกเว้นเพียงแต่มีขนาดที่เล็กกว่า และ ถลุงในเตาสะท้อน(Reverberatary Furnace)ซึ่งเป็นเตาอีกชนิดที่นิยมใช้กันมากในการถลุงโลหะที่ไม่ใช่เหล็ก โดยจจะมีการใช่ตัวล่อขี้ตะกรัน (Slag Inducer) หรือ ฟลักซ์ (Flux) ลงไปเพื่อลดการออกซิเดชั่น (Oxidation)

โลหะที่ไม่ใช่เหล็กสามารถแบ่งออกตามความหนาแน่นได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
โลหะหนัก (Heavy Metal) คือโลหะที่ไม่ใช่เหล็กที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า 5 kg/dm3 เช่น ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี หรือดีบุก
โลหะเบา (Light Metal) คือโลหะที่ไม่ใช่เหล็กที่มีความหนาแน่นมากกว่า 5 kg/dm3 เช่น อลูมิเนียม แมกนีเซียม เบริลเลียโซเดียม แคลเซียม และลิเทียม


ทองแดง (Copper)

เป็นโลหะที่ไม่ใช้เหล็กที่ใช้มาก มาเป็นที่สองรองมาจากเหล็ก มีสัญญลักษณ์ทางเคมี คือ Cu มีความแข็งตามสเกลของมอห์ (Moh’s scale) 2.5 – 3.0 มีจุดหลอมเหลว 1083o C จุดเดือนที่ 2595o C อ่อนตัวที่ 20o C มีความหนาแน่น 8.89 มีความต้านทานไฟฟ้า (Electrical Resistevity) 1.71 ที่ 20o C และมีความนำฟฟ้า (Electrical Conductivity) ในแนวตั้ง และโดยน้ำหนักที่เด่นมากเป็นรองก็แต่เงินและอลูมิเนียมเท่านั้น มนุษย์รู้จักใช้ประโยชน์ของทองแดง ทำเครื่องใช้ไม้สอยและอาวุธต่าง ๆ ตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ที่เรียกว่ายุคสัมฤทธิ์ (Bronzeage) มาตราบจนปัจจุบันนี้ทองแดงยังเป็นโลหะที่ใช้งานอย่างแพร่หลายมาก มาเป็นที่สองรองลงมาจากเหล็กและเป็นโลหะที่สำคัญในกลุ่มโลหะที่ไม่ใช่เหล็ก (Non – Ferrous Metals) ทองแดงเป็นสัสตุที่เป็นตัวนำความร้อนที่ดีและมีความต้านทานต่อการกัดกร่อนดีอีกด้วย ดังนั้นทองแดงจึงถูกใช้ทำเป็นส่วนประกอบของหม้อต้มน้ำเครื่องถ่ายเทความร้อน ฯลฯ คุณสมบัติของทองแดงอีกประการหนึ่งก็คือ มีความต้านทานจำเพาะต่ำ เป็นที่สองรองจากเงิน ปริมาณทองแดงที่ผลิตได้ประมาณครึ่งหนึ่งใช้ในการอุตสาหกรรมไฟฟ้า เช่น ใช้ทำสายไฟฟ้าขดลวดที่ใช้ในมอเตอร์และเยนเนเรเตอร์ (Generators) ไฟฟ้า ฯลฯ ความต้านทานจำเพาะของทองแดงที่มีค่าสูงกว่าเงินเพียงเล็กน้อยและต่ำกว่าอลูมิเนียมประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ของทองแดงก็คือโลหะสำหรับผสมเป็นโลหะผสม (Alloy) มีหลายชนิด เช่น ทองเหลือง (Brass) ทองบรอนซ์ (Bronze) พวกโลหะโมเนล และใช้ทำลวด Thermocouple ชนิด Copper – Constant ทองแดงและทองแดงผสมมีคุณสมบัติดีเด่นหลายประการ เช่น
1. คุณสมบัติต้านทานแรงดึงดี และมีช่วงพิกัดกว้าง (ขึ้นกับชนิดของทองแดงและกรรมวิธีผลิต) ทองแดงบริสุทธิ์มีคุณสมบัติอ่อนและเหนียวสามารถรีดให้เป็นแผ่นบาง ๆ ขนาด 1/500" สามารถดึงเป็นเส้นลวดเล็ก ๆ ขนาด 1/1000" โดยไม่ขาดทุบตีเป็นวัตถุสำเร็จรูปโดยไม่มีการแตกร้าว
2. ความเหนียวของทองแดงสูงมากสามารถขึ้นรูปโดยไม่เสี่ยงต่อการแตกหัก
3. เป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดีมาก (100 เปอร์เซ็นต์ แต่เงิน 106 เปอร์เซ็นต์)
4. เป็นตัวนำความร้อนที่ดีมาก (100 เปอร์เซ็นต์ แต่เงิน 108 เปอร์เซ็นต์)
5. กลึงไสขึ้นรูปได้ง่าย เมื่อผสมธาตุอื่นบางตัวเข้าไป
6. ต้านทานความล้าได้ดี
7. ไม่มีสารแม่เหล็ก
8. ทนทานต่อการกัดกร่อนโดยเฉพาะเมื่อใช้กับกรดและน้ำทะเล
9. ทดทานต่อการสึกกร่อน (wear resistance)
10. มีสีสวยน้ำใช้
11. ทองแดงและโลหะผสมทองแดงแทบทุกชนิดสามารถเชื่อมได้อย่างง่ายดาย
คุณสมบัติทางฟิสิกส์ของทองแดง
น้ำหนักอะตอม (Atomic weight) 63.57
โครงสร้างของผลึก Face Centered Cubic (FCC.)
มิติของแลททิช (oA) 3.6078(oA=Angstrom) Unit
ความหนาแน่น (20o C) 8.94=หน่วยวัดขนาดคลื่นแสง
จุดหลอมเหลว 1083 o Cเท่ากับหนึ่งในร้อยล้าน
จุดเดือดกลายเป็นไอ 2595 o Cของเซนติเมตร
ความร้อนจำเพาะ (25o C) 0.0919 cal/g o C(1oA=10-8 ซม.)
สัมประสิทธิ์การขยายตัว 16.47 x 10-6o C
ความต้านทานจำเพราะ (30o C) 1.682 ไมโครโอห์ม/ซม3
คุณสมบัติทางกล
Tensile Strength 17 Kg/mm2
Elastic Limit 10 Kg/mm2
Elongation 35 – 50 %
Hardness 35 – 50 HB
Modulus of Elasticity 12,000 Kg/mm2
ประโยชน์ของทองแดง

เนื่องจากทองแดงมีคุณสมบัติ ductility สูงและมีความต้านทานไฟฟ้าต่ำ ดังนั้น Cu ประมาณมากกว่า 50% ใช้ในการทำ Alloy เช่น Brass, Bronze และ Monel และอีกประมาณ 20% ใช้ทำเครื่องมือถ่ายเทความร้อน เช่น Condenser, evaporator และอื่น ๆ

ตัวอย่างของ Cu เช่น คอมพิวเตอร์ (Cu + Ag) ขึ้นส่วนในเครื่องยนต์, ปลอกกระสุนระฆัง (Cu + Sn) สปริงชนิดต่าง ๆ ทำจากบรอนซ์ ดีบุก ผสมฟอสฟอรัส, คาร์บิวเรเตอร์ (Cu + Sn + Zn + Pb) บูชและแบริ่ง เป็นต้น โลหะผสมทองแดง เช่น ท่อกลั่น (condensortube) ปลอกกระสุนปืน ดอกกุญแจ เหรียญกระษาปณ์ เช่น เหรียญบาท และห้าบาท ทองแดงที่ใช้ในงานไฟฟ้าวิทยะจะต้องมีความบริสุทธิ์มากถึง 99 – 99% ถ้าทำให้บริสุทธิ์ 100 เปอร์เซ็นต์ ต้องใช้วิธีแยกด้วยไฟฟ้าถ้าต้องการความบริสุทธิ์เพียง 99.5% ใช้วิธีหลอมธรรมดาแล้วกวนด้วยไม้สด


สังกะสี (Zine)

เป็นโลหะที่ค่อนข้างหนักมีสีขาวปนน้ำเงินนิยมใช้กันมากเพราะราคาถูกทนการกัดกร่อนและใช้ผสมกับโลหะอื่น ๆ ได้มีความหนาแน่นน้อยกว่าทองแดงเล็กน้อย สังกะสีบริสุทธิ์มีความแข็งแรงต่ำมาก อุณหภูมิการคืบตัวทีอุณหภูมิห้องที่อุณหภูมิความแข็งแรงจะลดลงมาก ถ้าอุณหภูมิต่ำมาก อุณหภูมิการคืบตัวที่อุณหภูมิห้องที่อุณหภูมิความแข็งแรงจะลดลงมาก ถ้าอุณหภูมิต่ำมาก สังกะสีมักจะเปราะ สังกะสี เป็นโลหะที่มีจุดหลอมตัวต่ำ หล่อหลอมง่ายกลึงไส่ขึ้นรูปง่ายสีขาวสวยน่าใช้ ทนทานต่อการเกิดสนิมและโลหะผสมของสังกะสีมีกำลังวัสดุสูงพอใช้ ในปัจจุบันจึงได้รับความนิยมในการทำชิ้นส่วนเครื่องใช้สอยและเครื่อกตกแต่งต่าง ๆ ที่ทำด้วยโลหะ เช่น ขอบวิทยุ โทรทัศน์ ขอบกระจกและเครื่องตกแต่งในรถยนต์ นอกจากนี้ยังใช้ทำกระบอก ถ่านไฟฉาย ทำแผ่นบล๊อค ป้ายชื่อ ชิ้นส่วนบางอย่างของรถยนต์ ภาชนะในครัวของเด็กเล่นและกุญแจ เป็นต้น

สังกะสียังนิยมใช้ อาบบนโลหะอื่น ๆ เช่น เหล็กแผ่น ลวดเหล็กสลักและน๊อต เหล็ก เพื่อป้องกันการเกิดสนิมบนเหล็ก นอกจากนี้แล้วสังกะสียังมีประโยชน์มากในการผสมกับทองแดง ทำทองเหลือและบรอนซ์ชนิดต่าง ๆ

คุณสมบัติของสังกะสี
1. เป็นโลหะค่อนข้างหนัก มีสีขาวปนน้ำเงิน
2. เป็นโลหะที่อ่อนแต่มี ductility ต่ำที่อุณหภูมิบรรยากาศ
3. ถ้าเผาให้ร้อน 100 – 150o C สังกะสีจะมีค่า ductility สูง
4. สามารถรีดเป็นแผ่นหรือเป็นเส้นได้ง่าย
5. มีคุณสมบัติสามารถทนต่อการกัดกร่อน (Corrosion) ในบรรยากาศธรรมดาได้ดี แต่ไม่ทนต่อกรดและด่าง
ข้อเสียของสังกะสีคือ อัตราการขยายตัวสูงเมื่อถูกความร้อน

ประโยชน์ของสังกะสี
1. ใช้เคลือบแผ่นเหล็ก (Galvanizing) และท่อน้ำประมาณ 40% ของสังกะสีที่ผลิตได้
2. ใช้เป็นโลหะผสมทำพวกโลหะผสม เช่น ทองเหลืองประมาณ 20% ทำโลหะผสมที่ใช้กับ Die Casting ประมาณ 26% ทำสังกะสีแผ่นประมาณ 12% ทองเหลืองประมาณ 2% ใช้ทำสารประกอบอื่น ๆ เช่น ทำสังกะสีคลอไรด์ ใช้สำหรับรักษาเนื้อไม้
3. ใช้ในการหล่อแบบถาวร (Die casting) โลหะผสมสังกะสีหลายอย่างทำโดยวิธีหล่อแบบถาวร
4. ใช้ทำทองเหลืองโดยทั่วไปมีสังกะสี 10 – 30 เปอร์เซ็นต์
5. การรีดขึ้นรูปสังกะสีที่รีดที่ใช้ในอุตสาหกรรมมีความบริสุทธิ์ต่าง ๆ กัน ส่วนมากผสมทองแดงลงไปถึง 10% สังกะสีนี้อ่อนตัวและทำงานง่ายที่อุณหภูมิห้อง

ดีบุก (Tin)

ดีบุกมีสัญญลักษณ์ว่า Sn ความหนาแน่น 7.3 กก/ดม3 จุดหลอมเหลว 232o C ความเค้น แรงดึงดูด 4 – 5 กก/มม2 อัตราการยืดตัว 40% ดีบุกเป็นโลหะที่ให้การเปลี่ยนแปลงอันยรูป (Allotropic) คล้ายคลึงกับเหล็ก กล่าวคือดีบุกจะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างจากระบบหนึ่งไปอีกระบบหนึ่งคือจาก เบต้า (b) ไปเป็น แอลฟ่า (µ) การเปลี่ยน b à µ จะเกิดขึ้นที่อุณหภูมิต่ำกว่า 18o C ปกติดีบุก µ จะเปราะแตกง่ายและมักจะเกิดการขยายตัวมากในขณะเกิดการเปลี่ยนแปลงจาก b ไปเป็น µ ดังนั้นดีบุกมักจะแตกได้ง่ายเมื่ออยู่ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 18o C เรียกลักษณะนี้ว่าโรคดีบุก (Sickness of tin or warts) ทั่ว ๆ ไปที่อุณหภูมิบรรยากาศดีบุกเป็นโลหะอ่อนที่จุดหลอมตัวต่ำและมีคุณสมบัติทนต่อการกัดกร่อนได้ดี ดีบุกเป็นโลหะสีขาวคล้ายเงิน อ่อน และรีดเป็นแผ่นได้ง่าย ดีบุกเป็นโลหะยุทธปัจจัยเพราะมีปรากฏอยู่บนผิวโลกไม่มากแห่ง ดีบุกมีในประเทศไทย เช่นภาคใต้จังหวัดภูเก็ต ตะกั่วป่า พังงา ตรัง ยะลา สงขลา นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ชุมพร ภาคกลางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี กาญจนบุรี และภาคเหนือ แม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ตาก อุทัยธานี และคาบสมุทรอินโดจีน มีมากอีกแหล่งหนึ่งที่มีดีบุก คือ ประเทศโบลิเวียในทวีปอเมริกาใต้

ประโยชน์และการใช้ดีบุก

เนื่องจากดีบุกมีสมบัติต้านทานการกัดกร่อนได้ดี จึงใช้ดีบุกเคลือบแผ่นเหล็ก และภาชนะใส่อาหารเพื่อป้องกันสนิมและผลิตภัณฑ์กันขึ้น เช่น ห่อบุหรี่, ใบชาประมาณ 40% ของดีบุกที่ผลิตได้ใช้เคลือบแผ่นเหล็กหรือที่เราเรียกว่าเหล็กวิลาศ (Tin plate) ที่ใช้มุงหลังคาและผลิตภัณฑ์ทำโลหะผสมเพื่อทำตัวพิมพ์หนังสือ ทำหลอดบรรจุของเหลวเช่น ยาสีฟัน ประมาณ 20% ใช้ทำโลหะบัดกรีและ 15% ของดีบุกที่ผลิตได้ใช้ทำโลหะผสม เช่น บรอนซ์ (phosphor bronze) “white metal” bearing die casting และโลหะตัวพิมพ์ใช้ผสมในน้ำมันหล่อลื่นหรือตัวยาบางอย่างและโลหะผสมดีบุกที่สำคัญ เช่น ทองสัมฤทธิ์เป็นโลหะผสมระหว่างทองแดง ดีบุก และสังกะสี เป็นต้น
ตะกั่วบริสุทธิ์จุดหลอมละลายที่ 621o F เป็นโลหะที่สามารถนำไปใช้ทำอะไรได้หลายอย่างซึ่งได้มาจากคุณสมบัติพิเศษของตะกั่วคือน้ำหนักอะตอมสูงและความหนาแน่น ความอ่อน ความเหนียว ความแข็งแรงต่ำ จุดหลอมละลายต่ำต้านทานการกัดกร่อนและความสามารถในการหล่อลื่นความแข็งแรงทางด้านความล้าไม่ดี ดังนั้นจึงไม่สามารถจะนำมาใช้ภายใต้สภาวะของการสั่นสะเทือนมันจะเกิดการคืบตัว ณ อุณหภูมิห้องและยังมีข้อเสียอื่น ๆ อีกคือเป็นสารประกอบที่มีพิษ


ตะกั่ว (Lead)

ตะกั่วมีสัญญลักษณ์ทางเคมีว่า (Pb) เป็นโลหะที่มีความหนาแน่นมาก หนักอ่อนนิ่มและเหนียวขึ้นรูปง่าย จุดหลอมเหลวต่ำ และทนทานต่อการผุกร่อนได้ดีเลิศ ตะกั่วใช้มากในการทำแผ่นตะกั่ว และหม้อแบตเตอรี่รถยนต์ สารประกอบของตะกั่วใช้ผสมในน้ำมันเบนซินที่มีอ๊อคเทนสูง และใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับทำสีที่มีคุณภาพสูง โลหะตะกั่วยังใช้เป็นน้ำหนักถ่วงความสมดุลย์และเป็นฉากป้องกันรังสีเบต้า และรังสีแกมม่าจากสารกัมมันตะรังสีต่าง ๆ นอกจากนี้ยังใช้บุฝาผนังของห้องเก็บเสียง โลหะตะกั่วที่ผสมกับพลวงเรียกว่า ตะกั่วผสมพลวง (Antimonial Lead) จะมีความแข็งและมีกำลังวัสดุสูงกว่าตะกั่วธรรมดาใช้ทำตะกั่วแผ่นสำหรับทำปลอกโลหะหุ้มรอยเชื่อมของสายส่งไฟฟ้า (Cable sheathing) นอกจากนี้ยังใช้ทำแผ่นตะกั่วในหม้อแบตเตอรี่รถยนต์ อาร์เซนิคและแคลเซี่ยมยังอาจผสมกับตะกั่วเพื่อใช้ทำตะกั่วสำหรับทำปลอกหุ้มรอยเชื่อมของสายไฟฟ้า นอกจากนี้แคลเซี่ยมยังช่วยเพิ่มสมบัติความต้านทานต่อการเกิดครีพ (creep) ของตะกั่วนิยมใช้ทำท่อน้ำที่มีดีบุกผสมอยู่ประมาณ 10 – 25% มีชื่อทางการค้าว่า (Tern Metal) เหมาะสำหรับใช้เป็นโลหะสำหรับอาบบนแผ่นเหล็กที่จะนำไปทำถังเก็บน้ำมัน

คุณสมบัติทางฟิสิกส์
น้ำหนักอะตอม207.2
โครงสร้างของผลึกFace Centerd cubic (F.C.C)
ความหน้าแน่น11.34
จุดหลอมเหลว327.35o C
คุณสมบัติทางกล
Ultimate Tensile strength1.5 kg/mm2
Elastic Limit0.3 kg/mm2
Modulus of Electicity1000 kg/mm2
Hardness 5 H.B
Elongation 60%
ประโยชน์และการใช้ตะกั่ว
1. ใช้บุผนังแทงค์น้ำเพื่อป้องกันการกัดกร่อน
2. ใช้ในหม้อแบตเตอรี่รถยนต์ชนิดตะกั่ว – กรด
3. ทำท่อและข้อต่อระบายน้ำสำหรับห้องสุขาและอ่างล้างชาม
4. เพิ่มความสามารถในการตกแต่งแปรรูปได้ง่ายขึ้น
5. ในด้านชีววิทยาใช้เป็นเกราะกำบังเพื่อกั้นไม่ให้รังสีแกมม่าผ่านได้ (แต่ไม่สามารถกั้นนิวตรอนได้)
6. ตะกั่วใช้หุ้มสายเคเบิ้ลไฟฟ้า
7. ตะกั่วผสมดีบุกใช้ทำตะกั่วบัดกรีที่มีจุดหลอมละลายต่ำ
8. ใช้ผสมทำโลหะตุ๊กตา (Bearing metal)
9. ทำให้โลหะผสมละลายได้ง่าย และทำให้จุดหลอมละลายของโลหะผสมต่ำ เหมาะสำหรับใช้ในวัตถุประสงค์ต่าง ๆ
10. ใช้ทำตัวพิมพ์โลหะสำหรับงานโรงพิมพ์
11. ผสมกับดีบุกใช้เคลือบเหล็กกล้าที่เรียกว่า Tern plate
12. ตะกั่วเป็นส่วนผสมในน้ำมันเบนซิน
13. ตะกั่วใช้เป็นส่วนผสมสี
ตะกั่วใช้มากที่สุดในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ประมาณหนึ่งในสามของตะกั่วที่ผลิตได้นอกจากนี้ใช้สำหรับสายเคเบิ้ลไฟฟ้า ใช้ในอุตสาหกรรมสีทำโลหะบัดกรี ทำโลหะ Bearing และอื่น ๆ


นิเกิ้ล (Nickel)

นิเกิ้ลมีสัญญลักษณ์ว่า Ni ความหนาแน่น 8 – 8.5 กก/ดม3 จุดหลอมเหลว 1453o C องศาเซนติเกรดจุดเดือด 2730o C ความเค้นแรงดึงสูงสุด เมื่ออบให้เหนียว 40 – 50 กก/มม2 เมื่อรีดจนผิวแข็ง 70 – 80 กก/มม2 โครงสร้างของผลึก เป็นแบบ Face centered cubic (F.C.C) อัตราการยืดตัว เมื่ออบให้เหนียว 40 – 50% เมื่อรีดผิวแข็ง 2%
นิเกิ้ลเป็นโลหะสีขาวเหมือนเงิน เนื้อเหนียว และขัดขึ้นมันได้สวยงาม นิเกิ้ลทนต่อการกัดกร่อนได้ดี เมื่อผสมลงในเนื้อเหล็กจะทำให้เหล็กนั้นมีคุณสมบัติแม่เหล็กดีขึ้นมาก

นิเกิ้ลทางการค้า
นิเกิ้ลทางการค้า เป็นโลหะที่มีนิเกิ้ลอยู่ไม่น้อยกว่า 93% โดยน้ำหนักแบ่งออกเป็นชั้นคุณภาพต่าง ๆ ตามปริมาณนิเกิ้ลและธาตุที่ผสมในโลหะและมีชื่อ ซึ่งรู้จักกันดีในทางการค้าว่า A Nickel D นิเกิ้ล และ E นิเกิ้ล เพอร์มานิเกิ้ลและดิวรานิเกิ้ล

A – นิเกิ้ล เป็นนิเกิลบริสุทธิ์ทางการค้าที่มีปริมาณนิเกิลรวมกับโคบอลท์ไม่น้อยกว่า 99% โดยน้ำหนักสิงแปลกปนที่สำคัญ ได้แก่ แมงกานีส คาร์บอน และเหล็กโลหะนี้เหมาะสำหรับใช้งานที่ต้องการกำลังวัสดุปานกลางและมีความทนทานต่อการกัดกร่อนดี

D – นิเกิ้ล และ E – นิเกิ้ล ธาตุผสมที่สำคัญในนิเกิ้ลชนิดนี้คือ แมงกานีสโดย D – นิเกิ้ล มี 4.5% และใน E – นิเกิล 20% โดยน้ำหนักโลหะนี้มีกำลังสูงกว่า A – นิเกิ้ล แมงกานีสยังช่วยให้นิเกิลนี้สามารถใช้งานภายใต้บรรยากาศของกำมะถันได้ เช่น ใช้ในห้องสันดาปของเครื่องยนต์ สันดาปภายในนิยมใช้ทำเขี้ยวหัวเทียน นิเกิ้ลทั่ว ๆ ไปไม่เหมาะสมสำหรับใช้งานในบรรยากาศที่มีกำมะถัน เพราะจะทำให้โลหะละลายและแตกเมื่อร้อน (hot short)

เพอร์มานิเกิ้ล นิเกิลชนิดนี้มีกำลังวัสดุสูงกว่าที่กล่าวมาแล้ว เพราะผสมแมกนีเซียมและไทเทเนี่ยมจำนวนเล็กน้อยเข้าในโลหะ ซึ่งมีผลทำให้โลหะมีกำลังวัสดุสูงขึ้นทั้งยังสามารถปรับปรุงกำลังวัสดุให้สูงขึ้นโดยทางกรรมวิธีทางความร้อน เพ่อให้เกิดการแยกตัวแข็ง (aged hardening) ได้อีกด้วย คุณสมบัติการนำไฟฟ้าดีพอสมควร ดังนั้นโลหะนี้จึงเหมาะสำหรับใช้งานที่ต้องการทั้งกำลังวัสดุและการนำไฟฟ้าดี เช่น ทำสปริง ที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน

ดิวรานิเกิ้ล ธาตุผสมในนิเกิ้ลชนิดนี้ คือ อลูมิเนียมโดยปกติผสมประมาณ 4.5% โดยน้ำหนักธาตุอื่นที่สำคัญได้แก่ไทเทเนียมและซิลิกอน ช่วยส่งเสริมให้โลหะมีกำลังวัสดุสูงยิ่งขึ้น ทั้งสามารถปรับปรุงกำลังวัสดุให้สูงขึ้นได้อีกโดยการทำกรรมวิธีทางความร้อน


โครเมียม (Chromium)

โครเมียมมีสัญญลักษณ์ทางเคมีว่า Cr ความหนาแน่น 6.8 กก/ดม 3 จุดหลอมเหลว 1900o C
โครเมียมเป็นโลหะที่มีสีเทาคล้ายเหล็ก เมื่อหักดูรอยหักจะขาวเป็นมันวาบเหมือนเงินโครเมียมเป็นโลหะที่แข็งและเปราะ ทนต่อการกัดกร่อนได้ดีมาก เหมาะสำหรับใช้ชุบเคลือบผิวเพื่อมิให้เกิดขุมสนิม อุปกรณ์เครื่องมือใดที่ต้องการมิให้สึกหรอก็มักจะชุบโครเมียมแข็ง (Hard Chromium Plating) นอกจากนี้ โครเมียมยังเป็นวัสดุโลหะผสมที่สำคัญยิ่งอีกด้วย เช่น ใช้ทำเหล็กไร้สนิม (Stainless Steel) เป็นต้น เหล็กไร้สนิมที่เราใช้และเห็นกันอยู่ทุกวันนี้ในรูปของมีด ช้อน ส้อม ฯลฯ นั้นส่วนมากมีโครเมี่ยมผสมอยู่ 18 เปอร์เซ็นต์ นิเกิล 8 เปอร์เซ็นต์ ใช้ในการเคลือบนิเกิลหรือแผ่นเหล็กเพื่อทำให้แผ่นโลหะนั้น ๆ ไม่ขึ้นสนิมได้ง่าย สวยเป็นเงาดังจะเห็นได้จากส่วนต่าง ๆ ของรถยนต์ โลหะผสมโครเมียมที่มีประโยชน์อีกชนิดหนึ่งก็คือ โลหะผสมที่มีนิเกิล 80 เปอร์เซ็นต์ และโครเมียม 20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีความต้านทานไฟฟ้าสูง
แร่โครเมียม คือ แร่โครไมต์ (Chromite) มีสูตรเคมีว่า FeCr2O4 ในเนื้อสินแร่จะพบออกไซด์ของเหล็กและของโครเมียมปนกันมีมาในอาฟริกาใต้, โรดีเซีย, เตอรกี และรัสเซีย


แมงกานีส (Manganes)

แมงกานีสมีสัญญลักษณ์ทางเคมีว่า Mn มีความหนาแน่น 7.4 กก/ดม3จุดหลอมเหลว1250o C แมงกานีสเป็นโลหะที่แข็งและเปราะสี เป็นสีเทาคล้ายเหล็ก ส่วนมากใช้เป็นวัสดุโลหะผสมกับเหล็ก เป็นเหล็กกล้า เหล็กหล่อ ทองแดงผสมและโลหะเบาผสมเป็นต้น แมงกานีสบริสุทธิ์ ไม่มีที่ใช้งาน เหล็กกล้าทุกชนิดจะมีแมงกานีสผสมอยู่ตั้งแต่ 0.5 – 14% บรอนซ์ หรือทองแดงซึ่งมีแมงกานีส 3.5% จะมีความแข็งแกร่งเท่า ๆ กับเหล็กกล้าละมุน (Mild steel) ถ่านไฟฉายแบตเตอรี่แห้ง ทำแก้วและในอุตสาหกรรมการทำสี เป็นต้น
แมกา นีสเป็นโลหะที่สำคัญที่สุดในการใช้เป็นตัวไล่ออกซิเจนในการผลิตเหล็กกล้าทุก ชนิด ฉะนั้นจึงเป็นปัจจัยสำคัญในอุตสาหกรรมการผลิตเหล็กกล้า หากปราศจากโลหะชนิดนี้แล้วอุตสาหกรรมเหล็กกล้าอาจจะยังไม่เจริญก้าวหน้ามาจน เท่าทุกวันนี้ก็ได้ แมงกานีสที่ผลิตในโลกนี้กว่า 90 เปอร์เซนต์นำไปใช้ในการผลิตเหล็กกล้า แมงกานิสไม่เป็นแต่เพียงตัวไล่ออกซิเจนอย่างเดียวแต่ยังใช้ผสมทำให้เหล็กกล้ามีคุณภาพดีพิเศษขึ้นอีกด้วย แมงกานีสที่ใช้ในการผลิตเหล็กกว้านี้ส่วนมากใช้ในรูปของ เหล็กกล้าผสมแมงกานีส (Ferro Manganese) ที่มีแมงกานีสอยู่ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ เหล็กกล้าผสมแมงกานีสมีประโยชน์มากสำหรับใช้ทำเครื่องมือบดย่อยหินและรางรถไฟตอนที่เป็นรางโค้างหรือบริเวณที่ตัดและสับหลีกกัน ซึ่งต้องรับการขัดสีมาก ๆ ส่วนเหล็กกล้าที่ใช้ทำหมวกเหล็กสำหรับทหารนั้น มีส่วนผสมประกอบด้วยคาร์บอน 1.3% ซิลิกอน 1.5% และแมงกานิส 12.9% ถือว่าเป็นเหล็กกล้าผสมแมงกานีสชนิดหนึ่งเหมือนกัน


อลูมิเนียม (Aluminium)

คุณสมบัติพิเศษอย่างหนึ่งของอลูมิเนียมก็คือ มีน้ำหนักเบา มีความแข็งแรงอยู่ในเกณฑ์สูงจึงทำให้อลูมิเนียมสามารถเข้าไปแทนที่เหล็กได้ แทนที่ทองแดงได้ก็เพราะมีความต้านทานไฟฟ้าอยู่ในเกณฑ์ต่ำรองจากทองแดง นอกจากนี้อลูมิเนียมยังมีคุณสมบัติทนต่อการกัดกรอนได้ดีในบรรยากาศทั่วไป เพราะอลูมิเนียมเมื่อทิ้งไว้ในอากาศบริเวณผิวจะรวมตัวกับออกซิเจนในอากาศให้อลูมิเนียมออกไซด์ ซึ่งป้องกันไม่ให้ออกซิเจนแทรกซึมลงไปทำปฏิกิริยากับอลูมิเนียมภายในได้ คุณสมบัติที่ดีอีกประกานหนึ่งก็คือ สามารถรวมตัวกับโลหะอื่นให้โลหะผสมที่มีคุณสมบัติพิเศษหลายประการ คุณสมบัติที่ไม่ดีของอลูมิเนียมอย่างเดียวคือ Limit elastic ต่ำ ทำให้การใช้งานต้องอยู่ในขอบเขตจำกัดอลูมิเนียมใกล้เคียงกับทองแดงคือการเป็นสื่อการนำความร้อน และไฟฟ้า

อลูมิเนียมแบ่งออกเป็น 4 เกรด
1. อลูมิเนียม (A1) 99.99% มีคุณสมบัติต้านทานการกัดกร่อนได้ดีเยี่ยมในสภาวะของน้ำทะเล มีราคาแพงประโยชน์ใช้ในพวกอุปกรณ์ไฟฉายที่ต้องการความเข้มสูง ทำให้เกิดการสะท้อนแสงได้อยู่ (Search light or Reflector)
2. อลูมิเนียม (A2) 99.80% ใช้ในอุตสาหกรรมเคมีเพราะว่ามีความเหนียว (ductility) สูงคือสามารถโค้งงอได้เช่นทำ pipe, tube และแผ่นบาง ๆ ห่อหุ้มของ
3. อลูมิเนียม (A3) น้อยกว่า 99.60% ต้านทานต่อการเกิดกัดกร่อนได้ดีมาก เหมาะกับงานที่ไม่ต้องการอลูมิเนียมบริสุทธิ์มากนัก เช่น อุปกรณ์ไฟฟ้า สายเคเบิ้ล การส่งถ่ายกระแสไฟฟ้าบางทีก็เรียกเกรดนี้ว่า E.C. (Electrical conductor)
4. อลูมิเนียม (A4) 99% ใช้ทำพวกภาชนะใส่อาหารทั่ว ๆ ไป กล่องแผ่นที่ใช้ทำงานทั่ว ๆ ไปที่เราไม่ต้องการอลูมิเนียมบริสุทธิ์สูงนัก พวกท่อก็มีความเหนียวสูงพอควร
คุณสมบัติทางฟิสิกส์
อลูมิเนียมมีสัญญลักษณ์ทางเคมีว่า AL ความหนาแน่น 2.7 กก/ดม3
จุดหลอมเหลว 658o C
อุณหภูมิกลายเป็นไอ 1800o C
ความร้อนจำเพาะ (0 – 100o C) 0.2259 แคลอรี่/กรัมo C
ความต้านทานจำเพาะ (20o C) 2.699 ไมรครอโอห์ม/ซ.ม.

คุณสมบัติทางกล
ความเค้นแรงดึงสูงสุด 2 กก/มม2
Elastic Limit 3 กก/มม2
Modulus of elasticity 7800 กก/มม2
Hardness 16 H.B.
Elangation 45%


คุณสมบัติที่ดีเด่นของอลูมิเนียม
1. มีความหนาแน่นน้อย น้ำหนักเบา ความถ่วงจำเพราะ 2.7 ซึ่งเหล็ก 7.8 และมีกำลังวัสดุต่อหน่วยน้ำหนักสูง นิยมใช้ทำเครื่องใช้ไม้สอยตลอดจนชิ้นส่วนบางอย่างในเครื่องจรวจและขีปาวุธ
2. จุดหลอมเหลวต่ำ หล่อหลอมง่าย
3. มีความเหนียวมากสามารถขึ้นรูปด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ ได้ง่าย และรุนแรงโดยไม่เสี่ยงต่อการแตกหัก
4. ค่าการนำไฟฟ้าคิดเป็น 62% IACS (International Anneal Copper Standard)ซึ่งไม่สูงนัก แต่เนื่องจากมีน้ำหนักเบา ดังนั้นจึงใช้เป็นตัวนำไฟฟ้าในกรณีที่คำนึงถึงเรื่องน้ำหนักเบาเป็นส่วนสำคัญ
5. เป็นโลหะไม่มีพิษต่อร่างกายมนุษย์ (nontoxic) และมีค่าการนำความร้อนสูงใช้ทำภาชนะหุงต้มอาหารและห่อรองรับอาหาร
6. ผิวหน้าของอลูมิเนียมบริสุทธิ์ มีดรรชนีการสะท้อนกลับของแสงสูงมาก จึงใช้ทำแผ่นสะท้อนในแฟลชถ่ายรูป จานสะท้อนแสงในโคมไฟฟ้า ไฟฟ้าหน้ารถยนต์
7. ทนทานต่อการเกิดสนิม และการผุกร่อนในบรรยากาศที่ใช้งานโดยทั่วไปได้ดีมาก แต่ไม่ทนทานการกัดกร่อนของกรดแก่และด่างทั่วไป
8. ซื้อหาได้ง่ายในท้องตลาดและราคาไม่แพงนัก

วุลแฟรมหรือทังสเตน (Wolfram or Tungsten)

ทังสเตน มีสัญญลักษณ์ทางเคมีว่า W มีความหนาแน่น 19.3 กก/ดม3 จุดหลอมเหลว 3370o C (สูงที่สุดในบรรดาโลหะทั้งหลาย) ทังสเตนหรืออีกชื่อหนึ่งว่าวุลแฟรม เป็นโลหะขาวเหมือนเงินใช้ทำไส้หลอดไฟฟ้า เพราะสามารถโปร่งแสงได้มากกว่าไส้ชนิดอื่น และทนต่อความร้อนได้ดีด้วยวุลแฟรมมีที่ใช้มากในอุตสาหกรรม คือ ใช้เป็นวัสดุโลหะผสมทำเหล็กรอบสูง เหล็กเครื่องมือ และเหล็กโลหะแข็ง ซึ่งเป็นวัสดุคมมีดที่รักษาความคมไว้ดีมาก แม้ว่าอุณหภูมิงานจะสูง
Scheele ชาวสวีเดน เป็นผู้ค้นพบแร่ทังสเตนเป็นคนแรก ซึ่ง Scheele ได้พิสูจน์ว่าแร่นั้นประกอบด้วยปูนขาว แรดทังสติกในรูปของแคลเซียมทังสเตท ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า แร่ซีไลท์ คำว่าทังสเตนในสวีเดนมีความหมายว่าหินหนัก แต่ปัจจุบันได้มาจากแร่สีดำและหนัก ซึ่งเรียกกันว่า วุลแฟรม หรือ วุลแฟรมไมท์ ทังสเตนเป็นโลหะที่มีความสำคัญมากชนิดหนึ่งในด้านการอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า ประโยชน์ที่มีความสำคัญที่สุดของทังสเตนที่พบกันครั้งแรกคือใช้ทำเส้นใยในหลอดไฟฟ้า เพราะมีคุณสมบัติพิเศษบางประการคือ ไม่หลอมตัวที่อุณหภูมิต่ำกว่า 3400o C และในขณะเดียวกันมีความแข็งทั้งในขณะที่ร้อนและเย็นความจริงทังสเตนเป็นโลหะที่เปราะมาก และหลอมละลายยากเพราะมีจุดหลอมตัวสูง แต่ที่สามารถทำเป็นแท่งแล้วดึงเป็นเส้นลวดเล็ก ๆ ได้ก็โดยเอาผงทังสเตนมาอัดเป็นแท่งในแบบพิมพ์ ปัจจุบันนี้ทังสเตนที่ใช้ผสมกับเหล็กกล้ามีปริมาณสูงถึง 90% ใช้ผสมทำเหล็กกล้าความเร็วสูงทำทังเตนคาร์ไบด์ใช้ทำเครื่องมือสำหรับตัดโลหะที่สำคัญที่สุด คือ สเตลไลท์ (Stellite) ซึ่งเป็นโลหะผสม Co 5.5% Cr 33 – 35% W 10% C 1.5 – 2% ทังสเตนยังใช้ในรูปของสารประกอบเรียกว่า ทังสเตนบรอนซ์ ใช้ประโยชน์เป็นเครื่องตกแต่งผสมแก้วหรือเครื่องปั้นดินเผาทำให้มีสีสวยต่าง ๆ กัน ทังสเตนกลึงได้ยากเพราะว่ามันแข็งแต่สามารถเจียรนัยได้

ประโยชน์ของทังสเตน ณ ที่อุณหภูมิห้องโลหะทังสเตนสามารถนำไปใช้งานได้มากมาย ดังต่อไปนี้
1. ใช้เป็นอีเล็คโทรดสำหรับการเชื่อมแบบแกสเฉี่อย (การเชื่อมแบบทิก)
2. ใช้ทำไส้หลอดไฟฟ้าและอีเล็คตรอน
3. ใช้เป็นขั้วบวกสำหรับหลอดเอ็กซเรย์ และหลอดอีเล็คตรอน
4. เป็นธาตุที่ต้านทานไฟฟ้า
5. ใช้เป็นแม่พิมพ์ในการรีดเส้นลวด
6. ใช้ทำหัวฉีดในจรวด

โมลิบดินั่ม (MOLYBDENUM)

โมลิบดินั่ม มีสัญญลักษณ์ว่า Mo ความหนาแน่ 10.2 กก/ดม3 จุดหลอดเหลว 2622o C บางทีเรียกันว่า “มอลลี่” เป็นโลหะขาวคล้ายเงินไม่แข็งกระด้าง สามารถแปรรูปได้ง่ายกว่าทังสเตนโมลิบดินั่มบริสุทธิ์ ใช้มากในการทำที่ยึดของเส้นใยในหลอดไฟฟ้าทุกชนิด หลอดวิทยุ หลอดรังสีเอ็กซ์ ใช้ในจุดสัมผัสต่าง ๆ ในทางไฟฟ้า และเมื่อทำเป็นแผ่นริบบิ้นใช้เป็นตัวให้ความร้อนในเตาไฟฟ้า แบบที่ใช้ความต้านทานซึ่งอาจจะนำความร้อนได้สูงถึง 2000o C อย่างไรก็ดีประโยชน์ที่สำคัญที่สุดของโมลิบดินั่มนั้นได้แก่ ใช้ผสมกับเหล็กกล้าชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหล็กกล้าผสมนิเกิลและโครเมียม โมลิบดินั่มจะช่วยทำให้เหล็กกล้ามีความเหนียมมากขึ้น เหมาะสำหรับใช้ในที่ที่มีความกดดันและอุณหภูมิสูง เช่น ใช้ทำหม้อน้ำสำหรับเครื่องไอน้ำ ในเหล็กกล้าไม่ขึ้นสนิมที่มีโครเมี่ยม 18% นิเกิล 4% เมื่อผสมโมลิบดินั่ม 2 – 4% จะช่วยทำให้เหล็กกล้าชนิดนี้ต้านทานการขึ้นสนิมดีขึ้น แม้จะใช้ในทีอุณหภูมิสูง ๆ ก็ตามปัจจุบันใช้ โมลิบดินั่มแทนทังสเตนกันมากในการผลิตเหล็กกล้า ความเร็วรอบสูง นอกจานี้ผสมในเหล็กหล่อทำให้เหล็กหล่อมีความแข็งและทนต่อการสึกหรอมากขึ้นตามปกติจะใช้ในรูปของเหล็กผสมโมลิบดินั่ม (FERRO – MOLYBDENUM) เช่นเดียวกับแมงกานีสหรือทังสเตนท้ายสุดที่สารประกอบทางเคมีของโมลิบดินั่ม เช่น โซเดียมโมลิบเดทมีประโยชน์มากในอุตสาหกรรมหมึกและสีย้อมผ้าเป็นโลหะที่ใช้ผสมกับเหล็ก ทำให้เหล็กเหนียวเค้นแรงดึงสูงมากขึ้น และใช้เป็นอีเล็คโทรดในหลอดรังษีเอ็กซ์เรย์ โมลิบดินั่มเป็นโลหะแข็งมีคุณสมบัติทั่ว ๆ ไป คล้ายกับทังสเตนแต่สารประกอบของโมลิบดินั่มสารหนึ่ง คือ โมลิบดินั่มไดซัลไฟดิ์ (MoS2) กลับมีคุณสมบัติเป็นวัสดุหล่อลื่นที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง แร่โมลิบดินั่นที่สำคัญได้แก่ แร่โมลิดีไนท์ (MoS2) และแร่วุลพีไนท์ (PbMoO4)


วาเนเดียม (VANADIUM)

วาเนเดียม มีสัญญลักษณ์ว่า V ความหนาแน่น 5.7 กก/ดม3 จุดหลอมเหลวที่ 1715o C เป็นโลหะที่มีสีเทาคล้ายเหล็ก และแข็งมากทีเดียวในวงการช่างวาเนเดียมใช้เป็นวัสดุโลหะผสมกับเหล็ก เพียงแต่ผสมลงไปนิดหน่อย (ปกติไม่เกิน 0.2%) จะทำให้ความเค้นแรงดึงและความเหนียมของเหล็กสูงขึ้นมากมาย โลหะวาเนเดียมบริสุทธิ์ เตรียมได้ยากมากในการปฏิบัติเรามักเตรียมวาเนเดียมในลักษณะ (FERROVANADIUM) คือเป็นสารประกอบของเหล็กกับวาเนเดียม

ประโยชน์ของวาเนเดียมวาเนเดียมใช้เป็นธาตุผสมในเหล็กกล้าวาเนเดียมจะช่วยให้เหล็กกล้ามีคุณภาพดีขึ้นหลายประการดังนี้
1.บางส่วนของวาเนเดียม จะละลายในเนื้อเหล็ก ทำให้เหล็กกล้ามีกำลังความแข็งและอำนาจการยืดตัวสูง
2.ทำให้เหล็กกล้ามีเกล็ดผลึกละเอียดและสม่ำเสมอและลดความโน้มเอียงในการเติบโตของเกล็ดผลึกระหว่างการกระทำด้วยความร้อน
3.วาเนเดียมจะรวมตัวกับคาร์บอนเป็นคาร์ไบด์ (CARBIDE) ที่มีเสถียรภาพดี ทำให้เหล็กกล้ามีความคงทนและแข็งแกร่งขึ้นแม้อุณหภูมิสูง คุณสมบัติก็ไม่เปลี่ยนแปลงไป
วาเนเดียนเป็นโลหะที่มีกัมมันตภาพทางเคมีมาก และสามารถเปลี่ยนแปลงวาเลนซี่ได้ง่าย จึงทำให้วาเนเดียนเป็นตัวเร่งปฏิกริยาที่ดี และใช้มากในการผลิตสารเคมีต่าง ๆ เหล็กที่ใช้ในส่วนที่มีความเครียดมาก ๆ เช่น สลักสูบ ก้านสูบ ข้อเสือรถไฟ เพลา และลูกสูบ มักใช้เหล็กกล้าที่มีวาเนเดียนผสมอยู่ 0.2% แมงกานีส 0.7 – 0.95% และคาร์บอน 0.4 – 0.5% เหล็กกล้าผสมโครเมียมและวาเนเดียน ซึ่งมีวาเนเดียนผสมอยู่ 0.15 – 0.20% ใช้กันแพร่หลายในการทำหม้อน้ำ ท่อไอน้ำความร้อนสูง แท่งอีเล็คโทรดที่ใช้การเชื่อมโลหะเกียร์ต่าง ๆ เพลารถยนต์ ขาไก่พวงมาลัย เพลาข้อเหวี่ยง และเพลาใบพัด เป็นต้น ในเหล็กกล้าความเร็วสูงทุกชนิด มักจะมีวาเนเดียมผสมอยู่ตั้งแต่ 0.5 – 2.5% นอกจากนี้วาเนเดียมยังมีประโยชน์มากในการผลิตเหล็กกล้าชนิดที่ใช้ทำแบบพิมพ์ถาวรโดยผสมเข้าไปประมาณ 0.25% จะช่วยกำจัดสิ่งสกปรกต่าง ๆ ออกจากเหล็กกล้า โดยเฉพาะพวกที่ไม่ใช้โลหะ


โคบอลท์ (COBALT)

โคลบอลท์มีสัญญลักษณ์ว่า Co ความหนาแน่น 8.6 กก/ดม3 จุดหลอมเหลว 1490o C มีคุณสมบัติโดยทั่ว ๆ ไป คล้ายกับนิเกิล แต่ทว่าเหนียวกว่ามาก สีของโลหะโคบอลท์เป็นสีขาวออกชมพูเรื่อ ๆ จนเกือบจะเป็นสีเทา โคบอลท์ใช้เป็นวัสดุโลหะผสมกับเหล็กใช้ทำโลหะแม่เหล็ก และเป็นส่วนประกอบสำคัญของโลหะแข็ง (HARDMETAL) มนุษย์รู้จักใช้สินแร่โคบอลท์ในการผสมทำเครื่องเคลือบดินเผา และในอุตสาหกรรมแก้วดังจะเห็นได้จากแก้วโคอลท์สีน้ำเงินที่ค้นพบในหลุมศพของชาวอียิผต์ และในสิ่งสลักหักพังของเมืองทรอย (TROY) ประโยชน์ของโคบอลท์ที่สำคัญที่สุดในทางโลหะวิทยา ก็คือใช้ในโลหะผสมสำหรับทำเครื่องตัดโลหะด้วยความเร็วสูง ที่รู้จักกันทั่วไปและใช้มากที่สุด คือ สเตลไลท์ ซึ่งเป็นโลหะผสมของโคบอลท์ 45 – 50% โครเมี่ยม 30 – 35% และทัสเตน 12 –17% สเตลไลท์นี้สามารถตัดโลหะแข็งแกร่งได้โดยความเร็วสูง และยังคงรักษาความแหลมคมไว้ได้ แม้จะได้รับความร้อนถึงกับร้อนแดงก็ตาม ในพวกโลหะผสมคาร์ไบด์ต่าง ๆ มีโคบอลท์ผสมอยู่กว่า 10% ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมและช่วยให้โลหะคาร์ไบด์มีความแข็งแกร่งขึ้น
ใช้มากที่สุดในทังสเตนคาร์ไบด์ ซึ่งใช้ทำเครื่องมือตัดโลหะด้วยความเร็วสูง ส่วนต่าง ๆ ของเครืองยนต์กังหันแกส ปัจจุบันนี้ใช้โลหะโคบอลท์ 62% โครเมี่ยม 28% โมลิบดินั่ม 5.5% นิเกิล 2.5% และเหล็กกับคาร์บอนอีกเล็กน้อย โลหะชนิดนี้ทนต่อความร้อนได้ดีมาก ประโยชน์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของโคบอลท์ คือใช้ในการทำโลหะผสมที่มีคุณสมบัติเป็นแม่เหล็กถาวรหลายชนิด โดยเฉพาะโลหะผสม “อัลนิโค” ซึ่งประกอบด้วยอลูมิเนียม นิเกิลและโคบอลท์ ชนิดของแร่โคบอลท์ที่สำคัญได้แก่แร่สมอลไลท์ (CoAS2) และแร่โคบอลท์ไทท์ (Co.AS.S)


พลวง (ANTIMONY)

พลวงมีสัญญลักษณ์ว่า Sb ความหนาแน่น 6.6 กก/ดม3 จุดหลอมเหลว 630o C พลวงเป็นโลหะมันสีขาวเหมือนเงิน แข็งและเปราะใช้เป็นโลหะผสม โดยจะเสริมความแข็งให้แก่โลหะผสมนั้น ตัวอย่างเช่นใช้ผสมทำตะกั่วแข็งในหม้อแบตเตอรี่ โลหะบัดกรี และทำโลหะหล่อแบริ่งเป็นต้น ความแข็งของพลวงแลเห็นได้จากตะไบโลหะผสม 30% เหล็ก 70% พลวงขณะตะไบจะมีประกายไฟเกิดขึ้น พลวงมีลักษณะคล้ายสังกะสี แต่แข็งและเปราะมาก สามารถทุบให้ละเอียดเป็นผงได้ตามปกติแล้ว ลำพังโลหะพลวงเองไม่สามารถใช้ทำประโยชน์อะไรได้เลย แต่ใช้เป็นโลหะผสมสำหรับเพิ่มความแข็งให้ตะกั่วเพื่อใช้ทำตัวพิมพ์ต่าง ๆ ทำโลหะตุ๊กตา (BEARING METAL) แผ่นแบตเตอรี่กระสุนปืน ในการผสมกับตะกั่วทำโลหะตัวพิมพ์ต่าง ๆ นั้นนอกจากจะทำให้ตะกั่วแข็งขึ้นแล้วพลวงยังช่วยให้โลหะผสมนั้นมีคุณสมบัติหดตัวน้อยลงขณะที่แข็งตัว จึงเหมาะสำหรับใช้หล่อตัวพิมพ์ลูกปืนขนาดต่าง ๆ ที่ใช้กันส่วนมากตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งนั้น คือ โลหะที่มีพลวงอยู่ด้วย พลวงจะช่วยให้โลหะผสมนั้นแข็งเปราะจนกระทั้งเมื่อกระทบกับสิ่งของหรือระเบิดแล้วจะมีสะเก็ดกระจายทั่วไป ต่อมาพลวงเริ่มมีบทบาทสำคัญยิ่งในการวิวัฒนาการของโลหะตุ๊กตา ซึ่งคงต้องใช้อยู่ตราบจนทุกวันนี้ ปริมาณพลวงที่ใช้มากที่สุดคือ ผสมกับตะกั่วในการทำแผ่นแบตเตอรี่ และปริมาณการใช้คงนับวันจะทวีขึ้นเคียงคู่ไปกับพัฒนการความเจริญก้าวหน้าของอุตสาหกรรมรถยนต์ทุกชนิด เมื่อใช้พลวงผสมตะกั่วเพื่อใช้หุ้มสายโทรศัพท์ และเคเบิลอื่น ๆ จะทำให้โลหะนี้มีความทนทานต่อความล้า ถึง 15 เท่า ของตะกั่วธรรมดาที่ใช้ของพลวงส่วนมากอยู่ในรูปของโลหะผสมหรือสารประกอบหนึ่งในหกส่วนของพลวงที่ผลิตได้นั้นนำมาใช้ในการทำสารประกอบ เช่น LEAD ANTIMONAE และ ANTIMONY TETROXIDE ซึ่งใช้มากในอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา ทำสี และลูกระเบิดควันสำหรับหาระยะพลวงทั้งในรูปของออกไซด์ ซัลไฟด์ และโลหะบริสุทธิ์ใช้ผสมในการผลิตแก้วสีต่าง ๆ นอกจากนี้ที่ใช้หลักของพลวงยังมีอีกหลายอย่าง เช่น ในอุตสาหกรรมยาง และไม้ขีดไฟ เป็นต้น


บิสมัท (BISMUTH)

บิสมัทมีสัญญลักษณ์ว่า Bi มีความหนาแน่น 9.8 กก/ดม3 จุดหลอมเหลว 279o C บิสมัทเป็นโลหะที่แข็งเหมือนพลวงเป็นเมล็ดเกรนมาก และเปราะสีค่อนข้างแดง บิสมัทใช้เป็นวัสดุโลหะผสม ช่วยลดจุดหลอมเหลวให้น้อยลง เช่น ฟิวส์ไฟฟ้าเป็นต้น โลหะผสมที่มีจุดหลอมเหลวต่ำที่สุดมีส่วนผสมต่าง ๆ ดังนี้ บิสมัท 50% ตะกั่ว 25% ดีบุก 12.5% และแคดเมียม 12.5% จุดหลอมเหลวของโลหะนี้ 55.5o C ตัวอย่างงานอีกอย่างหนึ่งของบิสมัท คือ ใช้เป็นโคมสะท้อนไฟได้ดีมากประหนึ่งกระจก โลหะบัดกรีที่มีบิสมัทผสม 15% มีจุดหลอมตัวต่ำเหมาะสำหรับใช้บัดกรีกระป๋องหรือภาชนะที่ใส่กระสุนดินระเบิดต่าง ๆ ใช้ในอุตสาหกรรมแก้ว และเครื่องป่นดินเผาในรูป ออกไซด์ ประโยชน์ของบิสมัทที่สำคัญคือใช้ในการผลิตยารักษาโรคต่าง ๆ ซึ่งใช้บิสมัทถึง 75% ผลิตโลหะบัดกรี โลหะผสมบิสมัท ตะกั่ว พลวง มีประโยชน์ใช้สำหรับเชื่อมรอยต่อระหว่างแก้วกับโลหะในการทำภาชนะ หรือท่อ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำมัน อากาศ หรือ น้ำรั่ว ได้ใช้ผสมตะกั่วหรือดีบุกสำหรับหล่อทำของเด็กเล่นต่าง ๆ แร่บิสมัทที่สำคัญก็คือแร่บิสมัททิไนท์ (Bi2S2)


ปรอท (MERCURY)

ปรอทมีสัญญลักษณ์ว่า Hg มีความหนาแน่น 13.6 กก/ดม3 จุดหลอมเหลว –39o C ปรอทเป็นโลหะชนิดเดียวที่เป็นของเหลวที่อุณหภูมิธรรมดา มีสัมประสิทธิการขยายตัวสูงมาก จึงเหมาะที่จะใช้ทำเทอร์มอมิเตอร์ในงานช่างไฟฟ้า ปรอทใช้เป็นสวิทช์ได้ดี เรียกว่า สวิทช์ปรอท ไอของปรอทเมื่อเติมลงในหลอดไฟจะใช้แสงสีเขียวและอุตราไวโอเลต ใช้ได้ทั้งเป็นไฟส่องสว่าง และไฟวิทยาศาสตร์ฆ่าเชื้อโรค

ใช้ในอุปกรณ์ เครื่องไฟฟ้าต่าง ๆ ได้แก่ หลอดแก้วสูญญากาศ หลอดไฟนีออน ทำแบตเตอรี่แห้ง ปลายสวิทช์ไฟฟ้า และเครื่องตัดกระแสไฟฟ้าอีกหลายชนิด นอกจากนี้ยังเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการทำเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เช่น ทำเครื่องวัดอุณหภูมิ เครื่องวัดความ ของบรรยากาศ ปั๊มสูญญากาศ และอื่น ๆ อีกมาก ดีบุก เงิน และทองที่ละลายในปรอททำให้เกิดโลหะผสมขึ้น ซึ่งเรียกกันโดยทั่ว ๆ ไปว่า เป็นโลหะอะมาลกัม (AMALGAM) ใช้ประโยชน์มากในการทันตแพทย์ เช่น ใช้สำหรับอุดฟัน เป็นต้น นอกจากนี้สารประกอบของปรอทยังใช้ในอุตสาหกรรมน้ำมัน สี อุตสาหกรรมทำผ้าสักหลาด การถ่ายรูป และอื่น ๆ อีก ปรอทรวมตัวกับโลหะอื่นได้เกือบทุกชนิด ยกเว้น เหล็ก นิเกิล วุลแฟรม และโมลิปดีนั่ม เท่านั้น แร่ปรอทที่สำคัญก็คือแร่ซินนาบาร์ (Hgs)


แทนทาลัม (TANTALUM)

แทนทาลัมมีสัญญลักษณ์ว่า Ta ความหนาแน่น 16.6 กก/ดม3 จุดหลอมเหลว 3030o C แทนทาลัมเมื่อขัดแล้วเป็นโลหะที่มีสีขาวคล้ายทองคำขาว แต่ถ้าไม่ขัดจะมีสีค่อนข้างน้ำเงินคล้ายเหล็กกล้า ทั้งนี้คงเป็นเพราะเยื่อออกไซด์บาง ๆ ที่เกิดอยู่ที่ผิวแทนทาลัมเป็นโลหะที่ต้านทานต่อการกัดของสนิมได้ดีเป็นพิเศษ ที่อุณหภูมิธรรมดาไม่มีกรดเคมีใด ๆ ที่กัดแทนทาลัมได้ นอกจากกรดไฮโดรฟลูโอริคเท่านั้น แทนทาลัมบริสุทธิ์ มีคุณสมบัติทางกลคล้ายกับเหล็กกล้าละมุนเนื่องด้วยแทนทาลัมมีคุณสมบัติต้านทานต่อการกัดของสารประกอบเคมีได้ดีพอ ๆ กับทองคำขาว แต่ราคาถูกกว่ามากจึงมีประโยชน์อย่างยิ่งในอุตสาหกรรมเคมี โดยเฉพาะในการผลิตอุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ ที่ต้องใช้กับสารประกอบที่มีอำนาจการกัดโลหะสูง แม้แต่ในทางการแพทย์ก็เริ่มใช้แทนทาลัมในการทำเป็นแผ่น เป็นสกรู และหมุดสำหรับต่อกระดูกแทนทาลัม สามารถดูดแกสต่าง ๆ ได้ดีเป็นพิเศษอีกทั้งยังมีจุดหลอมตัวสูง จึงใช้ทำขั้วบวกและกริด (GRID) ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลายได้ดี ประโยชน์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของแทนทาลัม คือใช้ในรูปของคาร์ไบด์ผสมกับโลหะคาร์ไบด์อื่น ๆ เพื่อทำปลายเครื่องมือตัดโลหะแร่ที่สำคัญของแทนทาลัม คือ แร่ทานทาไลท์ (Ta2O5)

ประโยชน์ของแร่แทนทาลัม
1.ใช้ทำอุปกรณ์สำคัญที่เรียกว่า Capacitor เช่น อุปกรณ์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ของวงจรอิเลคโทรนิค เครื่องคำนวณ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อการสื่อสาร และเนื่องจากคุณสมบัติพิเศษทางไฟฟ้า การใช้ทางด้านนี้เพิ่มขึ้นมากทุกปี ประมาณว่าใช้ถึงกว่า 70% ของการใช้แทนทาลัมทั่วโลก
2.ใช้ทำเครื่องกลึงและมีดตัดโลหะ (Cutting tools) ชนิดพิเศษหัวเจาะหิน (Rock Drills) โดยผสมกับโลหะอื่น เพราะคุณสมบัติที่มีความแข็งมาก มีความสึกหรอน้อยมาก ดังนั้นปริมาณ
3.ใช้ในอุตสาหกรรมเคมีที่มีการกัดกร่อนสูง โลหะแทนทาลัมเป็นวัสดุอุปกรณ์ที่ทนทานต่อสภาพได้ดีกว่าวัสดุอื่น ๆ เนื่องจากมีความทนต่อการกัดกร่อนของกรดหรือด่างในอัตราสูง
4ให้ในการสร้างเครื่องยนต์ไอพ่น จรวดยานอวกาศและอื่น ๆ เพราะเป็นโลหะที่ทนความร้อนได้สูงคืน ทนต่อความร้อนถึงอุณหภูมิประมาณ 3,000 องศาเซลเซียส และสามารถเปลี่ยนแปลงเป็นรูปร่างต่าง ๆ ได้สะดวกด้วย
5.ใช้ในการทำยุทโธปกรณ์ – ในการรบให้มีสมรรถภาพ โดยมีการดัดแปลงอยู่ตลอดเวลา
6.ใช้ในการทำกระจกเลนส์ ชนิดพิเศษที่มีความทนต่อความร้อนสูง
7.นอกจานั้นแล้วยังใช้ทำอุปกรณ์ในเตาปฏิกรณ์ปรมาณู โดยเป็นวัสดุสำคัญในการก่อสร้าง
8.สำหรับในอนาคตข้างหน้า ถ้าแทนทาลัมมีราคาถูกลงหรือโลหะชนิดอื่น ๆ มีราคาสูงขึ้นอาจจะใช้แทนทาลัมในการผลิตอุปกรณ์ควบคุมสิ่งแวดล้อมเป็นพิษอื่น ๆ เช่น ในการสร้างรถยนต์ เครื่องยนต์ต่าง ๆ ตลอดจนในการก่อสร้างโรงงานที่มีการใช้เครื่องจักรซึ่งสามารถแก้ไขในเรื่องสิ่งแวดล้อม เป็นพิษได้ดี

ไตเตเนียม (TITANIUM)

ไตเตเนียมสัญญลักษณ์ว่า Ti ความหนาแน่น 4.51 กก/ดม3 จุดหลอมเหลว 1700o C เป็นโลหะขาวเหมือนเงินทนต่อการกัดกร่อนได้ดีเท่า ๆ กับเหล็กไร้สนิม มีความแข็งแรงด้านความเค้นแรงดึงได้เท่า ๆ กับเหล็กไร้สนิม มีความแข็งแรงด้านความเค้นแรงดึงได้เท่า ๆ กับเหล็กกล้ากระทั่งถึงอุณหภูมิประมาณ 400o C ใช้เป็นวัสดุผสมกับเหล็กทำให้เหล็กแข็ง มีคุณสมบัติทางด้านเชิงกลมีความต้านทานต่อการผุพังสูง เป็นโลหะที่แข็งแกร่ง มีจุดหลอดตัวสูง แต่เบามาก เบากว่าทองแดงถึงครึ่งหนึ่ง ไตเตเนียมเป็นโลหะที่ผลิตได้ยากมากชนิดหนึ่ง แร่ที่สำคัญของไตเตเนียม คือ อิลเมไนท์ (ILMENITE) Fe Ti O3 และรูไทล์ แหล่งแร่ไตเตเนียมที่สำคัญที่สุดในโลกอยู่เหนือ LAWRENCE ในอเมริกาเหนือ โลหะชนิดนี้ส่วนมากผลิตโดยการลดออกซิเจนด้วยแมกนีเซียมจะได้ไตเตเนียมผง และต้องนำผงนี้ไปหลอมในสูญญากาศ หรือภายใต้บรรยากาศของแกสเฉื่อย (INERT GAS) เพราะ ไตเตเนียมสามารถรวมกับออกซิเจนไฮโดรเจนและไนโตรเจนได้รวดเร็วมาก ซึ่งล้วนแต่ทำให้โลหะเปราะไตเตเนียมเป็นโลหะยุทธปัจจัยที่สำคัญชนิดหนึ่ง ส่วนมากใช้เป็นส่วนประกอบในการทำเครื่องบินไอพ่น ตลอดจนเครื่องบินโดยสารที่มีความเร็วสูงเพื่อความมุ่งหมายในการลดน้ำหนักที่ ใช้สำคัญของไตเตเนียมในเครื่องบิน คือ ใช้สำหรับทำผนังกันไฟ และท่อไอเสียจากเครื่องยนต์ กังหันแกสเหมาะที่จะใช้ทำใบกังหัน และส่วนประกอบของเครื่องยนต์ไอพ่น ประโยชน์ที่สำคัญของไตเตเนียมในด้านอุตสาหรกรรมเครื่องบินในอนาคตนั้น คืออาจจะใช้สำหรับทำท่อทางเดินของของเหลวภายใต้ความกดดันและใช้ทำผนังของ เครื่องบินที่มีความเร็วสูง ซึ่งจะมีความต้านทานขัดสีกับอากาศมาก ทำให้อุณหภูมิของตัวเครื่องบินสูงขึ้นกว่าที่โลหะผสมอลูมิเนียมธรรมดาจะทน ทานได้ ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุหรือความเสียหายจึงจะจำเป็นต้องใช้ไตเต เนียมเคลือบผิว การใช้ไตเตเนียมส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรม โลหะจะได้แก่การใช้เป็นตัวทำให้โลหะต่าง ๆ เช่น อลูมิเนียม เหล็ก และนิเกิล มีเกล็ดผลึกเล็กลงอันเป็นทางนำมาซึ่งคุณสมบัติที่ดีแต่ไตเตเนียมยังมี ประโยชน์ไม่น้อยในการใช้ผสมทำไตเตเนียมคาร์ไบด์สำหรับทำเครื่องมือตัดโลหะ


ทองคำขาว (PLATINUM)

ทองคำขาวมีสัญญลักษณ์ว่า Pt ความหนาแน่น 21.5 กก/ดม3 จุดหลอมเหลว 1770o C ทองคำขาวเป็นโลหะที่หนักที่สุดในบรรดาโลหะทั้งหลาย สีขาว ซึ่งมีคุณสมบัติหลายอย่างคล้ายทองแต่ทนต่อการกัดของสนิมความร้อนและกรดได้ดีกว่า ดังนั้นประโยชน์ที่สำคัญที่สุดของทองคำขาว คือ ใช้ในที่ ๆ แม้จะมีการกัดของสนิมเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยก็จะทำให้เกิดการเสียหายขึ้น เช่นในกลไกสัมผัสบางส่วนในวงจรไฟฟ้า และใช้ในการทำเครื่องประดับประดาต่าง ๆ เช่น เดียวกับทองประโยชน์สำคัญทางด้านอุตสาหกรรม คือใช้ทำเส้นลวดสำหรับวัดอุณหภูมิ เรียกว่า THERMOCOUPLE ใน ด้านอุตสาหกรรมเคมีนั้นทองคำขาวก็นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญไม่น้อย เช่น ใช้ในการทำเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ในการค้นคว้าทดลอง และวิเคราะห์ นอกจากนี้ทองคำขาวผงยังเป็นตัวเร่งปฏิกริยาที่ดีที่สุดอีกด้วย ปริมาณของทองคำขาวที่มนุษย์นำมาใช้มากที่สุดคือในการกระทำเครื่องประดับ ที่ใช้ส่วนย่อยอื่น ๆ ของทองคำขาวคือใช้ในการเคลือบด้วยไฟฟ้า การถ่ายรูป ปลายปากกาหมึกซึม หลอดวิทยุ วัตถุระเบิด ยารักษาโรค ทันตแพทย์และการย้อมสี ทองคำขาวเป็นโลหะที่หายาก และมีราคาแพงมาก เป็นโลหะที่เฉื่อยมากแม้ว่าจะเผาให้ร้อนจนขาวก็จะยังคงความเป็นโลหะมันไม่ รวมตัวกับออกซิเจนในอากาศให้ผิวหมองแต่อย่างใด กรดและด่างต่าง ๆ ก็ไม่สมารถกัดทองคำขาวได้ ทองคำขาวสามารถกรีดและดึงเป็นเส้นเล็ก ๆ ได้ รีดเป็นแผ่นได้บางถึง 0.0025 ม.ม. และดึงเป็นเส้นลวดได้เล็ก 0.015 มม. ในงานวิจัยทองคำขาวใช้เป็นเบ้าที่ต้องทนอุณหภูมิและการกัดกร่อนที่หนักที่สุดในงานอุตสาหกรรมใช้เป็นคู่สายเทอร์โมคับเปิล วัดอุณหภูมิได้ถึง 1600o C ทองคำขาวได้มาจากแร่พลาตินัม (Pt)