2551/09/30

แหล่งสืบค้นสิทธิบัตรนานาชาติ

เปิดกรุสิทธิบัตรเทคโนโลยีนานาชาติ

"รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครา" ยังเป็นสุภาษิตที่ควรนำมาใช้เป็นกลยุทธในการพัฒนาตัวเองและองค์กรให้ก้าว หน้าได้เสมอ เมื่อเราคิดค้นสิ่งประดิษฐ์หรือเกิดงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอันเป็นผลให้ ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีใดขึ้นใหม่ หรือการกระทำใดๆ ที่ทำให้ดีขึ้นซึ่งผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธี ตาม พรบ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 จะเรียกว่า “การประดิษฐ์” เมื่อมีการประดิษฐ์เกิดขึ้น ผู้ประดิษฐ์ต้องศึกษาในเรื่องของสิทธิบัตรเพื่อการคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์นั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการจดสิทธิบัตรหรือกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
หากเพียงแค่คิดเริ่มต้นจะประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ ก็ควรศึกษาและตรวจสอบดูว่าในโลกนี้มีใครได้คิดค้นหรือมีเทคโนโลยีชนิดนั้น อยู่ก่อนแล้วหรือไม่ หากมีอยู่แล้วเราจะสามารถนำมาศึกษาพัฒนาต่อยอดให้เป็นสินค้านวัตกรรมที่มี คุณค่าเชิงพาณิชย์และเป็นประโยชน์ได้อย่างไร เราสามารถนำความรู้ที่ได้จากสิทธิบัตรไปทดลองวิจัยพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีได้ ในทุกประเทศ แต่ห้ามผลิตจำหน่ายในเชิงพาณิชย์หรือผลิตขึ้นใช้ในประเทศที่สิทธิบัตรเรื่อง นั้น ๆ ได้จดสิทธิบัตรไว้ และประเทศนั้น ๆ รับจดทะเบียนแล้ว
สิทธิบัตร จะให้การคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี โดยต้องยื่นขอเป็นรายประเทศตามอนุสัญญาปารีส แตกต่างจาก ลิขสิทธิ์ ที่จะให้ความคุ้มครองผลงานด้านศิลปะและซอฟต์แวร์ คุ้มครองทั่วโลก โดยไม่ต้องยื่นขอตามอนุสัญญากรุงเบิร์น (ตาม พรบ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๖ งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ ได้แก่ งานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรือ งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะของผู้สร้างสรรค์ ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใดการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ไม่คลุมถึงความคิด หรือขั้นตอนกรรมวิธี หรือระบบ หรือวิธีใช้ หรือทำงาน หรือแนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์)

แหล่งสืบค้นสิทธิบัตรนานาชาติผ่านเว็บไซต์

คลังความรู้ทางสิทธิบัตรเทคโนโลยีที่ทันสมัยสามารถเข้าไปสืบค้นผ่าน เว็บไซต์และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อบรรดา ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา หรือผู้ประกอบการ ที่จะเข้าไปดู เข้าไปอ่าน เพื่อก่อให้เกิดความรู้ ความคิดการสร้างสรรค์และเกิดการประดิษฐ์คิดค้น จึงขอแนะนำแหล่งสืบค้นสิทธิบัตรนานาชาติผ่านเว็บไซต์ 2 แห่ง ดังนี้
สืบค้นผ่าน Search engine ยอดนิยม www.google.com ให้บริการสืบค้นสิทธิบัตรของประเทศสหรัฐอเมริกา ข้อมูลสามารถเข้าไปอ่านและดาวน์โหลดรายละเอียดโดยสรุปของสิทธิบัตรนั้นๆ ได้ โดยเข้าทางเว็บไซต์ จะปรากฏหน้าจอดังภาพด้านล่างนี้



หากต้องการสืบค้นโดยใช้เงื่อนไขที่ต้องการหรือค้นแบบละเอียดยิ่งขึ้น ให้เข้าใช้โดยเลือกคลิกที่ Advanced Patent Search หรือ http://www.google.co.th/advanced_patent_search จะปรากฎหน้าจอดังนี้



บนหน้าของ Advanced Patent Search เราสามารถเลือก สืบค้นได้หลายเงื่อนไข เช่น สืบค้นด้วยคำหรือวลีที่ต้องการ, ชื่อนักประดิษฐ์, เลขที่สิทธิบัตร, ชื่อเรื่อง, ชื่อผู้ทรงสิทธิบัตร, ค้นตามหมวดหมู่ที่จัดตามมาตรฐานของสหรัฐอเมริกาและแบบสากล, ค้นตามสถานภาพของสิทธิบัตรโดยกำหนดช่วงเวลาของสิทธิบัตร เมื่อเข้าไปพบสิทธิบัตรที่ตรงกับความต้องการเราสามารถเข้าไปอ่านเนื้อหาของ สิทธิบัตรหรือดาวน์โหลดไฟล์แบบ PDF มาศึกษาได้
สืบค้นเอกสารสิทธิบัตรนานาชาติผ่านเว็บไซต์ ต่อยอด ดอท คอม เว็บไซต์ ต่อยอด ดอท คอม (www.toryod.com) เป็นเว็บไซต์ที่ได้รวบรวมคลังความรู้สิทธิบัตรให้ผู้ที่สนใจเข้าไปสืบค้น เอกสารสิทธิบัตรนานาชาติทั่วโลก ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และเว็บไซต์ อินโนเวชั่น เอส เอ็ม อี www.innovationSME.com ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นเว็บไซต์ที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง และเป็นเว็บไซต์ที่ได้อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้เป็นอย่างมาก เช่น
สืบค้นสิทธิบัตรทั่วโลกจากฐานข้อมูลของสำนักงานสิทธิบัตรยุโรป เอกสารสิทธิบัตรกว่า 50 ล้านเรื่อง
สืบค้นเอกสารสิทธิบัตรสหรัฐอเมริกา ประมาณ 7 ล้านกว่าเรื่อง
สืบค้นสิทธิบัตรญี่ปุ่นกว่า 3 ล้านเรื่อง
สืบค้นองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก
สืบค้นสิทธิบัตรไทย พร้อมทั้งมีโปรแกรมแปลภาษาที่เชื่อมโยงไว้ให้ในเว็บไซต์นี้ด้วย


ไม่มีความคิดเห็น: